2.6 การตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ

รายละเอียด
1. หลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ ประเภทการตรวจสอบใหญ่
• ประเภท โรงงาน (มีพื้นที่อาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไปและมีความสูงมากกว่า 1 ชั้น ต่ออาคาร)
• เกณฑ์การตรวจสอบอาคารออกตามความในกฎกระทรวงว่าด้วยเกณฑ์การขึ้นทะเบียน เกณฑ์การตรวจสอบฯ ข้อ 18 (2) โดยเป็นมาตรฐานทางราชการ
• ปีที่ทำการตรวจสอบใหญ่ให้เพิ่มสองแผน คือ แผนการบำรุงรักษาระบบอุปกรณ์และแผนการตรวจสอบประจำปี
• การตรวจสอบใช้หลักการสังเกตด้วยสายตาและใช้ประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ตรวจสอบ อาจใช้เครื่องมือพื้นฐานประกอบการตรวจสอบได้ เช่น ตลับเมตร เครื่องวัดแสง/เสียง และเครื่องวัดความเร็วลม การตรวจสอบอาคารนี้ไม่ใช่การประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรม
• เกณฑ์จะต้องได้รับการปรับปรุงเป็นประจำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ไม่ว่าอาคารที่ตรวจสอบนั้นจะต้องปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ขณะก่อสร้างซึ่งมีเป้าหมายเพียงคำนึงถึงเฉพาะความปลอดภัยในการใช้งานอาคารเท่านั้น
• ผู้ตรวจสอบอาคารหรือผู้ใช้เกณฑ์ตรวจสอบฉบับนี้ ถือว่าเป็นผู้มีความรู้เรื่องข้อกำหนดและเจตนารมณ์ของมาตรฐาน และกฎหมายด้านความปลอดภัยอย่างดี และเป็นผู้ที่มีเกียรติด้วยการปฏิบัติวิชาชีพอย่างเป็นธรรม
• ในแต่ละรอบปีของการตรวจสอบใหญ่ให้ตรวจสอบอาคารอย่างน้อย 2 ครั้ง ข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบและการ ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ให้ผู้ตรวจสอบอาคารแสดงรายละเอียดไว้ในรายงานฉบับสมบูรณ์ด้วย
• ผู้ตรวจสอบอาคารต้องตรวจสอบอาคารอย่างน้อยตามเกณฑ์ในฉบับนี้ ระบบและอุปกรณ์ที่ติดตั้งในอาคารแต่ไม่ได้ อยู่ในเกณฑ์การตรวจสอบฉบับนี้ให้เป็นการตกลงเฉพาะระหว่างผู้ตรวจสอบอาคารกับเจ้าของอาคาร
• หากเจ้าของอาคารไม่สามารถแก้ไขตามข้อเสนอแนะทันเวลา ให้ผู้ตรวจสอบอาคารเขียนกำหนดการแล้วเสร็จ ตามความเห็นร่วมกับเจ้าของอาคาร และให้เจ้าของอาคารลงนามรับรอง
2. หลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ ประเภทการตรวจสอบประจำปี
• ประเภท โรงงาน (มีพื้นที่อาคารตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไปและมีความสูงมากกว่า 1 ชั้น ต่ออาคาร)
• ระดับ 1 (เกณฑ์ขั้นต่ำ)
• เกณฑ์การตรวจสอบอาคารฉบับนี้ ออกตามความในกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน เกณฑ์การตรวจสอบฯ ข้อ 18(2) โดยเป็นมาตรฐานทางราชการ
• การตรวจสอบประจำปีให้เน้นการตรวจสอบเรื่องการดูแลและบำรุงรักษาระบบอุปกรณ์ ตามแผนการที่กำหนดไว้ในรายงานการตรวจสอบใหญ่
• การตรวจสอบใช้หลักการสังเกตด้วยสายตา และใช้ประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ตรวจสอบ อาจใช้เครื่องมือพื้นฐานประกอบการตรวจสอบได้ เช่น ตลับเมตร เครื่องวัดแสง/เสียง และเครื่องวัดความเร็วลม การตรวจสอบอาคารนี้ไม่ใช่การประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรม
• เกณฑ์จะต้องได้รับการปรับปรุงเป็นประจำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ไม่ว่าอาคารที่ตรวจสอบนั้นจะต้องปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่บังคับใช้ขณะก่อสร้าง ซึ่งมีเป้าหมายเพียงคำนึงถึงเฉพาะความปลอดภัยในการใช้งานอาคารเท่านั้น
• ผู้ตรวจสอบอาคารหรือผู้ใช้เกณฑ์ตรวจสอบฉบับนี้ ถือว่าเป็นผู้มีความรู้เรื่องข้อกำหนดและเจตนารมณ์ของมาตรฐานและกฎหมายด้านความปลอดภัยอย่างดี และเป็นผู้ที่มีเกียรติด้วยการปฏิบัติวิชาชีพอย่างเป็นธรรม
• ในแต่ละรอบปีของการตรวจสอบประจำปีให้ตรวจสอบอาคารอย่างน้อย 2 ครั้ง ข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบและการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ ให้ผู้ตรวจสอบอาคารแสดงรายละเอียดไว้ในรายงานฉบับสมบูรณ์ด้วย
• ผู้ตรวจสอบอาคารต้องตรวจสอบอาคารอย่างน้อยตามเกณฑ์ในฉบับนี้ ระบบและอุปกรณ์ที่ติดตั้งในอาคารแต่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์การตรวจสอบฉบับนี้ให้เป็นการตกลงเฉพาะระหว่างผู้ตรวจสอบอาคารกับเจ้าของอาคาร
• หากเจ้าของอาคารไม่สามารถแก้ไขตามข้อเสนอแนะทันเวลา ให้ผู้ตรวจสอบอาคารเขียนกำหนดการแล้วเสร็จตามความเห็นร่วมกับเจ้าของอาคาร และให้เจ้าของอาคารลงนามรับรอง
แสดงขั้นตอนการดำเนินการ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
2 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
3 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
4 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
5 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
6 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
7 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
8 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
9 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
10 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
11 พระราชบัญญัติ วิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508
12 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
13 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
14 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
15 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
16 กฎกระทรวง กำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548
17 กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548
18 กฎกระทรวง กำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550
19 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2551
20 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. 2551
21 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2551
22 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551
23 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2551
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 แบบฟอร์มคำขอใบรับรองการตรวจสอบอาคาร จำนวน 3 ชุด
2 หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ชุด
3 สำเนาบัตรประชาชน กรณีบุคคลธรรมดา จำนวน 1 ชุด
4 สำเนาหนังสือเดินทาง กรณีชาวต่างชาติ จำนวน 1 ชุด
5 หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
6 สำเนาบัตรประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ จำนวน 1 ชุด
7 ผู้มีอำนาจของนิติบุคคล ลงลายมื่อชื่อรับรองเอกสาร จำนวน 1 ชุด
8 สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่ละกรณี จำนวน 1 ชุด
9 สำเนาใบรับรองการตรวจสอบอาคารเดิม (แบบ ร.1)
10 หนังสือรับรองของผู้ตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ จำนวน 3 ชุด
11 สำเนาใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรม ของผู้ตรวจสอบสภาพอาคาร จำนวน 3 ชุด
12 สำเนาการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบสภาพอาคาร จำนวน 3 ชุด
13 สำเนาใบประกอบวิชาชีพนิติบุคคล จำนวน 3 ชุด
14 สำเนาการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบสภาพอาคารนิติบุคคล จำนวน 3 ชุด
15 รายงานการตรวจสภาพอาคารจากผู้ตรวจสอบสภาพอาคาร พร้อมแบบแปลนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่แสดงสภาพ การใช้อาคาร จำนวน 1 ชุด