1.4.2 แบบบริษัทต่างชาติ

รายละเอียด
คนต่างด้าว ได้แก่ (1) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย (2) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือ นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งเป็นของ (1) หรือ (2) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการธุรกิจของคนต่างด้าว ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจ บางประเภทและบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาต หรือได้รับหนังสือรับรองแล้วแต่กรณี แยกออกเป็น 3 บัญชี คือ
• บัญชี 1 เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ ได้แก่
(1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
(2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน
(3) การเลี้ยงสัตว์
(4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
5) การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย
(6) การสกัดสมุนไพรไทย
(7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
(8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
(9) การค้าที่ดิน
• บัญชี 2 เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบ ต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ได้แก่
หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
(1) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง
(2) การขนส่งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบินในประเทศ
หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน
(1) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
(2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
(3) การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลาย ผ้าไหมไทย
(4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย
(5) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน
(6) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย
หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม
(1) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย
(2) การทำนาเกลือ รวมทั้งการทำเกลือสินเธาว์
(3) การทำเกลือหิน
(4) การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
(5) การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย
• บัญชี 3 เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้แก่
(1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
(2) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
(3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก
(4) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด
(5) การผลิตปูนขาว
(6) การทำกิจการบริการทางบัญชี
(7) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
(8) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
(9) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
(10) การก่อสร้าง ยกเว้น
(ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนด้านการสาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่ห้าร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(11) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
(ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซื้อขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือ หลักทรัพย์
(ข) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
(ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซื้อขาย จัดซื้อหรือจัดจำหน่ายหรือจัดหาตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิตในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศอันมีลักษณะ เป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขั้นต่ำของคนต่างด้าวตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป
(ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(12) การขายทอดตลาด ยกเว้น
(ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซื้อขายระหว่างประเทศที่มิใช่การประมูลซื้อขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
(ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมืองที่ยังไม่มีกฎหมายห้ามไว้
(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำรวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
(16) การทำกิจการโฆษณา
(17) การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
(18) การนำเที่ยว
(19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
(20) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธุ์พืช
(21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในการของเปิดบริษัทจำเป็นต้องมีการขออนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน คือ กรรมการผู้มีอำนาจลงนามเข้ามาทำงานในประเทศไทยก่อน
1. คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ให้ปฏิบัติดังนี้
1.1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขออนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ( NON-IMMIGRANT VISA)
1.2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน (แบบ ตท. 3) และเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อรับใบอนุญาตและทำงานได้
2. คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ต้องปฏิบัติดังนี้
2.1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัตปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 1) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ โดยในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอทำงานไปพลางก่อนได้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 35)
2.2. คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ หรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับ ใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบ ตท. 1 ( มาตรา 7, 11) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 34)
แสดงขั้นตอนการดำเนินการ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551
2 พระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
3 พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท
5 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและระยะเวลาการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามมาตรา 7 พ.ศ. 2546
6 กฎกระทรวง จัดตั้งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียนและกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด พ.ศ. 2549
7 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา 17 พ.ศ. 2546
8 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามมาตรา 17 พ.ศ. 2554
9 ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดแบบคำขอ และใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวตามมาตรา 7 พ.ศ. 2546
10 ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ยื่นคำขอและแจ้งการทำงานของคนต่างด้าว
11 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอตั้งสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ พ.ศ. 2535
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 แบบคำขอ ตม.7
2 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
3 หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2)
4 รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
5 แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
6 รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
7 แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
8 ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคล
9 แบบขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาต่างประเทศ
10 หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
11 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
12 บัญชีรายชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น หรือผู้รับมอบฉันทะในการประชุมให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมจัดตั้งบริษัทพร้อมลายมือชื่อ
13 รายงานการประชุมตั้งบริษัท และข้อบังคับ (ถ้ามี)
14 หลักฐานการรับชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
15 แบบ สสช.1
16 แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
17 เอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีสัญชาติไทย
18 เอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือ แสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้นทุกคน
19 หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ที่ตั้งสำนักงาน
20 เอกสารหลักฐานแสดงสิทธิการใช้ที่ตั้งสำนักงาน
21 เอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงว่ากรรมการได้รับชำระเงินค่าหุ้นตามจำนวนที่ชำระไว้แล้ว
22 เอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงว่าบริษัทได้รับค่าหุ้นที่กรรมการเก็บรวบรวมรักษาไว้แล้ว
23 หนังสือยืนยันของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่บริษัท
24 หลักฐานซึ่งแสดงว่าบริษัทเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
25 บัญชีแสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำลงทุน
26 หนังสือมอบอำนาจ
27 บัตรประจำประชาชน
28 หลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ