(1) การขออนุมัติตำแหน่งและบรรจุช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ (กนอ. 17-1 และ 17-2)

รายละเอียด
หลักเกณฑ์พิจารณา
การอนุญาตจำนวน ตำแหน่งและระยะเวลาของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการและการขอบรรจุ
1. ผู้ขอจะต้องเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรม และผู้ประกอบพาณิชยกรรม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการในนิคม
2. ตรวจสอบรายละเอียดในคำขออนุญาต ว่า กรอกแบบคำขอครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
3. ตรวจสอบเอกสารประกอบว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
4. ตรวจสอบการลงลายมือชื่อว่าเป็นผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทตามหนังสือรับรองการจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล และหรือ หนังสือมอบอำนาจหรือไม่
5. พิจารณาตามหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตตำแหน่งและระยะเวลาของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ ต่างด้าว ในการเข้ามาและทำงานในนิคมอุตสาหกรรม
6. ตรวจสอบตำแหน่งที่ขออนุมัติว่าไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำงาน พ.ศ.2522
7. ในกรณี ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตตำแหน่งระยะเวลาของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการต่างด้าว ในการเข้ามาและทำงานในนิคมอุตสาหกรรม จะต้องนำเรื่องเสนอคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาภายใน 30 วัน โดยจัดเตรียมเรื่องพร้อมเอกสาร ประกอบ จัดเข้าระเบียบวาระการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณา
8. ตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลที่ขอบรรจุว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ โดยตรวจสอบจากสำเนาหนังสือเดินทางของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ จะต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) รหัส B หรือ EX และระยะเวลาคงเหลือของหนังสือเดินทางจะต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน
9. ตรวจสอบสำเนาคุณวุฒิการศึกษา หากเป็นภาษาอื่นให้แปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งสถานทูตของผู้ขออนุญาตในประเทศไทยรับรองคำแปล
10. ตรวจสอบใบผ่านงาน หากเป็นภาษาอื่นให้แปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ซึ่งสถานทูตของผู้ขออนุญาตในประเทศไทยรับรองคำแปล
11. พิจารณาคุณวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานว่าสอดคล้องเหมาะสมกับตำแหน่งที่ขออนุมัติหรือไม่ (ในกรณีที่คุณวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับลักษณะงานจะต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ที่ขออนุมัติไม่น้อยกว่า 3 ปี ในบางกรณีจะพิจารณาตามลักษณะงาน ความจำเป็นและความเหมาะสมของกิจการ)
แสดงขั้นตอนการดำเนินการ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
2 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
3 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
4 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
5 ประกาศการนิคมอุุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 10 /2549 เรื่อง การกำหนดอัตราค่าบริการในการอนุญาตต่าง ๆ สำหรับการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
6 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 94 2559 เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการในการอนุมัติอนุญาตในนิคมอุตสาหกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Permission & Privilege (e-PP))
7 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนและระยะเวลาให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ ในราชอาณาจักร และการกำหนดตำแหน่งหน้าที่การทำงานให้คนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ได้รับอนุญาตให้ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 คำขออนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่เพื่อทำงานในราชอาณาจักร
2 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไม่เกิน 6 เดือน (ประทับตราและลงนามโดยผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัท) จำนวน 1 ชุด
3 สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นไม่เกิน 6 เดือน (ประทับตราและลงนามโดยผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัท) จำนวน 1 ชุด
4 แผนภูมิแสดงการจัดแบ่งหน่วยงานและหน้าที่โดยจะต้องแสดงชื่อตำแหน่งและชื่อช่างฝีมือที่ขออนุญาต (ประทับตราและลงนามโดยผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัท) จำนวน 1 ชุด
5 หลักฐานแสดงอัตราการผลิต ปริมาณและมูลค่าการส่งออก (ถ้ามี) (ประทับตราและลงนามโดยผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองบริษัท) จำนวน 1 ชุด
6 สำเนาหนังสือเดินทางของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการจะต้องได้รับ การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) รหัส B (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ชุด
7 สำเนาคุณวุฒิการศึกษา (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ชุด
8 สำเนาใบผ่านงาน (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
9 ประวัติของช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ จำนวน 1 ชุด
10 หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรตามกฎหมาย (ถ้ามี) จำนวน 1 ชุด