2.7 การติดตั้งเครื่องจักร

รายละเอียด
การติดตั้งเครื่องจักร หมายถึง งานหรือแผนการในการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จำเป็นในกระบวนการผลิต ภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้าง และการออกแบบของอาคารที่มีอยู่ เพื่อทำให้การผลิตมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องจักร
• ทางเดินกว้างขวางเพียงพอ
• การระบายอากาศและการขจัดกลิ่นควันและไอพิษ
• ทางออกฉุกเฉินทางหนีไฟ
• ระบบป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง
• ความดังของเสียงจากเครื่องจักรกล
• ความร้อนจากเครื่องจักรกล หรือ แหล่งความร้อน
• แสงสว่างที่เหมาะสม
• การป้องกันระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม
• เนื้อที่อำนวยความสะดวกแก่แก่งานซ่อมบำรุง
• สภาพแวดล้อมทางความรู้สึกของคนงาน
ข้อแนะนำในการพิจารณาการติดตั้งเครื่องจักรในโรงงาน
• จัดวางเครื่องจักรกลให้ใกล้แหล่งแสงสว่างธรรมชาติ
• จัดเครื่องจักรกลที่มีขนาดใหญ่ไว้ใกล้ทางเข้าออ
• จัดเครื่องจักรขนาดใหญ่ไว้ในที่ที่รอก หรือ เครนเข้าไปถึงเพื่อสะดวกต่อการทำงาน
• จัดเครื่องเจียระไน ในที่ที่ฝุ่น หรือ ประกายไฟไม่แผ่ขยายไปถึง และควรตั้งใกล้ เครื่องกลึง เครื่องเจาะ
• จัดวางเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งชิ้นส่วนไว้ใกล้เครื่องจักรแต่ละเครื่อง
• แท่นเลื่อยไฟฟ้าควรเก็บไว้หน้าสโตร์เก็บเหล็กเส้นควรมีที่ว่างมากพอกับการขนย้ายเหล็กท่อนที่มีความ ยาว มากกว่า 6 เมตร
• เครื่องจักรต้องมั่นคงและยึดแน่นกับพื้น
• สวิตช์ควบคุมการทำงานควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัยจากการยืนพิงหรือ กวาดมือไปสัมผัสโดยบังเอิญ สวิตช์ เมนใหญ่ที่ตัดไฟจากสายเมน ควรติดตั้งในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
• สายไฟที่ต่อมา จากเหนือศีรษะเพื่อลงยังแท่นเครื่องต้องทิ้งระยะห่างอย่างน้อย 7 ฟุต ก่อนหักมุม เพื่อ เดิน ใน แนวระดับ
• โต๊ะปฏิบัติงานตะไบควรจัดวางไว้ให้สามารถจับชิ้นงานยาว ๆได้ โดยไม่ขัดขวางการทำงานของคนอื่น
• บริเวณใต้โต๊ะควรปล่อยว่างโล่งไม่ควรเป็นที่จัดเก็บเศษวัสดุเศษชิ้นงานที่ไม่ใช้แล้ว
• จัดวางเครื่องจักรดังนี้
o รถยก หรือ รถเข็นสามารถเข้าใกล้ด้านใดด้านหนึ่งได้ เพื่อประโยชน์ในการขนถ่ายชิ้นส่วนงานซ่อมบำรุง
o มีช่องว่าง รอบ ๆตัวเครื่องเพียงพอ สำหรับการถอดซ่อมบำรุงต่าง ๆ
o มีที่ว่างให้คนงานได้ทำงานสะดวกสบาย
o มีช่องว่างที่เพียงพอต่อการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนตัวไปถึง
รายละเอียด
การติดตั้งเครื่องจักร หมายถึง งานหรือแผนการในการติดตั้งเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จำเป็นในกระบวนการผลิต ภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้าง และการออกแบบของอาคารที่มีอยู่ เพื่อทำให้การผลิตมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องจักร
• ทางเดินกว้างขวางเพียงพอ
• การระบายอากาศและการขจัดกลิ่นควันและไอพิษ
• ทางออกฉุกเฉินทางหนีไฟ
• ระบบป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง
• ความดังของเสียงจากเครื่องจักรกล
• ความร้อนจากเครื่องจักรกล หรือ แหล่งความร้อน
• แสงสว่างที่เหมาะสม
• การป้องกันระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม
• เนื้อที่อำนวยความสะดวกแก่แก่งานซ่อมบำรุง
• สภาพแวดล้อมทางความรู้สึกของคนงาน
ข้อแนะนำในการพิจารณาการติดตั้งเครื่องจักรในโรงงาน
• จัดวางเครื่องจักรกลให้ใกล้แหล่งแสงสว่างธรรมชาติ
• จัดเครื่องจักรกลที่มีขนาดใหญ่ไว้ใกล้ทางเข้าออ
• จัดเครื่องจักรขนาดใหญ่ไว้ในที่ที่รอก หรือ เครนเข้าไปถึงเพื่อสะดวกต่อการทำงาน
• จัดเครื่องเจียระไน ในที่ที่ฝุ่น หรือ ประกายไฟไม่แผ่ขยายไปถึง และควรตั้งใกล้ เครื่องกลึง เครื่องเจาะ
• จัดวางเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งชิ้นส่วนไว้ใกล้เครื่องจักรแต่ละเครื่อง
• แท่นเลื่อยไฟฟ้าควรเก็บไว้หน้าสโตร์เก็บเหล็กเส้นควรมีที่ว่างมากพอกับการขนย้ายเหล็กท่อนที่มีความ ยาว มากกว่า 6 เมตร
• เครื่องจักรต้องมั่นคงและยึดแน่นกับพื้น
• สวิตช์ควบคุมการทำงานควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัยจากการยืนพิงหรือ กวาดมือไปสัมผัสโดยบังเอิญ สวิตช์ เมนใหญ่ที่ตัดไฟจากสายเมน ควรติดตั้งในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
• สายไฟที่ต่อมา จากเหนือศีรษะเพื่อลงยังแท่นเครื่องต้องทิ้งระยะห่างอย่างน้อย 7 ฟุต ก่อนหักมุม เพื่อ เดิน ใน แนวระดับ
• โต๊ะปฏิบัติงานตะไบควรจัดวางไว้ให้สามารถจับชิ้นงานยาว ๆได้ โดยไม่ขัดขวางการทำงานของคนอื่น
• บริเวณใต้โต๊ะควรปล่อยว่างโล่งไม่ควรเป็นที่จัดเก็บเศษวัสดุเศษชิ้นงานที่ไม่ใช้แล้ว
• จัดวางเครื่องจักรดังนี้
o รถยก หรือ รถเข็นสามารถเข้าใกล้ด้านใดด้านหนึ่งได้ เพื่อประโยชน์ในการขนถ่ายชิ้นส่วนงานซ่อมบำรุง
o มีช่องว่าง รอบ ๆตัวเครื่องเพียงพอ สำหรับการถอดซ่อมบำรุงต่าง ๆ
o มีที่ว่างให้คนงานได้ทำงานสะดวกสบาย
o มีช่องว่างที่เพียงพอต่อการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนตัวไปถึง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม