3.1.1.1 มลพิษน้ำ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 10 ฉบับ
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 13 ฉบับ
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
จำนวน 2 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางน้ำได้แก่ มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งรวมทั้งบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำ และมาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล เป็นต้น [2]
2 ผู้ประกอบกิจการที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษน้ำจะต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสียหรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตที่ตั้ง แหล่งกำเนิดมลพิษไม่เกินมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งที่กำหนด และน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดโดยระบบบำบัดน้ำเสียรวมของทางราชการหรือระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ได้รับใบอนุญาต รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนด [1],[2]
3 กฎหมายกำหนดให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับการออกแบบระบบรวบรวมน้ำ เสีย และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน สำหรับให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบระบบสำหรับการจัดการน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสม [2],[22]
4 "กฎหมายกำหนดอาคารประเภท ข. เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารประเภท ข. ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่น้ำเสียจะมีลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ข. ที่กำหนดไว้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำให้เจือจาง (Dilution) (หมายเหตุ: ใช้ในพื้นที่พาณิชยกรรมภายในนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น)" [1],[2],[5]
5 ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียต้องเก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละวัน และจัดทำบันทึกรายละเอียดดังกล่าวตามแบบ ทส. 1 เก็บไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการเก็บสถิติและข้อมูลนั้น [1],[2],[3]
6 ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละเดือนตามแบบ ทส. 2 และเสนอรายงานดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่ [1],[2],[3]
7 นิคมอุตสาหกรรม โรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม และห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียโดยไม่ผ่านการบำบัดก่อน และน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะปล่อยออกจากโรงงานได้ก็ต่อเมื่อมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและมาตรฐานของการนิคมอุตสาหกรรมกำหนดไว้ [1],[2],[7],[8],[16]
8 วิธีการเก็บ ความถี่ และระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งของนิคมอุตสาหกรรมให้เก็บตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด และการตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องเป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียของสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย หรือ Standard Method for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work Association และ Water Environment Federation ของสหรัฐอเมริการ่วมกันกำหนดไว้ด้วย [1],[2],[17],[25]
9 กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง (ใหม่) จากโรงงานอุตสาหกรรมนิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม และการตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ในพารามิเตอร์ ได้แก่ ความเป็นกรดและด่าง อุณหภูมิ สี ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด บีโอดี ซีโอดี ซัลไฟด์ ไซยาไนด์ น้ำมันและไขมัน ฟอร์มาลดีไฮด์ สารประกอบฟีนอล คลอรีนอิสระ สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ทีเคเอ็น และ โลหะหนัก [1],[2],[5]
10 "การติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย และเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ·       กำหนดให้โรงงานที่ต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ โรงงานลำดับที่ 4 โรงงานลำดับที่ 5 โรงงานลำดับที่ 6 โรงงานลำดับที่ 7 โรงงานลำดับที่ 8 โรงงานลำดับที่ 9 โรงงานลำดับที่ 10 โรงงานลำดับที่ 11 โรงงานลำดับที่ 13 โรงงานลำดับที่ 15 โรงงานลำดับที่ 16 โรงงานลำดับที่ 17 โรงงานลำดับที่ 19 โรงงานลำดับที่ 20 และโรงงานลำดับที่ 52 ·       กำหนดให้โรงงานที่ต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ โรงงานลำดับที่ 22 โรงงานลำดับที่ 24 โรงงานลำดับที่ 29 โรงงานลำดับที่ 38 โรงงานลำดับที่ 40 โรงงานลำดับที่ 42 โรงงานลำดับที่ 44 และโรงงานลำดับที่ 49 ·       โรงงานลำดับที่ 101 ต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีหรือเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีและเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีทั้งสองอย่าง ·       เครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีแบบออนไลน์หรือเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีแบบออนไลน์ต้องมีคุณสมบัติตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และต้องมีผลการตรวจวัดค่าบีโอดีและค่าซีโอดีไม่คลาดเคลื่อนตามที่กฎหมายกำหนด (หมายเหตุ: เฉพาะโรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางเท่านั้น)" [1],[21]
11 เครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อรายงานการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงาน ประกอบด้วยติดตั้งเครื่องวัดอัตราการไหลของนํ้าทิ้งออกจากโรงงานและติดตั้งมาตรวัด ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับระบบบำบัดนํ้าเสียโดยเครื่องวัดอัตราการไหลของนํ้าทิ้งออกจากโรงงาน และติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) และหรือเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ของนํ้าทิ้งที่สามารถให้สัญญาณไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง และส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงงานเพื่อบันทึกข้อมูลและแสดงข้อมูลย้อนหลังได้อย่างต่อเนื่อง โรงงานใดจะต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีหรือเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดี หรือติดตั้งเครื่องตรวจวัดทั้งสองชนิดดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม [1],[10],[11],[12],[13]
12 โรงงานตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ที่มีการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงานที่มีปริมาณนํ้าทิ้งเกินกว่า 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป หรือ โรงงานที่มีปริมาณนํ้าทิ้งตั้งแต่ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป จนถึง 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือมีปริมาณความสกปรกในรูปของปริมาณบีโอดีช่วงไหลเข้า (Influent BOD Load) ตั้งแต่ 4,000 กิโลกรัม ต่อวันขึ้นไป ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อรายงานการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงานเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เว้นแต่โรงงานที่ไม่มีการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงานและโรงงานที่มีการนำ นํ้าทิ้งไปบำบัดที่โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment Plant) ไม่ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าว [1],[10]
13 ห้ามระบายน้ำทิ้งออกจากโรงงานเว้นแต่ได้ทำการบำบัดจนน้ำทิ้งนั้นมีลักษณะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ห้ามใช้วิธีทำให้เจือจาง (Dilution) [1],[4]
14 น้ำเสียหรือน้ำที่ผ่านการใช้แล้วทุกชนิดจากอาคารหรือแปลงที่ดิน ให้ระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้เกณฑ์คุณภาพของน้ำดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่ กนอ. กำหนด [1],[18]
15 ผู้ประกอบกิจการจะต้องแสดงแบบแปลนระบบระบายน้ำเสียและระบบระบายน้ำฝนจากอาคารหรือแปลงที่ดินของตนให้เหมาะสมกับแหล่งรองรับน้ำทั้งสองระบบ เช่น ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด ทางระบายน้ำฝนที่ใช้สำหรับการระบายน้ำฝนมีลักษณะที่สามารถทำความสะอาดได้โดยสะดวกและต้องจัดให้มีบ่อตรวจการระบายน้ำฝนและตะแกรงดักขยะอยู่ในสถานที่ตรวจสอบได้สะดวก ก่อนที่จะระบายน้ำฝนลงสู่ระบบระบายน้ำฝนของนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น [1],[18]
16 ระบบระบายน้ำเสียของผู้ประกอบกิจการต้องก่อสร้างเป็นระบบปิด และต้องจัดให้มีบ่อตรวจคุณภาพน้ำเสีย พร้อมประตูน้ำปิด-เปิดซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตลอดเวลา ก่อนที่จะระบายน้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตามแบบที่ กนอ. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบ [1],[18]
17 การระบายน้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการจะต้องก่อสร้างระบบระบายน้ำเสียเพื่อระบายน้ำเสียทุกส่วนลงสู่ท่อระบายน้ำส่วนกลางให้เป็นตามหลักเกณฑ์ที่ กนอ. กำหนดไว้ [1],[19]
18 ห้ามผู้ประกอบกิจการระบายสารที่มีผลต่อการระบายและการบำบัดน้ำเสียเข้าสู่ท่อระบายน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม เช่น สารที่มีความหนืดสูง สารที่จับหรือตกตะกอนในท่อระบายแล้วทำให้อุดตัน หรือวัสดุที่ทำให้อุดตัน ตะกอนแคลเซียมคาร์ไบด์ สารทำละลาย เป็นต้น [1],[19]
19 โรงงานที่ขออนุญาตตั้ง หรือขยายโรงงานซึ่งมีน้ำเสียจากการประกอบกิจการต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการจนสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด หรือมีระบบเก็บกักที่สามารถเก็บกักน้ำทิ้งทั้งหมดโดยไม่รั่วซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน และต้องไม่ระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น คลองหลัก คลองเชื่อม ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ [1],[15]
20 "ผู้ประกอบกิจการโรงงานมีหน้าที่ต้องจัดทำแบบรายงานข้อมูลทั่วไป (แบบ รว.1) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม แบบรายงานมลพิษน้ำ (แบบ รว.2) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ แบบรายงานมลพิษอากาศ (แบบ รว.3) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศให้ถูกต้องหรือสมบูรณ์ แล้วแต่กรณี และส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในสี่สิบห้าวัน นับจากวันได้รับแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องรายงาน รวมทั้งรูปแบบและวิธีการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) ให้เป็นไปตามหลักวิชาการทั้งมลพิษน้ำและมลพิษอากาศ กำหนดวิธีการได้มาของข้อมูลการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อมูลจากตรวจวัดวิเคราะห์โดยให้ใช้วิธีการตามมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม และข้อมูลจากการคำนวณโดยให้ใช้วิธีการคำนวณที่ยอมรับในระดับสากล กำหนดเงื่อนไขในการเก็บตัวอย่างน้ำและพารามิเตอร์ในการเก็บตัวอย่างน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และการเก็บตัวอย่างอากาศและพารามิเตอร์ในการเก็บตัวอย่างอากาศที่ระบายออกจากปล่องระบายอากาศของโรงงานสำหรับใช้ในการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) กำหนดแบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) วิธีการส่งรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเก็บรักษารายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษไว้ที่โรงงานและผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือผู้รับมอบอำนาจและผู้ควบคุม ดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นผู้ลงนามรับรองในแบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ" [1],[7],[8],[9],[20],[26]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 10 ฉบับ
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 13 ฉบับ
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
จำนวน 2 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางน้ำได้แก่ มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งรวมทั้งบริเวณพื้นที่ปากแม่น้ำ และมาตรฐานคุณภาพน้ำบาดาล เป็นต้น [2]
2 ผู้ประกอบกิจการที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษน้ำจะต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสียหรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตที่ตั้ง แหล่งกำเนิดมลพิษไม่เกินมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งที่กำหนด และน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดโดยระบบบำบัดน้ำเสียรวมของทางราชการหรือระบบบำบัดน้ำเสียของผู้ได้รับใบอนุญาต รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิดที่กำหนด [1],[2]
3 กฎหมายกำหนดให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ทางวิชาการเกี่ยวกับการออกแบบระบบรวบรวมน้ำ เสีย และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน สำหรับให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนนำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบระบบสำหรับการจัดการน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสม [2],[22]
4 "กฎหมายกำหนดอาคารประเภท ข. เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารประเภท ข. ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่น้ำเสียจะมีลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ข. ที่กำหนดไว้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำให้เจือจาง (Dilution) (หมายเหตุ: ใช้ในพื้นที่พาณิชยกรรมภายในนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น)" [1],[2],[5]
5 ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียต้องเก็บสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละวัน และจัดทำบันทึกรายละเอียดดังกล่าวตามแบบ ทส. 1 เก็บไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นเป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการเก็บสถิติและข้อมูลนั้น [1],[2],[3]
6 ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียในแต่ละเดือนตามแบบ ทส. 2 และเสนอรายงานดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไป โดยยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่แหล่งกำเนิดมลพิษนั้นตั้งอยู่ [1],[2],[3]
7 นิคมอุตสาหกรรม โรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม และห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียโดยไม่ผ่านการบำบัดก่อน และน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะปล่อยออกจากโรงงานได้ก็ต่อเมื่อมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและมาตรฐานของการนิคมอุตสาหกรรมกำหนดไว้ [1],[2],[7],[8],[16]
8 วิธีการเก็บ ความถี่ และระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งของนิคมอุตสาหกรรมให้เก็บตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด และการตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องเป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียของสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย หรือ Standard Method for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work Association และ Water Environment Federation ของสหรัฐอเมริการ่วมกันกำหนดไว้ด้วย [1],[2],[17],[25]
9 กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง (ใหม่) จากโรงงานอุตสาหกรรมนิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม และการตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ในพารามิเตอร์ ได้แก่ ความเป็นกรดและด่าง อุณหภูมิ สี ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด บีโอดี ซีโอดี ซัลไฟด์ ไซยาไนด์ น้ำมันและไขมัน ฟอร์มาลดีไฮด์ สารประกอบฟีนอล คลอรีนอิสระ สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ทีเคเอ็น และ โลหะหนัก [1],[2],[5]
10 "การติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย และเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ·       กำหนดให้โรงงานที่ต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ โรงงานลำดับที่ 4 โรงงานลำดับที่ 5 โรงงานลำดับที่ 6 โรงงานลำดับที่ 7 โรงงานลำดับที่ 8 โรงงานลำดับที่ 9 โรงงานลำดับที่ 10 โรงงานลำดับที่ 11 โรงงานลำดับที่ 13 โรงงานลำดับที่ 15 โรงงานลำดับที่ 16 โรงงานลำดับที่ 17 โรงงานลำดับที่ 19 โรงงานลำดับที่ 20 และโรงงานลำดับที่ 52 ·       กำหนดให้โรงงานที่ต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีในระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ โรงงานลำดับที่ 22 โรงงานลำดับที่ 24 โรงงานลำดับที่ 29 โรงงานลำดับที่ 38 โรงงานลำดับที่ 40 โรงงานลำดับที่ 42 โรงงานลำดับที่ 44 และโรงงานลำดับที่ 49 ·       โรงงานลำดับที่ 101 ต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีหรือเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีและเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีทั้งสองอย่าง ·       เครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีแบบออนไลน์หรือเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดีแบบออนไลน์ต้องมีคุณสมบัติตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และต้องมีผลการตรวจวัดค่าบีโอดีและค่าซีโอดีไม่คลาดเคลื่อนตามที่กฎหมายกำหนด (หมายเหตุ: เฉพาะโรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมที่ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางเท่านั้น)" [1],[21]
11 เครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อรายงานการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงาน ประกอบด้วยติดตั้งเครื่องวัดอัตราการไหลของนํ้าทิ้งออกจากโรงงานและติดตั้งมาตรวัด ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับระบบบำบัดนํ้าเสียโดยเครื่องวัดอัตราการไหลของนํ้าทิ้งออกจากโรงงาน และติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) และหรือเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ของนํ้าทิ้งที่สามารถให้สัญญาณไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง และส่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงงานเพื่อบันทึกข้อมูลและแสดงข้อมูลย้อนหลังได้อย่างต่อเนื่อง โรงงานใดจะต้องติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าบีโอดีหรือเครื่องตรวจวัดค่าซีโอดี หรือติดตั้งเครื่องตรวจวัดทั้งสองชนิดดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม [1],[10],[11],[12],[13]
12 โรงงานตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ที่มีการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงานที่มีปริมาณนํ้าทิ้งเกินกว่า 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป หรือ โรงงานที่มีปริมาณนํ้าทิ้งตั้งแต่ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป จนถึง 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือมีปริมาณความสกปรกในรูปของปริมาณบีโอดีช่วงไหลเข้า (Influent BOD Load) ตั้งแต่ 4,000 กิโลกรัม ต่อวันขึ้นไป ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม เพื่อรายงานการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงานเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เว้นแต่โรงงานที่ไม่มีการระบายนํ้าทิ้งออกจากโรงงานและโรงงานที่มีการนำ นํ้าทิ้งไปบำบัดที่โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment Plant) ไม่ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าว [1],[10]
13 ห้ามระบายน้ำทิ้งออกจากโรงงานเว้นแต่ได้ทำการบำบัดจนน้ำทิ้งนั้นมีลักษณะเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ห้ามใช้วิธีทำให้เจือจาง (Dilution) [1],[4]
14 น้ำเสียหรือน้ำที่ผ่านการใช้แล้วทุกชนิดจากอาคารหรือแปลงที่ดิน ให้ระบายลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้เกณฑ์คุณภาพของน้ำดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่ กนอ. กำหนด [1],[18]
15 ผู้ประกอบกิจการจะต้องแสดงแบบแปลนระบบระบายน้ำเสียและระบบระบายน้ำฝนจากอาคารหรือแปลงที่ดินของตนให้เหมาะสมกับแหล่งรองรับน้ำทั้งสองระบบ เช่น ระบบระบายน้ำเสียต้องแยกออกจากระบบระบายน้ำฝนโดยเด็ดขาด ทางระบายน้ำฝนที่ใช้สำหรับการระบายน้ำฝนมีลักษณะที่สามารถทำความสะอาดได้โดยสะดวกและต้องจัดให้มีบ่อตรวจการระบายน้ำฝนและตะแกรงดักขยะอยู่ในสถานที่ตรวจสอบได้สะดวก ก่อนที่จะระบายน้ำฝนลงสู่ระบบระบายน้ำฝนของนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น [1],[18]
16 ระบบระบายน้ำเสียของผู้ประกอบกิจการต้องก่อสร้างเป็นระบบปิด และต้องจัดให้มีบ่อตรวจคุณภาพน้ำเสีย พร้อมประตูน้ำปิด-เปิดซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตลอดเวลา ก่อนที่จะระบายน้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตามแบบที่ กนอ. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบ [1],[18]
17 การระบายน้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการจะต้องก่อสร้างระบบระบายน้ำเสียเพื่อระบายน้ำเสียทุกส่วนลงสู่ท่อระบายน้ำส่วนกลางให้เป็นตามหลักเกณฑ์ที่ กนอ. กำหนดไว้ [1],[19]
18 ห้ามผู้ประกอบกิจการระบายสารที่มีผลต่อการระบายและการบำบัดน้ำเสียเข้าสู่ท่อระบายน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม เช่น สารที่มีความหนืดสูง สารที่จับหรือตกตะกอนในท่อระบายแล้วทำให้อุดตัน หรือวัสดุที่ทำให้อุดตัน ตะกอนแคลเซียมคาร์ไบด์ สารทำละลาย เป็นต้น [1],[19]
19 โรงงานที่ขออนุญาตตั้ง หรือขยายโรงงานซึ่งมีน้ำเสียจากการประกอบกิจการต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการจนสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด หรือมีระบบเก็บกักที่สามารถเก็บกักน้ำทิ้งทั้งหมดโดยไม่รั่วซึมลงสู่แหล่งน้ำใต้ดิน และต้องไม่ระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น คลองหลัก คลองเชื่อม ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะ [1],[15]
20 "ผู้ประกอบกิจการโรงงานมีหน้าที่ต้องจัดทำแบบรายงานข้อมูลทั่วไป (แบบ รว.1) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม แบบรายงานมลพิษน้ำ (แบบ รว.2) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ แบบรายงานมลพิษอากาศ (แบบ รว.3) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศให้ถูกต้องหรือสมบูรณ์ แล้วแต่กรณี และส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในสี่สิบห้าวัน นับจากวันได้รับแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องรายงาน รวมทั้งรูปแบบและวิธีการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) ให้เป็นไปตามหลักวิชาการทั้งมลพิษน้ำและมลพิษอากาศ กำหนดวิธีการได้มาของข้อมูลการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อมูลจากตรวจวัดวิเคราะห์โดยให้ใช้วิธีการตามมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม และข้อมูลจากการคำนวณโดยให้ใช้วิธีการคำนวณที่ยอมรับในระดับสากล กำหนดเงื่อนไขในการเก็บตัวอย่างน้ำและพารามิเตอร์ในการเก็บตัวอย่างน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และการเก็บตัวอย่างอากาศและพารามิเตอร์ในการเก็บตัวอย่างอากาศที่ระบายออกจากปล่องระบายอากาศของโรงงานสำหรับใช้ในการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) กำหนดแบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) วิธีการส่งรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การเก็บรักษารายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษไว้ที่โรงงานและผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือผู้รับมอบอำนาจและผู้ควบคุม ดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นผู้ลงนามรับรองในแบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ" [1],[7],[8],[9],[20],[26]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
3 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555
4 กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
5 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุม การปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรืออกสู่สิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 2)
6 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม
7 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
8 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม
9 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558
10 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานที่ต้องมีระบบบำบัดนํ้าเสียต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม พ.ศ. 2547
11 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานที่ต้องมีระบบบำบัดนํ้าเสียต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
12 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานที่ต้องมีระบบบำบัดนํ้าเสียต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2549
13 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานที่ต้องมีระบบบำบัดนํ้าเสียต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษและเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552
14 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดคุณลักษณะน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงานให้มีค่าแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน
15 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการควบคุมปริมาณความสกปรกของน้ำทิ้งจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2551
16 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรมนำน้ำทิ้งของโรงงานไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2559
17 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน
18 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 103 /2556 เรื่อง การพัฒนาที่ดินสำหรับผู้ประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
19 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 78 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ทั่วไปในการระบายน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรม
20 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2559
21 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบให้โรงงานที่ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ และเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์เพิ่มเติม พ.ศ. 2550
22 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง เกณฑ์การออกแบบระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน
23 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง การคิดคำนวณพื้นที่ใช้สอย จำนวนอาคาร และจำนวนห้องของอาคาร หรือกลุ่มของอาคาร วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ ความถี่และระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างน้ำ
24 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง ความถี่ และระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
25 ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง กำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่อนุญาตให้ระบายน้ำทิ้ง ให้มีค่ามาตรฐานแตกต่างจากค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2539) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง จากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
26 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2553
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 รายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ ที่ระบายออกจากโรงงาน แบบ รว.1
2 รายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ ที่ระบายออกจากโรงงาน แบบ รว.2
3 รายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษ ที่ระบายออกจากโรงงาน แบบ รว.2/1
4 รายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
5 บัญชีประเภทโรงงานที่มีแนวโน้มการระบายมลพิษทางน้ำในรูปบีโอดี สารอันตรายประเภทสารเคมี (Toxic) และโลหะหนัก
6 แบบบันทึกรายละเอียดของสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียของแหล่งกำเนิดมลพิษ (ทส.1)
7 แบบบันทึกรายละเอียดของสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียของแหล่งกำเนิดมลพิษ (ทส.1)