3.1.2.11 งานก่อสร้าง ลิฟท์ขนส่ง และลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 3 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 7 ฉบับ
1 นายจ้างจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
2 นายจ้างจัดทำพื้นที่ทำงานก่อสร้างให้มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย และมีผู้ควบคุมงานทำหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำงานก่อนการทำงานและขณะทำงานทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
3 นายจ้างจัดให้มีการรักษาความสะอาดในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง โดยจัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างให้เรียบร้อย และแยกของเหลือใช้หรือขยะทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย โดยพิจารณาแยกหรือกำจัดทิ้งเพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของลูกจ้าง รวมทั้งจัดให้มีการขนย้ายดินที่ขุดออกจากที่ทำงานก่อสร้าง และหากขนย้ายไม่ทันให้จัดหาสิ่งรองรับดินดังกล่าวเพื่อให้เกิดความปลอดภัย [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
4 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานก่อสร้างในขณะเกิดภัยธรรมชาติ เว้นแต่เป็นการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในงานก่อสร้างหรือเพื่อการช่วยเหลือหรือการบรรเทาเหตุ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกจ้างนั้นด้วย [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
5 นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างฉุกเฉินในเขตก่อสร้างให้เพียงพอเพื่อใช้ในเวลาที่ไฟฟ้าดับ ติดป้ายเตือนอันตราย ณ ทางเข้าออกของยานพาหนะทุกแห่ง และจัดให้มีผู้ให้สัญญาณในขณะที่มียานพาหนะเข้าออกเขตก่อสร้าง ติดป้ายแสดงหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน และติดหรือตั้งป้ายเตือนและป้ายบังคับในเขตก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย เช่น ให้ระวัง ห้ามเข้า ให้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
6 ห้ามนายจ้างอนุญาตหรือปล่อยปละละเลยให้ลูกจ้างเข้าพักอาศัยในอาคารซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างหรือในเขตก่อสร้างนั้น เว้นแต่นายจ้างจะได้จัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัย และได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากวิศวกร และให้เก็บหนังสือแสดงความเห็นชอบนั้นไว้ ณ ที่ก่อสร้าง เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ ทั้งนี้ นายจ้างต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการนั้นตลอดเวลา [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
7 การติดตั้งและการใช้ระบบไฟฟ้าในเขตก่อสร้าง ให้นายจ้างจัดให้มีแผนผังวงจรไฟฟ้าซึ่งมีวิศวกรลงนามรับรอง และให้นายจ้างเก็บแผนผังดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา รวมทั้งจัดให้มีวิศวกรควบคุมดูแลการติดตั้งและการใช้งานให้เกิดความปลอดภัย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าในท้องถิ่นนั้น กรณีที่ไม่มีมาตรฐานดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
8 การก่อสร้างอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร ให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่สามารถได้ยินโดยทั่วถึงกันทั้งอาคาร [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
9 กฎหมายกำหนดรายละเอียดเฉพาะทางที่ผู้ประกอบกิจการหรือนายจ้างจะต้องดำเนินการให้กับลูกจ้างที่ทำงานที่เกี่ยงกับการก้อสร้าง ได้แก่ งานไฟฟ้าและการป้องกันอัคคีภัย งานเจาะและงานขุด งานก่อสร้างที่มีเสาเข็มและกำแพงพืด การใช้ค้ำยัน เครื่องจักรและปั้นจั่น ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราวและลิฟต์โดยสารชั่วคราว เชือก ลวดสลิง และรอก ทางเดินชั่วคราวยกระดับสูง การทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง การพังทลาย และการกระเด็นหรือตกหล่นของวัสดุ งานอุโมงค์ งานก่อสร้างในน้ำ การรื้อถอนทำลาย และการคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
10 กำหนดให้นายจ้างที่มีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องจัดให้มีการตรวจรับรองประจำปีตามชนิดและประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
11 แผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างต้องมีรายละเอียด เช่น ชื่อโครงการหรือกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ แผนการปฏิบัติงาน ซึ่งระบุวิธีการขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหรือกิจกรรม วิธีการประเมินผลโครงการหรือกิจกรรม ระยะเวลา การทบทวนและปรับปรุงแก้ไขแผนงาน และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
12 นายจ้างต้องใช้เชือก ลวดสลิง และรอก ให้เป็นไปตามคุณลักษณะและข้อกำหนดของการใช้งาน ที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด และจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง และรอก ได้ทราบถึงคุณลักษณะและข้อกำหนดของการใช้งานของเชือก ลวดสลิง และรอก [1],[2],[3],[4],[5],[9]
13 นายจ้างต้องตรวจสอบเชือก ลวดสลิง รอก และอุปกรณ์ประกอบเบื้องต้นให้อยู่ในสภาพปลอดภัย พร้อมใช้งาน และตรวจตามรายการตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[9]
14 การใช้งานเชือก หรือลวดสลิงในการยก ดึง ลาก สิ่งของ นายจ้างต้องจัดให้มี การถักหรือทำเป็นบ่วงที่ปลายเชือกหรือลวดสลิงโดยการผูก มัด หรือยึดโยง ให้มั่นคงแข็งแรงและทดลองยก ดึง ลาก เพื่อตรวจสอบสภาพสมดุลย์ก่อนการปฏิบัติงานจริง [1],[2],[3],[4],[5],[9]
15 นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยในรัศมีการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากการใช้เชือก ลวดสลิง รอก เนื่องจากการตกหล่น ดีด หรือกระเด็น และจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายดังกล่าว ติดไว้ให้เห็นชัดเจน ณ บริเวณนั้น [1],[2],[3],[4],[5],[9]
16 นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดใช้เชือก ลวดสลิง หรือรอกในการห้อย โหน เกาะ ขึ้นลงหรือเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง [1],[2],[3],[4],[5],[9]
17 นายจ้างต้องจัดให้มีการเก็บและบำรุงรักษาเชือก ลวดสลิง รอก ตามข้อกำหนดชนิดประเภท วัตถุประสงค์ รายละเอียด และระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[9]
18 นายจ้างที่มีการใช้ลิฟต์ที่มีความสูงตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป ต้องจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว ภายใต้การควบคุมโดยวิศวกรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง [1],[2],[3],[4],[5],[10]
19 ขณะที่มีการตรวจสอบส่วนประกอบ อุปกรณ์ หรือระบบควบคุมการทำงานของลิฟต์ นายจ้างต้องมีการใส่กุญแจ หรือจัดให้มีระบบระมัดระวังป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปใกล้หรือใช้ลิฟต์ พร้อมทั้งติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟต์” ให้ชัดเจน [1],[2],[3],[4],[5],[10]
20 นายจ้างต้องแสดงข้อมูลและรายละเอียดทั่วไปของลิฟต์ ได้แก่ ยี่ห้อและประเทศผู้ผลิต รุ่น หมายเลขเครื่องและปีที่ผลิต น้ำหนักยกหรือพิกัดยกมากสุดของลิฟต์ ชื่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า และแบบรายการคำนวณ และข้อมูลของวิศวกรผู้ออกแบบ กรณีเป็นลิฟต์ที่นายจ้างสร้างลิฟต์เอง [1],[2],[3],[4],[5],[10]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 3 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 7 ฉบับ
1 นายจ้างจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
2 นายจ้างจัดทำพื้นที่ทำงานก่อสร้างให้มีความมั่นคงแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักเครื่องจักรและอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย และมีผู้ควบคุมงานทำหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำงานก่อนการทำงานและขณะทำงานทุกขั้นตอนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
3 นายจ้างจัดให้มีการรักษาความสะอาดในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง โดยจัดเก็บวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างให้เรียบร้อย และแยกของเหลือใช้หรือขยะทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย โดยพิจารณาแยกหรือกำจัดทิ้งเพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของลูกจ้าง รวมทั้งจัดให้มีการขนย้ายดินที่ขุดออกจากที่ทำงานก่อสร้าง และหากขนย้ายไม่ทันให้จัดหาสิ่งรองรับดินดังกล่าวเพื่อให้เกิดความปลอดภัย [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
4 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานก่อสร้างในขณะเกิดภัยธรรมชาติ เว้นแต่เป็นการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในงานก่อสร้างหรือเพื่อการช่วยเหลือหรือการบรรเทาเหตุ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกจ้างนั้นด้วย [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
5 นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างฉุกเฉินในเขตก่อสร้างให้เพียงพอเพื่อใช้ในเวลาที่ไฟฟ้าดับ ติดป้ายเตือนอันตราย ณ ทางเข้าออกของยานพาหนะทุกแห่ง และจัดให้มีผู้ให้สัญญาณในขณะที่มียานพาหนะเข้าออกเขตก่อสร้าง ติดป้ายแสดงหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน และติดหรือตั้งป้ายเตือนและป้ายบังคับในเขตก่อสร้างเพื่อความปลอดภัย เช่น ให้ระวัง ห้ามเข้า ให้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
6 ห้ามนายจ้างอนุญาตหรือปล่อยปละละเลยให้ลูกจ้างเข้าพักอาศัยในอาคารซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างหรือในเขตก่อสร้างนั้น เว้นแต่นายจ้างจะได้จัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัย และได้รับความเห็นชอบเป็นหนังสือจากวิศวกร และให้เก็บหนังสือแสดงความเห็นชอบนั้นไว้ ณ ที่ก่อสร้าง เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ ทั้งนี้ นายจ้างต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการนั้นตลอดเวลา [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
7 การติดตั้งและการใช้ระบบไฟฟ้าในเขตก่อสร้าง ให้นายจ้างจัดให้มีแผนผังวงจรไฟฟ้าซึ่งมีวิศวกรลงนามรับรอง และให้นายจ้างเก็บแผนผังดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา รวมทั้งจัดให้มีวิศวกรควบคุมดูแลการติดตั้งและการใช้งานให้เกิดความปลอดภัย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าในท้องถิ่นนั้น กรณีที่ไม่มีมาตรฐานดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
8 การก่อสร้างอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตร ขึ้นไป หรือมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2,000 ตารางเมตร ให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่สามารถได้ยินโดยทั่วถึงกันทั้งอาคาร [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
9 กฎหมายกำหนดรายละเอียดเฉพาะทางที่ผู้ประกอบกิจการหรือนายจ้างจะต้องดำเนินการให้กับลูกจ้างที่ทำงานที่เกี่ยงกับการก้อสร้าง ได้แก่ งานไฟฟ้าและการป้องกันอัคคีภัย งานเจาะและงานขุด งานก่อสร้างที่มีเสาเข็มและกำแพงพืด การใช้ค้ำยัน เครื่องจักรและปั้นจั่น ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราวและลิฟต์โดยสารชั่วคราว เชือก ลวดสลิง และรอก ทางเดินชั่วคราวยกระดับสูง การทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูง การพังทลาย และการกระเด็นหรือตกหล่นของวัสดุ งานอุโมงค์ งานก่อสร้างในน้ำ การรื้อถอนทำลาย และการคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
10 กำหนดให้นายจ้างที่มีการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องจัดให้มีการตรวจรับรองประจำปีตามชนิดและประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
11 แผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างต้องมีรายละเอียด เช่น ชื่อโครงการหรือกิจกรรม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ แผนการปฏิบัติงาน ซึ่งระบุวิธีการขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหรือกิจกรรม วิธีการประเมินผลโครงการหรือกิจกรรม ระยะเวลา การทบทวนและปรับปรุงแก้ไขแผนงาน และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ [1],[2],[3],[4],[5],[6],[7],[8]
12 นายจ้างต้องใช้เชือก ลวดสลิง และรอก ให้เป็นไปตามคุณลักษณะและข้อกำหนดของการใช้งาน ที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด และจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง และรอก ได้ทราบถึงคุณลักษณะและข้อกำหนดของการใช้งานของเชือก ลวดสลิง และรอก [1],[2],[3],[4],[5],[9]
13 นายจ้างต้องตรวจสอบเชือก ลวดสลิง รอก และอุปกรณ์ประกอบเบื้องต้นให้อยู่ในสภาพปลอดภัย พร้อมใช้งาน และตรวจตามรายการตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[9]
14 การใช้งานเชือก หรือลวดสลิงในการยก ดึง ลาก สิ่งของ นายจ้างต้องจัดให้มี การถักหรือทำเป็นบ่วงที่ปลายเชือกหรือลวดสลิงโดยการผูก มัด หรือยึดโยง ให้มั่นคงแข็งแรงและทดลองยก ดึง ลาก เพื่อตรวจสอบสภาพสมดุลย์ก่อนการปฏิบัติงานจริง [1],[2],[3],[4],[5],[9]
15 นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยในรัศมีการทำงานที่อาจได้รับอันตรายจากการใช้เชือก ลวดสลิง รอก เนื่องจากการตกหล่น ดีด หรือกระเด็น และจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายดังกล่าว ติดไว้ให้เห็นชัดเจน ณ บริเวณนั้น [1],[2],[3],[4],[5],[9]
16 นายจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดใช้เชือก ลวดสลิง หรือรอกในการห้อย โหน เกาะ ขึ้นลงหรือเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง [1],[2],[3],[4],[5],[9]
17 นายจ้างต้องจัดให้มีการเก็บและบำรุงรักษาเชือก ลวดสลิง รอก ตามข้อกำหนดชนิดประเภท วัตถุประสงค์ รายละเอียด และระยะเวลาที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[9]
18 นายจ้างที่มีการใช้ลิฟต์ที่มีความสูงตั้งแต่ 9 เมตรขึ้นไป ต้องจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว ภายใต้การควบคุมโดยวิศวกรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง [1],[2],[3],[4],[5],[10]
19 ขณะที่มีการตรวจสอบส่วนประกอบ อุปกรณ์ หรือระบบควบคุมการทำงานของลิฟต์ นายจ้างต้องมีการใส่กุญแจ หรือจัดให้มีระบบระมัดระวังป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปใกล้หรือใช้ลิฟต์ พร้อมทั้งติดป้าย “ห้ามใช้ลิฟต์” ให้ชัดเจน [1],[2],[3],[4],[5],[10]
20 นายจ้างต้องแสดงข้อมูลและรายละเอียดทั่วไปของลิฟต์ ได้แก่ ยี่ห้อและประเทศผู้ผลิต รุ่น หมายเลขเครื่องและปีที่ผลิต น้ำหนักยกหรือพิกัดยกมากสุดของลิฟต์ ชื่อผู้ผลิต ผู้นำเข้า และแบบรายการคำนวณ และข้อมูลของวิศวกรผู้ออกแบบ กรณีเป็นลิฟต์ที่นายจ้างสร้างลิฟต์เอง [1],[2],[3],[4],[5],[10]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
2 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
3 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
4 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
5 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
6 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551
7 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี
8 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2552
9 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553
10 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว พ.ศ. 2553
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม