3.1.2.15 การตรวจสุขภาพ และปัจจัยเสี่ยงของพนักงาน

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 5 ฉบับ
1 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่มีคุณสมบัติตามที่dกฎหมายกำหนด โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง [1],[7]
2 นายต้องจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ [2],[3],[4],[6]
3 นายจ้างต้องเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓ รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย และนายจ้างมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง [2],[3],[4],[6]
4 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและกำหนดนิยาม “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง” หมายความว่า งานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ให้กำหนดสารเคมีอันตรายที่นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงาน ในงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สารเคมีอันตรายในกลุ่มสารทำละลายอินทรีย์ สารเคมีอันตรายในกลุ่มก๊าซ และสารเคมีอันตรายในกลุ่มฝุ่นหรือฟูมหรือผงโลหะ สารเคมีอันตรายในกลุ่มกรด สารเคมีอันตรายในกลุ่มสารกำจัดศัตรูพืช (pesticides) สารเคมีอันตรายในกลุ่มอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้รายชื่อของสารเคมีให้ตรวจสอบได้ในกฎหมาย [2],[3],[4],[6]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 5 ฉบับ
1 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่มีคุณสมบัติตามที่dกฎหมายกำหนด โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง [1],[7]
2 นายต้องจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ [2],[3],[4],[6]
3 นายจ้างต้องเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ ๓ รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย และนายจ้างมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง [2],[3],[4],[6]
4 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและกำหนดนิยาม “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง” หมายความว่า งานที่ลูกจ้างทำเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ให้กำหนดสารเคมีอันตรายที่นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงาน ในงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สารเคมีอันตรายในกลุ่มสารทำละลายอินทรีย์ สารเคมีอันตรายในกลุ่มก๊าซ และสารเคมีอันตรายในกลุ่มฝุ่นหรือฟูมหรือผงโลหะ สารเคมีอันตรายในกลุ่มกรด สารเคมีอันตรายในกลุ่มสารกำจัดศัตรูพืช (pesticides) สารเคมีอันตรายในกลุ่มอื่น ๆ เป็นต้น ทั้งนี้รายชื่อของสารเคมีให้ตรวจสอบได้ในกฎหมาย [2],[3],[4],[6]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
2 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
3 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
4 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
5 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
6 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547
7 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม