3.1.2.16 บุคลากรด้านความปลอดภัย

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 8 ฉบับ
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 5 ฉบับ
1 ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานตามกฎหมายกำหนด การแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานครั้งต่อ ๆ ไปให้แจ้งภายใน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดทุก ๆ 3 ปีนับแต่วันที่ผู้รับแจ้งออกหนังสือรับแจ้งให้ในครั้งก่อน กรณีที่ไม่ได้แจ้งตามระยะเวลาที่ครบกำหนด 3 ปี ในคราวใด ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานไม่ได้แจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานนับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีของปีอันเป็นเหตุให้มีการแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน [1],[10]
2 ผู้รับแจ้งจะไม่รับแจ้งเพิ่มเติม ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานหากปรากฏในการพิจารณาว่าผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมในโรงงานอื่นอยู่ก่อน จำนวน 5 โรงงาน [1],[10]
3 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติ การฝึกอบรม และสอบมาตรฐานของบุคคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ได้แก่ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ บริษัทที่ปรึกษา รายละเอียดของหลักสูตร การขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมบุคคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน และคุณสมบัติของหน่วยงานจัดสอบมาตรฐาน เป็นต้น [1],[6]
4 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมแบบบุคคล แบบบริษัทที่ปรึกษา [1],[7]
5 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน รายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน การสอบมาตรฐาน ใบรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน การกำกับดูแลหน่วยงานจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน [1],[8]
6 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมและการออกหนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน ได้แก่ การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุมส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน หลักสูตรการฝึกอบรมคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน [1],[9]
7 กฎหมายกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ [1],[3],[4]
8 นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ [2],[5]
9 นายจ้างต้องเก็บหลักฐานการฝึกอบรมตามข้อ ๒ ได้แก่ ทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรม พร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทำการอบรมไว้ในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ [2],[5]
10 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับบริหาร ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน ลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ และลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม [2],[5]
11 นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ [2],[11]
12 กฎหมายกำหนดรายละเอียดสำหรับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 5 ระดับ และการดำเนินการฝึกอบรม เป็นต้น [2],[12],[13]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 8 ฉบับ
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 5 ฉบับ
1 ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานตามกฎหมายกำหนด การแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานครั้งต่อ ๆ ไปให้แจ้งภายใน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดทุก ๆ 3 ปีนับแต่วันที่ผู้รับแจ้งออกหนังสือรับแจ้งให้ในครั้งก่อน กรณีที่ไม่ได้แจ้งตามระยะเวลาที่ครบกำหนด 3 ปี ในคราวใด ให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานไม่ได้แจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานนับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปีของปีอันเป็นเหตุให้มีการแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน [1],[10]
2 ผู้รับแจ้งจะไม่รับแจ้งเพิ่มเติม ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงานหากปรากฏในการพิจารณาว่าผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมในโรงงานอื่นอยู่ก่อน จำนวน 5 โรงงาน [1],[10]
3 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติ การฝึกอบรม และสอบมาตรฐานของบุคคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ได้แก่ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ บริษัทที่ปรึกษา รายละเอียดของหลักสูตร การขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมบุคคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน และคุณสมบัติของหน่วยงานจัดสอบมาตรฐาน เป็นต้น [1],[6]
4 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำหรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรมแบบบุคคล แบบบริษัทที่ปรึกษา [1],[7]
5 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน รายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน การสอบมาตรฐาน ใบรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน การกำกับดูแลหน่วยงานจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน [1],[8]
6 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมและการออกหนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน ได้แก่ การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุมส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน หลักสูตรการฝึกอบรมคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน หนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน [1],[9]
7 กฎหมายกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ [1],[3],[4]
8 นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ [2],[5]
9 นายจ้างต้องเก็บหลักฐานการฝึกอบรมตามข้อ ๒ ได้แก่ ทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรม พร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทำการอบรมไว้ในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ [2],[5]
10 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับบริหาร ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน ลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ และลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม [2],[5]
11 นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ [2],[11]
12 กฎหมายกำหนดรายละเอียดสำหรับการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 5 ระดับ และการดำเนินการฝึกอบรม เป็นต้น [2],[12],[13]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
3 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษ หรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545
4 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานประจำ และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ผู้ควบคุมดูแล สำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
5 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การแจ้งและการรับแจ้งการมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน พ.ศ. 2556
6 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติ การฝึกอบรมและการสอบมาตรฐานของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน พ.ศ. 2554
7 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ หรือผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ หรือผู้ควบคุมระบบการจัดการมลพิษกากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556
8 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานจัดฝึกอบรมและการสอบมาตรฐาน หลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2554
9 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมและการออกหนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2554
10 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
11 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549
12 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
13 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และการดำเนินการฝึกอบรม พ.ศ. 2549
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม