3.1.2.2 เครื่องจักร หม้อน้ำ และหม้อต้มน้ำ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 3 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 7 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือสร้างหม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดันต้องจัดให้มีการออกแบบ การผลิต และการตรวจสอบการผลิต ต้องมีเอกสารคู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา และจัดทำรายงานข้อมูลการผลิต การตรวจสอบ และการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบ การผลิต และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากโรงงานผู้ผลิตทั้งแบบผลิตในประเทศและจากต่างประเทศที่ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
3 หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องมีอุปกรณ์ความปลอดภัย สถานที่ติตั้ง การติดตั้ง การตรวจสอบและทดสอบหลังการตืดตั้ง และระบบท่อต้องได้รับการออกแบบ การคำนวณ และควบคุมการติดตั้งตามมาตรฐานวิศวกรรม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
4 โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ ต้องติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดหรือปรับสภาพน้ำในระบบหม้อน้ำ หรือปรับสภาพน้ำเข้าหม้อน้ำ เพื่อให้น้ำมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐาน และต้องจัดทำรายงานข้อมูลการติดตั้ง การตรวจสอบและทดสอบหลังการติดตั้ง และการเคลื่อนย้าย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องส่งรายงานผลการทดสอบความปลอดภัยให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ทำการตรวจสอบหรือการทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องส่งรายงานผลการดำเนินการซ่อมแซม ดัดแปลง และผลการตรวจสอบและทดสอบหลังจากที่ได้ซ่อมแซมและดัดแปลง ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อนการใช้งาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
7 การใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
8 ผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน วิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อน้ำ วิศวกรควบคุมการสร้าง หรือซ่อมหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน วิศวกรตรวจทดสอบหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ต้องมีคุณสมบัติหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และต้องขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
9 การจัดฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม และการสอบมาตรฐานของผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
10 ผู้ประกอบกิจการโรงงานสร้างหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนต้องจัดให้มีการออกแบบและคำนวณหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนที่จะทำการสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐาน ASME, JIS, EN หรือมาตรฐานเทียบเท่า และต้องจัดให้มีหน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือวิศวกรควบคุมการสร้าง หรือซ่อมหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนทำการตรวจสอบและรับรองแบบ พร้อมทั้งเก็บรักษาแบบและหนังสือรับรองแบบนั้นไว้ภายในโรงงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ [2],[4]
11 ผู้ประกอบกิจการโรงงานสร้างหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนต้องจัดทำรายงานการสร้าง (Manufacturing Data Report) และส่งรายงานการได้รับการรับรองแบบและรายงานการตรวจสอบการสร้างให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
12 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อน้ำ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบหม้อน้ำโดยวิศวกรตรวจทดสอบ หรือหน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
13 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนต้องจัดให้มีการตรวจทดสอบความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน โดยวิศวกรตรวจทดสอบ หรือหน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
14 หม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ที่หยุดใช้งานติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน หากจะนำมาใช้อีกครั้ง ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบก่อนทำการใช้งาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
15 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หากประสงค์จะทำการซ่อมแซม หรือดัดแปลงหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนส่วนที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างส่วนที่รับความดันต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานซ่อมแซม ดัดแปลงและผลการตรวจสอบหลังการซ่อมแซมและดัดแปลงไปให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 30 วัน หลังจากซ่อมแซมและดัดแปลงแล้วเสร็จ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแบบรายงานมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด [2],[4]
16 การยกเลิกการใช้งานหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนเพื่อเคลื่อนย้ายหรือทำลาย ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อนดำเนินการเคลื่อนย้ายหรือทำลายไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ [2],[4]
17 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อน้ำต้องปรับสภาพน้ำสำหรับหม้อน้ำให้เป็นตามมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะรับแรงดันในโรงงานกำหนด [2],[5]
18 อุปกรณ์หรือระบบความปลอดภัยและการติดตั้ง ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานหม้อน้ำ มาตรฐานหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนหรือมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานใดกำหนดให้ใช้อุปกรณ์หรือระบบความปลอดภัยและการติดตั้งตามหลักวิศวกรรมในกรณีที่อุปกรณ์ หรือระบบความปลอดภัย หรือการติดตั้งไม่เป็นไปตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนที่จะดำเนินการใดก็ตาม [2],[6]
19 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำเครื่องละตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป หากจะขอความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[10]
20 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ประสงค์จะขอความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง ให้ยื่นคำขอต่อสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแบบ สภ.1-26 [2],[10]
21 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง ต้องจัดทำรายงาน ส่งให้สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม อย่างน้อยปีละครั้ง [2],[10]
22 กฎหมายกำหนดให้สถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากสถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำ โดยวิธีการตรวจวัด คำนวณ เปรียบเทียบ และสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[8],[9]
23 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน คือ อากาศที่ระบายออกจากปล่องหม้อน้ำโรงงานจำพวกที่ 3 ที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 1 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป ต้องมีเขม่าควันเจือปนอยู่ในปริมาณที่ทำให้เกิดค่าความทึบแสง เมื่อตรวจวัดด้วยแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ไม่เกินร้อยละ 10 ในการตรวจวัดความทึบแสงให้ตรวจวัดในขณะประกอบกิจการโรงงาน และหม้อน้ำมีการทำงานปกติ และวิธีการตรวจวัด การคำนวณ การเปรียบเทียบ และการสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้ใช้วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [2],[7]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 3 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 7 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือสร้างหม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดันต้องจัดให้มีการออกแบบ การผลิต และการตรวจสอบการผลิต ต้องมีเอกสารคู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา และจัดทำรายงานข้อมูลการผลิต การตรวจสอบ และการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบ การผลิต และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์จากโรงงานผู้ผลิตทั้งแบบผลิตในประเทศและจากต่างประเทศที่ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
3 หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องมีอุปกรณ์ความปลอดภัย สถานที่ติตั้ง การติดตั้ง การตรวจสอบและทดสอบหลังการตืดตั้ง และระบบท่อต้องได้รับการออกแบบ การคำนวณ และควบคุมการติดตั้งตามมาตรฐานวิศวกรรม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
4 โรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ ต้องติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัดหรือปรับสภาพน้ำในระบบหม้อน้ำ หรือปรับสภาพน้ำเข้าหม้อน้ำ เพื่อให้น้ำมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐาน และต้องจัดทำรายงานข้อมูลการติดตั้ง การตรวจสอบและทดสอบหลังการติดตั้ง และการเคลื่อนย้าย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องส่งรายงานผลการทดสอบความปลอดภัยให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ทำการตรวจสอบหรือการทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ต้องส่งรายงานผลการดำเนินการซ่อมแซม ดัดแปลง และผลการตรวจสอบและทดสอบหลังจากที่ได้ซ่อมแซมและดัดแปลง ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อนการใช้งาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
7 การใช้หม้อน้ำ หม้อต้มน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือภาชนะรับแรงดัน ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา [2],[3]
8 ผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน วิศวกรควบคุมและอำนวยการใช้หม้อน้ำ วิศวกรควบคุมการสร้าง หรือซ่อมหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน วิศวกรตรวจทดสอบหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ต้องมีคุณสมบัติหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และต้องขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
9 การจัดฝึกอบรม หลักสูตรการฝึกอบรม และการสอบมาตรฐานของผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
10 ผู้ประกอบกิจการโรงงานสร้างหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนต้องจัดให้มีการออกแบบและคำนวณหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนที่จะทำการสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือมาตรฐานสากล ได้แก่ มาตรฐาน ASME, JIS, EN หรือมาตรฐานเทียบเท่า และต้องจัดให้มีหน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือวิศวกรควบคุมการสร้าง หรือซ่อมหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนทำการตรวจสอบและรับรองแบบ พร้อมทั้งเก็บรักษาแบบและหนังสือรับรองแบบนั้นไว้ภายในโรงงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ [2],[4]
11 ผู้ประกอบกิจการโรงงานสร้างหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนต้องจัดทำรายงานการสร้าง (Manufacturing Data Report) และส่งรายงานการได้รับการรับรองแบบและรายงานการตรวจสอบการสร้างให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
12 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อน้ำ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบหม้อน้ำโดยวิศวกรตรวจทดสอบ หรือหน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
13 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนต้องจัดให้มีการตรวจทดสอบความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน โดยวิศวกรตรวจทดสอบ หรือหน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
14 หม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ที่หยุดใช้งานติดต่อกันนานกว่า 6 เดือน หากจะนำมาใช้อีกครั้ง ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบก่อนทำการใช้งาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[4]
15 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หากประสงค์จะทำการซ่อมแซม หรือดัดแปลงหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนส่วนที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างส่วนที่รับความดันต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานซ่อมแซม ดัดแปลงและผลการตรวจสอบหลังการซ่อมแซมและดัดแปลงไปให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 30 วัน หลังจากซ่อมแซมและดัดแปลงแล้วเสร็จ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแบบรายงานมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด [2],[4]
16 การยกเลิกการใช้งานหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนเพื่อเคลื่อนย้ายหรือทำลาย ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบก่อนดำเนินการเคลื่อนย้ายหรือทำลายไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ [2],[4]
17 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้งานหม้อน้ำต้องปรับสภาพน้ำสำหรับหม้อน้ำให้เป็นตามมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะรับแรงดันในโรงงานกำหนด [2],[5]
18 อุปกรณ์หรือระบบความปลอดภัยและการติดตั้ง ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานหม้อน้ำ มาตรฐานหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนหรือมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานใดกำหนดให้ใช้อุปกรณ์หรือระบบความปลอดภัยและการติดตั้งตามหลักวิศวกรรมในกรณีที่อุปกรณ์ หรือระบบความปลอดภัย หรือการติดตั้งไม่เป็นไปตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนที่จะดำเนินการใดก็ตาม [2],[6]
19 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้หม้อน้ำเครื่องละตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป หากจะขอความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [2],[10]
20 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ประสงค์จะขอความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง ให้ยื่นคำขอต่อสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามแบบ สภ.1-26 [2],[10]
21 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง ต้องจัดทำรายงาน ส่งให้สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม อย่างน้อยปีละครั้ง [2],[10]
22 กฎหมายกำหนดให้สถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากสถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำ โดยวิธีการตรวจวัด คำนวณ เปรียบเทียบ และสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[8],[9]
23 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน คือ อากาศที่ระบายออกจากปล่องหม้อน้ำโรงงานจำพวกที่ 3 ที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 1 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป ต้องมีเขม่าควันเจือปนอยู่ในปริมาณที่ทำให้เกิดค่าความทึบแสง เมื่อตรวจวัดด้วยแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ไม่เกินร้อยละ 10 ในการตรวจวัดความทึบแสงให้ตรวจวัดในขณะประกอบกิจการโรงงาน และหม้อน้ำมีการทำงานปกติ และวิธีการตรวจวัด การคำนวณ การเปรียบเทียบ และการสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้ใช้วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [2],[7]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
3 กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะรับแรงดันในโรงงาน พ.ศ. 2549
4 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2549
5 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง คุณสมบัติของน้ำสำหรับหม้อน้ำ พ.ศ. 2549
6 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2549
7 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน พ.ศ. 2549
8 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
9 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากสถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำ
10 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง พ.ศ. 2555
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 คำขอความเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อนํ้า ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง (แบบ สภ.1-26)
2 หนังสือเห็นชอบในการตรวจสอบภายในหม้อน้ำ ทุกระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ต่อการตรวจสอบหนึ่งครั้ง (แบบ สภ.1-27)
3 รายงานการตรวจสอบภายนอกหม้อน้ำและตรวจสอบการทำงานของระบบควบคุมและอุปกรณ์ความปลอดภัย (แบบ สภ.1-28)