3.1.2.3 ก๊าซอุตสาหกรรม

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 13 ฉบับ
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 5 ฉบับ
พระราชบัญญัติอื่นๆ
จำนวน 2 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิตก๊าซซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ ส่งหรือจำหน่ายก๊าซตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 89 และโรงงานบรรจุก๊าซในภาชนะโดยไม่มีการผลิตตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 91 (2) เฉพาะก๊าซคลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน แอมโมเนีย ฮีเลียม ไฮโดรเจน หรือก๊าซอันตรายอื่นๆ ต้องจัดให้มีคนงานซึ่งได้รับหนังสือรับรองการผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ หรือคนงานบรรจุก๊าซ แล้วแต่กรณี
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทหรือชนิดของโรงงานที่มีการใช้หรือเก็บก๊าซเฉพาะก๊าซคลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน อะเซทิลีน อาร์กอน แอมโมเนีย ฮีเลียม ไฮโดรเจน หรือก๊าซอันตรายอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่มีการติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซ (storage tank) หรือมีปริมาณการใช้หรือเก็บก๊าซในภาชนะบรรจุก๊าซ (cylinder) จำนวนรวมตั้งแต่ยี่สิบภาชนะบรรจุขึ้นไป หรือมีการใช้หรือเก็บก๊าซจากภาชนะบรรจุชนิดติดตั้งบนรถ (tube trailer) ต้องจัดให้มีคนงานซึ่งได้รับหนังสือรับรองการผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ ทั้งนี้ ยกเว้นก๊าซแอมโมเนียสำหรับระบบทำความเย็นในโรงงาน [1],[7]
3 การฝึกอบรม การออกหนังสือรับรอง และการขึ้นทะเบียนเป็นคนงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[7],[12]
4 กฎหมายกำหนดให้การตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซต้องกระทำโดยหน่วยตรวจสอบที่ได้รับการรับรองให้เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ หรือที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบให้เป็นหน่วยตรวจสอบ [1],[19]
5 ผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยยื่นคำขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซพร้อมเอกสารหลักฐานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบจะออกหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนให้ไว้เป็นหลักฐาน ในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซ ให้มีอายุคราวละ 5 ปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน และผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ก่อนวันที่ใบอนุญาตขึ้นทะเบียนสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน [1],[18]
6 หนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน ที่ออกโดยผู้ดำเนินการฝึกอบรมต้องมีรายละเอียด ได้แก่ ชื่อ และรหัสทะเบียนของผู้ดำเนินการฝึกอบรม เลขที่หนังสือรับรอง ชื่อ นามสกุล และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ผ่านเกณฑ์การอบรม ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการอบรม และวันที่อบรม โดยลงนามรับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามของผู้ดำเนินการฝึกอบรม และอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย [1],[17]
7 หลักสูตรการฝึกอบรมจำนวน 4 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรคนงานควบคุมก๊าซในโรงงานผลิต ส่ง จำหน่าย หรือบรรจุก๊าซ สำหรับโรงงาน, หลักสูตรคนงานควบคุมก๊าซในโรงงานใช้หรือเก็บก๊าซ สำหรับโรงงาน, หลักสูตรคนงานส่งก๊าซ, และหลักสูตรคนงานบรรจุก๊าซ โดยให้มีรายละเอียดภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและระยะเวลาการฝึกอบรมเป็นไปที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของหลักสูตร และผ่านการประเมินผลโดยสอบได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ และผู้ที่ผ่านเกณฑ์การฝึกอบรมจะได้รับหนังสือรับรองจากผู้ดำเนินการฝึกอบรมโดยมีรายละเอียดตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [1],[20],[15]
8 กฎหมายกำหนดลักษณะอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซ ได้แก่ อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซลงในท่อบรรจุก๊าซต้องเป็นอาคารชั้นเดียว ทำด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ พื้นต้องแข็งแรง เรียบ และผิวพื้นต้องทำด้วยวัสดุชนิดที่ทำให้เกิดประกายไฟจากการเสียดสีได้ยาก ระดับพื้นของสถานที่บรรจุก๊าซ ต้องยกสูงกว่าพื้นภายนอกอย่างน้อย 80 เซนติเมตรใต้พื้นต้องเปิดโล่งทุกด้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และห้ามเก็บสิ่งใด ๆ ไว้ใต้พื้นนั้น และอาคารที่มีการบรรจุหรือจัดเก็บก๊าซไวไฟ ระบบไฟฟ้าในอาคารต้องเป็นชนิดป้องกันการเกิดประกายไฟ (Explosion Proof) หรือระบบไฟฟ้าที่เหมาะสมกับชนิดของก๊าซ [1],[13]
9 กฎหมายกำหนดลักษณะของภาชนะบรรจุก๊าซที่นำมาใช้ในการบรรจุก๊าซ เช่น ภาชนะบรรจุก๊าซใหม่ ต้องเป็นภาชนะบรรจุที่ได้รับการออกแบบ ใช้วัสดุ คำนวณ สร้าง ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย และทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น [1],[13]
10 กฎหมายกำหนดลักษณะของระบบบรรจุก๊าซ (Filling System) เช่น ราวบรรจุก๊าซ หรือราวอัดก๊าซ (Filling Manifold) ต้องได้รับการออกแบบ ใช้วัสดุสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย เครื่องวัด และการตรวจทดสอบสภาพของราวอัดตามหลักวิศวกรรมหรือมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยมีเอกสารรับรองจากวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม พร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ เป็นต้น [1],[13]
11 กฎหมายกำหนดลักษณะของลิ้นภาชนะบรรจุก๊าซ และข้อต่อ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลิ้นภาชนะบรรจุก๊าซ ในกรณีที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยังมิได้มีการกำหนดไว้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดสากล [1],[13]
12 กฎหมายกำหนดการใช้สีและสัญลักษณ์ และเครื่องหมายของภาชนะบรรจุก๊าซต้องแยกตามการนำไปใช้งาน เช่น ท่อบรรจุก๊าซที่นำมาใช้ในการบรรจุก๊าซที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม ต้องทำสีและสัญลักษณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีและสัญลักษณ์ สำหรับภาชนะบรรจุก๊าซที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม เป็นต้น [1],[13]
13 การขนส่งท่อบรรจุก๊าซไวไฟต้องจัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อใช้ดับเพลิงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งได้อย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ [1],[13]
14 การขนส่งท่อบรรจุก๊าซบนรถขนส่งท่อบรรจุก๊าซต้องขนส่งในลักษณะที่ท่อบรรจุก๊าซวางอยู่ในแนวตั้ง (Vertical) และต้องมีสายรัดท่อบรรจุก๊าซหรือวิธีการอย่างอื่นเพื่อยึดให้ท่อบรรจุก๊าซวางอยู่ในแนวตั้งได้อย่างมั่นคงแข็งแรงในระหว่างขนส่งท่อบรรจุก๊าซ [1],[13]
15 การนำท่อบรรจุก๊าซลงจากรถขนส่งสู่พื้นต้องจัดให้มีวิธีการนำท่อบรรจุก๊าซลงจากรถขนส่งท่อบรรจุก๊าซอย่างปลอดภัย ห้ามมิให้นำลงสู่พื้นในลักษณะตกกระแทก [1],[13]
16 การตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซ ตามประกาศฉบับนี้ต้องกระทำโดยหน่วยตรวจสอบที่ได้รับการรับรองให้เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ หรือที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบให้เป็นหน่วยตรวจสอบ [1],[13]
17 สถานที่ใช้ก๊าซที่มีการเก็บ ใช้ หรือจำหน่ายนํ้ามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง กฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว [2],[3],[4],[5],[10]
18 การออกแบบที่เกี่ยวกับสถานที่ใช้ก๊าซต้องกระทำโดยวิศวกรออกแบบ การทดสอบและตรวจสอบต้องกระทำโดยวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ การให้การฝึกอบรมต้องกระทำโดยวิทยากรฝึกอบรมและการใช้ก๊าซต้องกระทำโดยผู้ปฏิบัติงาน [2],[3],[4],[5],[10]
19 สถานีควบคุม เครื่องสูบอัดก๊าซ และถังเก็บและจ่ายก๊าซ ต้องมีระยะควบคุมความปลอดภัยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือมาตรฐานสากลที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน [2],[3],[4],[5],[10]
20 สถานีควบคุมต้องติดตั้งอุปกรณ์เป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซโดยเฉพาะและเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด และด้านใดของสถานีควบคุมที่ยานพาหนะอาจเข้าไปถึงได้ต้องจัดให้มีเสากันภัยที่มีความมั่นคงแข็งแรงทุกระยะ 1.5 เมตร หรือราวเหล็ก (Guard Rail) ไว้ป้องกันโดยมีระยะห่างจากเขตสถานีควบคุมไม่น้อยกว่า 1 เมตร [2],[3],[4],[5],[10]
21 ถังเก็บและจ่ายก๊าซต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และวิธีการ ตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
22 เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซ ลิ้น ตลอดจนอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบท่อ อุปกรณ์ปรับความดันและอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัด มาตรวัดความดัน อุณหภูมิ และอัตราการไหลของก๊าซ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซโดยเฉพาะ และออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพความดันและอุณหภูมิที่ใช้งานปกติ โดยต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดที่เครื่องสูบอัดและท่อที่ต่อกับเครื่องสูบอัดด้วย หรือให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
23 การก่อสร้างและการติดตั้งสถานีควบคุม ภาชนะบรรจุก๊าซ เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ก๊าซ ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด ทั้งนี้อาคารสถานีควบคุมต้องเป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ หากมีฝาหรือผนัง ฝาหรือผนังต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและมีช่องระบายอากาศ และต้องเปิดโล่งอย่างน้อยหนึ่งด้านส่วนหลังคาคลุมต้องออกแบบให้มีการฟุ้งกระจายของก๊าซได้สะดวก [2],[3],[4],[5],[10]
24 การทดสอบและตรวจสอบ สถานีควบคุม ภาชนะบรรจุก๊าซ เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ก๊าซ ก่อนการใช้งาน หรือครบวาระ หรือที่ได้รับความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
25 การป้องกันและระงับอัคคีภัยให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
26 ผู้ใช้ก๊าซ ณ สถานที่ใช้ก๊าซที่มีความประสงค์จะเลิกการใช้ก๊าซ จะต้องแจ้งให้กรมธุรกิจพลังงานหรือหน่วยงานที่กรมธุรกิจพลังงานมอบหมายทราบภายในสามสิบวัน นับจากวันที่เลิกใช้เพื่อที่กรมธุรกิจพลังงานจะได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยมีวิธีการและข้อกำหนดในการตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
27 แผนที่สังเขปของสถานที่ใช้ก๊าซ ต้องแสดงตำแหน่งของสถานที่ใช้ก๊าซ พร้อมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่สำคัญ โดยรอบเขตสถานที่ใช้ก๊าซในรัศมีไม่น้อยกว่า 200 เมตร โดยแผนที่ดังกล่าว ต้องแสดงตำแหน่งที่สามารถทราบถึงบริเวณสถานที่ตั้งของสถานที่ใช้ก๊าซอย่างชัดเจน [2],[3],[4],[5],[10]
28 ผู้ประกอบกิจการต้องแสดงหลักฐานหรือรายการคำนวณตามหลักวิศวกรรม โดยคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย และระบบการใช้งานของอาคารสถานีควบคุม ถังเก็บและจ่ายก๊าซ เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์เครื่องมือ [2],[3],[4],[5],[10]
29 ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซต้องที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดยื่นคำขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ หรือคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พร้อมเอกสารหลักฐาน ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบจะออกหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนให้ไว้เป็นหลักฐาน [1],[2],[21]
30 คนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันที่อายุการขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง [1],[2],[21]
31 ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องมีเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้าย หรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ [8]
32 ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องปิดประกาศฉบับนี้และรายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 พร้อมด้วยประกาศเขตระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ของโครงการดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อนั้นตั้งอยู่ [8]
33 การติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน [9]
34 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ของโรงงาน ที่ใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง [3],[4],[5],[14]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 13 ฉบับ
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 5 ฉบับ
พระราชบัญญัติอื่นๆ
จำนวน 2 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานผลิตก๊าซซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติ ส่งหรือจำหน่ายก๊าซตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 89 และโรงงานบรรจุก๊าซในภาชนะโดยไม่มีการผลิตตามประเภทหรือชนิดของโรงงานลำดับที่ 91 (2) เฉพาะก๊าซคลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน แอมโมเนีย ฮีเลียม ไฮโดรเจน หรือก๊าซอันตรายอื่นๆ ต้องจัดให้มีคนงานซึ่งได้รับหนังสือรับรองการผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ หรือคนงานบรรจุก๊าซ แล้วแต่กรณี
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทหรือชนิดของโรงงานที่มีการใช้หรือเก็บก๊าซเฉพาะก๊าซคลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน อะเซทิลีน อาร์กอน แอมโมเนีย ฮีเลียม ไฮโดรเจน หรือก๊าซอันตรายอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาที่มีการติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซ (storage tank) หรือมีปริมาณการใช้หรือเก็บก๊าซในภาชนะบรรจุก๊าซ (cylinder) จำนวนรวมตั้งแต่ยี่สิบภาชนะบรรจุขึ้นไป หรือมีการใช้หรือเก็บก๊าซจากภาชนะบรรจุชนิดติดตั้งบนรถ (tube trailer) ต้องจัดให้มีคนงานซึ่งได้รับหนังสือรับรองการผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรองและขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ ทั้งนี้ ยกเว้นก๊าซแอมโมเนียสำหรับระบบทำความเย็นในโรงงาน [1],[7]
3 การฝึกอบรม การออกหนังสือรับรอง และการขึ้นทะเบียนเป็นคนงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[7],[12]
4 กฎหมายกำหนดให้การตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซต้องกระทำโดยหน่วยตรวจสอบที่ได้รับการรับรองให้เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ หรือที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบให้เป็นหน่วยตรวจสอบ [1],[19]
5 ผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมต้องขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยยื่นคำขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซพร้อมเอกสารหลักฐานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบจะออกหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนให้ไว้เป็นหลักฐาน ในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซ ให้มีอายุคราวละ 5 ปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน และผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ก่อนวันที่ใบอนุญาตขึ้นทะเบียนสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน [1],[18]
6 หนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน ที่ออกโดยผู้ดำเนินการฝึกอบรมต้องมีรายละเอียด ได้แก่ ชื่อ และรหัสทะเบียนของผู้ดำเนินการฝึกอบรม เลขที่หนังสือรับรอง ชื่อ นามสกุล และเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ผ่านเกณฑ์การอบรม ชื่อหลักสูตรที่ผ่านการอบรม และวันที่อบรม โดยลงนามรับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามของผู้ดำเนินการฝึกอบรม และอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย [1],[17]
7 หลักสูตรการฝึกอบรมจำนวน 4 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรคนงานควบคุมก๊าซในโรงงานผลิต ส่ง จำหน่าย หรือบรรจุก๊าซ สำหรับโรงงาน, หลักสูตรคนงานควบคุมก๊าซในโรงงานใช้หรือเก็บก๊าซ สำหรับโรงงาน, หลักสูตรคนงานส่งก๊าซ, และหลักสูตรคนงานบรรจุก๊าซ โดยให้มีรายละเอียดภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติและระยะเวลาการฝึกอบรมเป็นไปที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบของหลักสูตร และผ่านการประเมินผลโดยสอบได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละหกสิบ และผู้ที่ผ่านเกณฑ์การฝึกอบรมจะได้รับหนังสือรับรองจากผู้ดำเนินการฝึกอบรมโดยมีรายละเอียดตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด [1],[20],[15]
8 กฎหมายกำหนดลักษณะอาคารที่ใช้บรรจุก๊าซ ได้แก่ อาคารที่ใช้บรรจุก๊าซลงในท่อบรรจุก๊าซต้องเป็นอาคารชั้นเดียว ทำด้วยวัสดุที่ไม่ติดไฟ พื้นต้องแข็งแรง เรียบ และผิวพื้นต้องทำด้วยวัสดุชนิดที่ทำให้เกิดประกายไฟจากการเสียดสีได้ยาก ระดับพื้นของสถานที่บรรจุก๊าซ ต้องยกสูงกว่าพื้นภายนอกอย่างน้อย 80 เซนติเมตรใต้พื้นต้องเปิดโล่งทุกด้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และห้ามเก็บสิ่งใด ๆ ไว้ใต้พื้นนั้น และอาคารที่มีการบรรจุหรือจัดเก็บก๊าซไวไฟ ระบบไฟฟ้าในอาคารต้องเป็นชนิดป้องกันการเกิดประกายไฟ (Explosion Proof) หรือระบบไฟฟ้าที่เหมาะสมกับชนิดของก๊าซ [1],[13]
9 กฎหมายกำหนดลักษณะของภาชนะบรรจุก๊าซที่นำมาใช้ในการบรรจุก๊าซ เช่น ภาชนะบรรจุก๊าซใหม่ ต้องเป็นภาชนะบรรจุที่ได้รับการออกแบบ ใช้วัสดุ คำนวณ สร้าง ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย และทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น [1],[13]
10 กฎหมายกำหนดลักษณะของระบบบรรจุก๊าซ (Filling System) เช่น ราวบรรจุก๊าซ หรือราวอัดก๊าซ (Filling Manifold) ต้องได้รับการออกแบบ ใช้วัสดุสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย เครื่องวัด และการตรวจทดสอบสภาพของราวอัดตามหลักวิศวกรรมหรือมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยมีเอกสารรับรองจากวิศวกรผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม พร้อมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ เป็นต้น [1],[13]
11 กฎหมายกำหนดลักษณะของลิ้นภาชนะบรรจุก๊าซ และข้อต่อ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมลิ้นภาชนะบรรจุก๊าซ ในกรณีที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยังมิได้มีการกำหนดไว้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดสากล [1],[13]
12 กฎหมายกำหนดการใช้สีและสัญลักษณ์ และเครื่องหมายของภาชนะบรรจุก๊าซต้องแยกตามการนำไปใช้งาน เช่น ท่อบรรจุก๊าซที่นำมาใช้ในการบรรจุก๊าซที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม ต้องทำสีและสัญลักษณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสีและสัญลักษณ์ สำหรับภาชนะบรรจุก๊าซที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม เป็นต้น [1],[13]
13 การขนส่งท่อบรรจุก๊าซไวไฟต้องจัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงเพื่อใช้ดับเพลิงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งได้อย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ [1],[13]
14 การขนส่งท่อบรรจุก๊าซบนรถขนส่งท่อบรรจุก๊าซต้องขนส่งในลักษณะที่ท่อบรรจุก๊าซวางอยู่ในแนวตั้ง (Vertical) และต้องมีสายรัดท่อบรรจุก๊าซหรือวิธีการอย่างอื่นเพื่อยึดให้ท่อบรรจุก๊าซวางอยู่ในแนวตั้งได้อย่างมั่นคงแข็งแรงในระหว่างขนส่งท่อบรรจุก๊าซ [1],[13]
15 การนำท่อบรรจุก๊าซลงจากรถขนส่งสู่พื้นต้องจัดให้มีวิธีการนำท่อบรรจุก๊าซลงจากรถขนส่งท่อบรรจุก๊าซอย่างปลอดภัย ห้ามมิให้นำลงสู่พื้นในลักษณะตกกระแทก [1],[13]
16 การตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซ ตามประกาศฉบับนี้ต้องกระทำโดยหน่วยตรวจสอบที่ได้รับการรับรองให้เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมว่าด้วยข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ หรือที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบให้เป็นหน่วยตรวจสอบ [1],[13]
17 สถานที่ใช้ก๊าซที่มีการเก็บ ใช้ หรือจำหน่ายนํ้ามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง กฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว [2],[3],[4],[5],[10]
18 การออกแบบที่เกี่ยวกับสถานที่ใช้ก๊าซต้องกระทำโดยวิศวกรออกแบบ การทดสอบและตรวจสอบต้องกระทำโดยวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ การให้การฝึกอบรมต้องกระทำโดยวิทยากรฝึกอบรมและการใช้ก๊าซต้องกระทำโดยผู้ปฏิบัติงาน [2],[3],[4],[5],[10]
19 สถานีควบคุม เครื่องสูบอัดก๊าซ และถังเก็บและจ่ายก๊าซ ต้องมีระยะควบคุมความปลอดภัยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือมาตรฐานสากลที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน [2],[3],[4],[5],[10]
20 สถานีควบคุมต้องติดตั้งอุปกรณ์เป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซโดยเฉพาะและเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด และด้านใดของสถานีควบคุมที่ยานพาหนะอาจเข้าไปถึงได้ต้องจัดให้มีเสากันภัยที่มีความมั่นคงแข็งแรงทุกระยะ 1.5 เมตร หรือราวเหล็ก (Guard Rail) ไว้ป้องกันโดยมีระยะห่างจากเขตสถานีควบคุมไม่น้อยกว่า 1 เมตร [2],[3],[4],[5],[10]
21 ถังเก็บและจ่ายก๊าซต้องมีลักษณะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และวิธีการ ตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
22 เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซ ลิ้น ตลอดจนอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบท่อ อุปกรณ์ปรับความดันและอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัด มาตรวัดความดัน อุณหภูมิ และอัตราการไหลของก๊าซ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซโดยเฉพาะ และออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพความดันและอุณหภูมิที่ใช้งานปกติ โดยต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความดันก๊าซเกินพิกัดที่เครื่องสูบอัดและท่อที่ต่อกับเครื่องสูบอัดด้วย หรือให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
23 การก่อสร้างและการติดตั้งสถานีควบคุม ภาชนะบรรจุก๊าซ เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ก๊าซ ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด ทั้งนี้อาคารสถานีควบคุมต้องเป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ หากมีฝาหรือผนัง ฝาหรือผนังต้องทำด้วยวัสดุทนไฟและมีช่องระบายอากาศ และต้องเปิดโล่งอย่างน้อยหนึ่งด้านส่วนหลังคาคลุมต้องออกแบบให้มีการฟุ้งกระจายของก๊าซได้สะดวก [2],[3],[4],[5],[10]
24 การทดสอบและตรวจสอบ สถานีควบคุม ภาชนะบรรจุก๊าซ เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ก๊าซ ก่อนการใช้งาน หรือครบวาระ หรือที่ได้รับความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
25 การป้องกันและระงับอัคคีภัยให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
26 ผู้ใช้ก๊าซ ณ สถานที่ใช้ก๊าซที่มีความประสงค์จะเลิกการใช้ก๊าซ จะต้องแจ้งให้กรมธุรกิจพลังงานหรือหน่วยงานที่กรมธุรกิจพลังงานมอบหมายทราบภายในสามสิบวัน นับจากวันที่เลิกใช้เพื่อที่กรมธุรกิจพลังงานจะได้ดำเนินการตรวจสอบ โดยมีวิธีการและข้อกำหนดในการตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [2],[3],[4],[5],[10]
27 แผนที่สังเขปของสถานที่ใช้ก๊าซ ต้องแสดงตำแหน่งของสถานที่ใช้ก๊าซ พร้อมสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่สำคัญ โดยรอบเขตสถานที่ใช้ก๊าซในรัศมีไม่น้อยกว่า 200 เมตร โดยแผนที่ดังกล่าว ต้องแสดงตำแหน่งที่สามารถทราบถึงบริเวณสถานที่ตั้งของสถานที่ใช้ก๊าซอย่างชัดเจน [2],[3],[4],[5],[10]
28 ผู้ประกอบกิจการต้องแสดงหลักฐานหรือรายการคำนวณตามหลักวิศวกรรม โดยคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย และระบบการใช้งานของอาคารสถานีควบคุม ถังเก็บและจ่ายก๊าซ เครื่องสูบอัดก๊าซ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์เครื่องมือ [2],[3],[4],[5],[10]
29 ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซต้องที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดยื่นคำขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ หรือคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พร้อมเอกสารหลักฐาน ต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบจะออกหนังสืออนุญาตให้ขึ้นทะเบียนให้ไว้เป็นหลักฐาน [1],[2],[21]
30 คนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุทะเบียนต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันที่อายุการขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง [1],[2],[21]
31 ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องมีเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำเครื่องหมายแสดงไว้ในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้าย หรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ [8]
32 ผู้ประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องปิดประกาศฉบับนี้และรายละเอียดข้อห้ามปฏิบัติในบริเวณเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 พร้อมด้วยประกาศเขตระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติ ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ของโครงการดังกล่าวไว้ ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอแห่งท้องที่ที่ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อนั้นตั้งอยู่ [8]
33 การติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน [9]
34 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ของโรงงาน ที่ใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง [3],[4],[5],[14]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
3 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
4 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
5 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
6 กฎกระทรวง กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ เก็บ ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
7 กฎกระทรวง กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการใช้ เก็บ ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2549
8 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อและเครื่องหมายแสดงเขต พ.ศ. 2559
9 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการติดตั้งป้าย หรือเครื่องหมายเตือนแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2559
10 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2550
11 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2546
12 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานที่เกี่ยวกับการผลิต การเก็บ การบรรจุ การใช้ และการขนส่งก๊าซ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
13 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานที่เกี่ยวกับการผลิต การเก็บ การบรรจุ การใช้ และการขนส่งก๊าซ พ.ศ. 2548
14 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง รถฟอร์คลิฟท์ (Forklift) ที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2545
15 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การฝึกอบรม การออกหนังสือรับรองและการขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุม ส่งและบรรจุก๊าซประจำโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
16 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ การฝึกอบรม การออกหนังสือรับรองและการขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุม ส่งและบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2549
17 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2553
18 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซ พ.ศ. 2550
19 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบให้เป็นหน่วยตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซ พ.ศ. 2550
20 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2553
21 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2551
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 คำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซ (แบบ สภ.1-13)
2 ใบอนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซ (แบบ สภ.1-14)
3 คำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซ (แบบ สภ.1-15)
4 ใบอนุญาตต่ออายุการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับก๊าซ (แบบ สภ.1-16)
5 แบบคำขอขึ้นทะเบียน/ต่ออายุทะเบียน เป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซหรือคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงาน (แบบ สภ.1-17)