3.1.2.8 ห้องเย็น

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 2 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ผลิตหรือสร้างเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในระบบทำความเย็น ต้องจัดให้มีการออกแบบและการผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับกันตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการติดตั้งระบบทำความเย็นต้องจัดทำและส่งรายงานข้อมูลการติดตั้ง การตรวจสอบและทดสอบหลังการติดตั้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการติดตั้ง ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้ระบบทำ ความเย็นต้องจัดทำ และดำ เนินการตามแผนการบำรุงรักษาระบบทำความเย็น รวมถึงอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ [1],[2]
4 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำและส่งรายงานผลการดำเนินการซ่อมแซมและดัดแปลง และผลการตรวจสอบและทดสอบหลังจากที่ได้ซ่อมแซมและดัดแปลงระบบทำความเย็นให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ทราบก่อนการใช้งานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้ระบบทำความเย็นต้องจัดให้มีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อตรวจสอบและทดสอบการใช้งานระบบทำความเย็นให้มีความปลอดภัยอยู่เสมออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดทำและส่งรายงานผลการตรวจสอบและทดสอบความปลอดภัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ที่โรงงานตั้งอยู่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทำการตรวจสอบหรือทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้ระบบทำความเย็นต้องจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลการทำงานประจำระบบทำความเย็น โดยผู้ควบคุมดังกล่าวต้องมีคุณวุฒิได้รับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงด้านช่างอุตสาหกรรมที่มีหน่วยการศึกษาด้านระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ หรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบทำความเย็นจากกระทรวงอุตสาหกรรมหรือสถาบันอื่น ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบ และเป็นคนงานประจำโรงงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
7 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำแผนฉุกเฉินในกรณีแอมโมเนียรั่วไหลและต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลรวมถึงอุปกรณ์ในการระงับอุบัติภัยที่เหมาะสม เก็บไว้ในที่ที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวกและต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ และต้องจัดให้มีที่ชำระล้างแอมโมเนีย ได้แก่ ที่ล้างตาฉุกเฉินและฝักบัวล้างตัวฉุกเฉิน หรืออุปกรณ์อื่นที่เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรประจำโรงงานสามารถใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน [1],[2]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 2 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ผลิตหรือสร้างเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในระบบทำความเย็น ต้องจัดให้มีการออกแบบและการผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับกันตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการติดตั้งระบบทำความเย็นต้องจัดทำและส่งรายงานข้อมูลการติดตั้ง การตรวจสอบและทดสอบหลังการติดตั้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการติดตั้ง ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้ระบบทำ ความเย็นต้องจัดทำ และดำ เนินการตามแผนการบำรุงรักษาระบบทำความเย็น รวมถึงอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ [1],[2]
4 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำและส่งรายงานผลการดำเนินการซ่อมแซมและดัดแปลง และผลการตรวจสอบและทดสอบหลังจากที่ได้ซ่อมแซมและดัดแปลงระบบทำความเย็นให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ทราบก่อนการใช้งานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้ระบบทำความเย็นต้องจัดให้มีวิศวกรที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อตรวจสอบและทดสอบการใช้งานระบบทำความเย็นให้มีความปลอดภัยอยู่เสมออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดทำและส่งรายงานผลการตรวจสอบและทดสอบความปลอดภัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ที่โรงงานตั้งอยู่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทำการตรวจสอบหรือทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ใช้ระบบทำความเย็นต้องจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลการทำงานประจำระบบทำความเย็น โดยผู้ควบคุมดังกล่าวต้องมีคุณวุฒิได้รับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงด้านช่างอุตสาหกรรมที่มีหน่วยการศึกษาด้านระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ หรือช่างผู้ชำนาญงานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบทำความเย็นจากกระทรวงอุตสาหกรรมหรือสถาบันอื่น ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเห็นชอบ และเป็นคนงานประจำโรงงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[2]
7 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำแผนฉุกเฉินในกรณีแอมโมเนียรั่วไหลและต้องจัดให้มีการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลรวมถึงอุปกรณ์ในการระงับอุบัติภัยที่เหมาะสม เก็บไว้ในที่ที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวกและต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ และต้องจัดให้มีที่ชำระล้างแอมโมเนีย ได้แก่ ที่ล้างตาฉุกเฉินและฝักบัวล้างตัวฉุกเฉิน หรืออุปกรณ์อื่นที่เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรประจำโรงงานสามารถใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน [1],[2]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นในโรงงาน พ.ศ. 2554
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม