3.1.2.9 พื้นที่อับอากาศ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 4 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำป้ายแจ้งข้อความว่า “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ให้มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจน ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยบริเวณทางเข้าออกของที่อับอากาศทุกแห่ง [1],[2]
2 ห้ามผู้ประกอบกิจการโรงงานให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการโรงงานได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฎหมายกำหนดแล้ว และลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตและเป็นผู้ผ่านการอบรมแล้ว [1],[2]
3 ห้ามผู้ประกอบกิจการโรงงานอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ หากผู้ประกอบกิจการโรงงานรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว [1],[2]
4 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศว่ามีบรรยากาศอันตรายหรือไม่ โดยให้ดำเนินการทั้งก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ [1],[2]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามกฎหมายกำหนด คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็นเป็นผู้ช่วยเหลือ พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน คอยเฝ้าดูแลบริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในที่อับอากาศได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศ [1],[2]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานตามมาตรฐานที่ประกาศกำหนด และต้องควบคุมดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในที่อับอากาศและผู้ช่วยเหลือสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตนั้น [1],[2]
7 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้นมิให้บุคคลใดเข้าหรือตกลงไปในที่อับอากาศที่มีลักษณะเป็นช่อง โพรง หลุม ถังเปิด หรือที่มีลักษณะคล้ายกัน และปิด กั้น หรือกระทำโดยวิธีการอื่นใดที่มีผลในการป้องกันมิให้พลังงานสาร หรือสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่บริเวณที่อับอากาศในระหว่างที่ลูกจ้างกำลังทำงาน [1],[2]
8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดบริเวณทางเดินหรือทางเข้าออกที่อับอากาศให้มีความสะดวกและปลอดภัย และประกาศห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ หรือพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้าไปในที่อับอากาศปิดไว้บริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศ [1],[2]
9 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในที่อับอากาศ และตรวจสอบให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นมีสภาพสมบูรณ์และปลอดภัยพร้อมใช้งาน ถ้าที่อับอากาศนั้นมีบรรยากาศที่ไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดที่สามารถป้องกันมิให้ติดไฟหรือระเบิดได้ และจัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพและจำนวนเพียงพอที่จะใช้ได้ทันทีเมื่อมีการทำงานที่อาจก่อให้เกิดการลุกไหม้ [1],[2]
10 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน [1],[2]
11 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศ [1],[3],[4]
12 ผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้อง ฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกินสามสิบคน และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน [1],[3],[4]
13 ในการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง และได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน [1],[3],[4]
14 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ และหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาตฯ ต้องมีภาคทฤษฎี หัวข้อวิชาพื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมหกชั่วโมง [1],[3],[4]
15 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน,หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ, ต้องมีภาคทฤษฎี ต้องมีหัวข้อวิชาตามที่กฎหมายระบุ และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมเก้าชั่วโมง [1],[3],[4]
16 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ ต้องมีภาคทฤษฎี ต้องมีหัวข้อวิชาตามที่กฎหมายระบุ และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบชั่วโมง [1],[3],[4]
17 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ต้องมีภาคทฤษฎี ต้องมีหัวข้อวิชาตามที่กฎหมายระบุ และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบเอ็ดชั่วโมง [1],[3],[4]
18 กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของวิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตรต่างที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อับอากาศ [1],[3],[4]
19 กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของหน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัย ในการทำงานในที่อับอากาศ และให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศยื่นคำขอพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย [1],[3],[4]
20 การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่ อับอากาศให้มีอายุคราวละสามปีนับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน และหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันที่การขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง [1],[3],[4]
21 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรมพร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา และจัดทำรายงานผลการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร วันและเวลาที่ฝึกอบรม แจ้งต่ออธิบดีหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ในปีนั้นไม่ได้มีการฝึกอบรม [1],[3],[4]
22 หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และเอกสารเกี่ยวกับการประเมินผลการฝึกอบรมแต่ละครั้ง โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดีหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม [1],[3],[4]
23 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการก่อสร้างอุโมงค์และการทำงานในอุโมงค์ [1],[5]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 4 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำป้ายแจ้งข้อความว่า “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ให้มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจน ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยบริเวณทางเข้าออกของที่อับอากาศทุกแห่ง [1],[2]
2 ห้ามผู้ประกอบกิจการโรงงานให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการโรงงานได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฎหมายกำหนดแล้ว และลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตและเป็นผู้ผ่านการอบรมแล้ว [1],[2]
3 ห้ามผู้ประกอบกิจการโรงงานอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ หากผู้ประกอบกิจการโรงงานรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว [1],[2]
4 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศว่ามีบรรยากาศอันตรายหรือไม่ โดยให้ดำเนินการทั้งก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ [1],[2]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามกฎหมายกำหนด คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็นเป็นผู้ช่วยเหลือ พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงาน คอยเฝ้าดูแลบริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในที่อับอากาศได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศ [1],[2]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานตามมาตรฐานที่ประกาศกำหนด และต้องควบคุมดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในที่อับอากาศและผู้ช่วยเหลือสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตนั้น [1],[2]
7 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้นมิให้บุคคลใดเข้าหรือตกลงไปในที่อับอากาศที่มีลักษณะเป็นช่อง โพรง หลุม ถังเปิด หรือที่มีลักษณะคล้ายกัน และปิด กั้น หรือกระทำโดยวิธีการอื่นใดที่มีผลในการป้องกันมิให้พลังงานสาร หรือสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่บริเวณที่อับอากาศในระหว่างที่ลูกจ้างกำลังทำงาน [1],[2]
8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดบริเวณทางเดินหรือทางเข้าออกที่อับอากาศให้มีความสะดวกและปลอดภัย และประกาศห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ หรือพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานเข้าไปในที่อับอากาศปิดไว้บริเวณทางเข้าออกที่อับอากาศ [1],[2]
9 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในที่อับอากาศ และตรวจสอบให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นมีสภาพสมบูรณ์และปลอดภัยพร้อมใช้งาน ถ้าที่อับอากาศนั้นมีบรรยากาศที่ไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดที่สามารถป้องกันมิให้ติดไฟหรือระเบิดได้ และจัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพและจำนวนเพียงพอที่จะใช้ได้ทันทีเมื่อมีการทำงานที่อาจก่อให้เกิดการลุกไหม้ [1],[2]
10 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน [1],[2]
11 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศ [1],[3],[4]
12 ผู้จัดฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้อง ฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกินสามสิบคน และวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน [1],[3],[4]
13 ในการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง และได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน [1],[3],[4]
14 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ และหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาตฯ ต้องมีภาคทฤษฎี หัวข้อวิชาพื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมหกชั่วโมง [1],[3],[4]
15 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน,หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ, ต้องมีภาคทฤษฎี ต้องมีหัวข้อวิชาตามที่กฎหมายระบุ และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมเก้าชั่วโมง [1],[3],[4]
16 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ ต้องมีภาคทฤษฎี ต้องมีหัวข้อวิชาตามที่กฎหมายระบุ และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบชั่วโมง [1],[3],[4]
17 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ต้องมีภาคทฤษฎี ต้องมีหัวข้อวิชาตามที่กฎหมายระบุ และระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบเอ็ดชั่วโมง [1],[3],[4]
18 กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของวิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมภาคทฤษฎีหลักสูตรต่างที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อับอากาศ [1],[3],[4]
19 กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของหน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัย ในการทำงานในที่อับอากาศ และให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศยื่นคำขอพร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย [1],[3],[4]
20 การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่ อับอากาศให้มีอายุคราวละสามปีนับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน และหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันที่การขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง [1],[3],[4]
21 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรมพร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา และจัดทำรายงานผลการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร วันและเวลาที่ฝึกอบรม แจ้งต่ออธิบดีหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ในปีนั้นไม่ได้มีการฝึกอบรม [1],[3],[4]
22 หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และเอกสารเกี่ยวกับการประเมินผลการฝึกอบรมแต่ละครั้ง โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดีหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม [1],[3],[4]
23 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการก่อสร้างอุโมงค์และการทำงานในอุโมงค์ [1],[5]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
2 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547
3 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549
4 คำชี้แจงกระทรวงแรงงาน เรื่อง กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547
5 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการก่อสร้างอุโมงค์และการทำงานในอุโมงค์ พ.ศ. 2553
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม