3.1.3.3 บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 12 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมีและว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ได้แก่ บัญชี 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 69 คลอโรฟีนอล (chlorophenol) [1],[2],[3],[5]
5 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 198 ไดโครโตฟอส (dicrotophos) และลำดับที่ 639 อีพีเอ็น (EPN) หรือ ออร์โท-เอทิลออร์โท-4-ไนโตรฟีนิลฟีนิลฟอสโฟโนไทโอเอต (O-ethyl O-4-nitrophenyl phenylphosphonothioate) บัญชี 1.2 รายชื่อกลุ่มสารควบคุม ลำดับที่ 1 คลอโรฟีนอล (chlorophenol) [1],[2],[3],[5]
6 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ บัญชี 4.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 164 เมโทมิล (methomyl) และลำดับที่ 194 อีพีเอ็น (EPN) หรือ เอทิลพารา-ไนโตรฟีนิล ฟีนิลฟอสโฟโรไทโอเอต (ethyl p-nitrophenyl phenylphosphorothioate) [1],[2],[3],[5]
7 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 78 คลอโรโซมาน: โอ-พินาโคลิล เมทิลฟอสโฟโนคลอริเดต (chlorosoman: O-Pinacolyl methylphosphonochloridate) ลำดับที่ 81 คลอโรพิคริน: ไตรคลอโรไนโตรมีเทน (chloropicrin: Trichloronitromethane) ลำดับที่ 148 โซเดียมเตตระบอเรตเพนตะไฮเดรต (sodium tetraborate pentahydrate) ลำดับที่ 159 ไซยาโนเจนคลอไรด์ (cyanogen chloride) ลำดับที่ 242 บีแซด: 3- ควินิวคลิดินิลเบนซิเลต (BZ: 3-quinuclidinyl benzilate) ลำดับที่ 296 ฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) หรือเมทานัล (methanal) ลำดับที่ 298 ฟอสจีน (phosgene) หรือคาร์บอนิลคลอไรด์ (carbonyl chloride) ลำดับที่ 306 ฟีนอล (phenol) และลำดับที่ 484 ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen cyanide) [1],[2],[3],[5]
8 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.4 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.4 กลุ่มสารอื่น ๆ ลำดับที่ 7 ไวต์ออยล์ (white oil) หรือรีไฟน์ปิโตรเลียมออยล์ (refined petroleum oil) [1],[2],[3],[5]
9 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.5กลุ่มอาวุธเคมี ลำดับที่ 6 อะมิทอน: โอ โอ-ไดเอทิล เอส-[2- (ไดเอทิลอะมิโน) เอทิล] ฟอสโฟโรไทโอเลตและเกลือของสารนี้ที่ถูกอัลคิลเลตและโปรโตเนต {amiton: O, O-Diethyl S-[2- (diethylamino) ethyl] phophorothiolate and corresponding alkylated or protonated salts} [1],[2],[3],[5]
10 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 487 ไดฟีนิลมีเทน-4,4'-ไดไอโซไซยาเนต (ซึ่งมีไอโซเมอร์อื่นผสมอยู่ด้วย) (diphenylmethane-4,4'-diisocyanate (with mixed isomers) และลำดับที่ 488 โพลีเมอริคไดฟีนิลมีเทนไดไอโซไซยาเนต (polymeric diphenylmethanediisocyanate) [1],[2],[3],[5]
11 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.4 กลุ่มสารอื่น ๆ ลำดับที่ 9 กลุ่มสารไอโซไซยาเนต หรือสารผสม (isocyanate mixed isomers or mixture) และลำดับที่ 10 เรซิน (resin) [1],[2],[3],[5]
12 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.5 กลุ่มอาวุธเคมี ลำดับที่ 13 ซัลเฟอร์มัสตาร์ด (sulfur mustards) ลำดับที่ 14 ลิวิไซด์ (lewisites) และลำดับที่ 15 ไนโตรเจนมัสตาร์ด (nitrogen mustards) [1],[2],[3],[5]
13 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.6 กลุ่มสารควบคุมตามคุณสมบัติ [1],[2],[3],[5]
14 วัตถุอันตรายตามรายชื่อต่อไปนี้เป็นวัตถุอันตรายที่กระบวนการผลิตและลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเป็นที่ทราบกันแน่ชัดโดยทั่วไป ได้แก่ AMMONIUM HYDROXIDE >10%, HYDROCHLORIC ACID >15%, SULFURIC ACID>50% [1],[2],[3],[6]
15 กฎหมายกำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายโดยให้ระบุวัตถุอันตรายหรือที่มีชื่ออื่น แต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันและวัตถุที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายเป็นวัตถุอันตราย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีความเข้มข้นเพียงใดหรือนำไปใช้เพื่อการใด เว้นแต่จะมีการระบุความเข้มข้นหรือเงื่อนไขไว้เป็นการเฉพาะ [1],[2],[3],[4],[13]
16 บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแบ่งวัตถุอันตรายตามข้อ 2 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4 และกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 [1],[2],[3],[4]
17 กฎหมายกำหนดการตรวจเอกสารข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายพร้อมเอกสาร และหลักฐานประกอบให้ดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องส่งต้นฉบับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนหรือใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตราย ประกอบการขึ้นทะเบียน ในกรณีใช้สำเนาแทนต้นฉบับ สำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย หรือสำเนาใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตรายต้องผ่านการรับรองจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งกฎหมายว่าด้วย การขึ้นทะเบียน วัตถุอันตรายของประเทศที่เป็นแหล่งผลิตกำหนดเป็นผู้มีอำนาจรับรอง และเอกสารอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[10],[11],[12]
18 กฎหมายกำหนดสารเคมีที่กรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบให้เป็นสารเคมีที่ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[9]
19 กฎหมายกำหนดแบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย [1],[2],[3],[7]
20 กฎหมายกำหนดบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายรวมทั้งสารเคมีที่มีชื่ออื่นแต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกัน (Synonym) ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 [1],[2],[3],[8]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 12 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมีและว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ได้แก่ บัญชี 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 69 คลอโรฟีนอล (chlorophenol) [1],[2],[3],[5]
5 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 198 ไดโครโตฟอส (dicrotophos) และลำดับที่ 639 อีพีเอ็น (EPN) หรือ ออร์โท-เอทิลออร์โท-4-ไนโตรฟีนิลฟีนิลฟอสโฟโนไทโอเอต (O-ethyl O-4-nitrophenyl phenylphosphonothioate) บัญชี 1.2 รายชื่อกลุ่มสารควบคุม ลำดับที่ 1 คลอโรฟีนอล (chlorophenol) [1],[2],[3],[5]
6 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ บัญชี 4.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 164 เมโทมิล (methomyl) และลำดับที่ 194 อีพีเอ็น (EPN) หรือ เอทิลพารา-ไนโตรฟีนิล ฟีนิลฟอสโฟโรไทโอเอต (ethyl p-nitrophenyl phenylphosphorothioate) [1],[2],[3],[5]
7 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 78 คลอโรโซมาน: โอ-พินาโคลิล เมทิลฟอสโฟโนคลอริเดต (chlorosoman: O-Pinacolyl methylphosphonochloridate) ลำดับที่ 81 คลอโรพิคริน: ไตรคลอโรไนโตรมีเทน (chloropicrin: Trichloronitromethane) ลำดับที่ 148 โซเดียมเตตระบอเรตเพนตะไฮเดรต (sodium tetraborate pentahydrate) ลำดับที่ 159 ไซยาโนเจนคลอไรด์ (cyanogen chloride) ลำดับที่ 242 บีแซด: 3- ควินิวคลิดินิลเบนซิเลต (BZ: 3-quinuclidinyl benzilate) ลำดับที่ 296 ฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) หรือเมทานัล (methanal) ลำดับที่ 298 ฟอสจีน (phosgene) หรือคาร์บอนิลคลอไรด์ (carbonyl chloride) ลำดับที่ 306 ฟีนอล (phenol) และลำดับที่ 484 ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen cyanide) [1],[2],[3],[5]
8 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.4 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.4 กลุ่มสารอื่น ๆ ลำดับที่ 7 ไวต์ออยล์ (white oil) หรือรีไฟน์ปิโตรเลียมออยล์ (refined petroleum oil) [1],[2],[3],[5]
9 แก้ไขรายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.5กลุ่มอาวุธเคมี ลำดับที่ 6 อะมิทอน: โอ โอ-ไดเอทิล เอส-[2- (ไดเอทิลอะมิโน) เอทิล] ฟอสโฟโรไทโอเลตและเกลือของสารนี้ที่ถูกอัลคิลเลตและโปรโตเนต {amiton: O, O-Diethyl S-[2- (diethylamino) ethyl] phophorothiolate and corresponding alkylated or protonated salts} [1],[2],[3],[5]
10 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 487 ไดฟีนิลมีเทน-4,4'-ไดไอโซไซยาเนต (ซึ่งมีไอโซเมอร์อื่นผสมอยู่ด้วย) (diphenylmethane-4,4'-diisocyanate (with mixed isomers) และลำดับที่ 488 โพลีเมอริคไดฟีนิลมีเทนไดไอโซไซยาเนต (polymeric diphenylmethanediisocyanate) [1],[2],[3],[5]
11 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.4 กลุ่มสารอื่น ๆ ลำดับที่ 9 กลุ่มสารไอโซไซยาเนต หรือสารผสม (isocyanate mixed isomers or mixture) และลำดับที่ 10 เรซิน (resin) [1],[2],[3],[5]
12 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.5 กลุ่มอาวุธเคมี ลำดับที่ 13 ซัลเฟอร์มัสตาร์ด (sulfur mustards) ลำดับที่ 14 ลิวิไซด์ (lewisites) และลำดับที่ 15 ไนโตรเจนมัสตาร์ด (nitrogen mustards) [1],[2],[3],[5]
13 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตรายตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายบัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.6 กลุ่มสารควบคุมตามคุณสมบัติ [1],[2],[3],[5]
14 วัตถุอันตรายตามรายชื่อต่อไปนี้เป็นวัตถุอันตรายที่กระบวนการผลิตและลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเป็นที่ทราบกันแน่ชัดโดยทั่วไป ได้แก่ AMMONIUM HYDROXIDE >10%, HYDROCHLORIC ACID >15%, SULFURIC ACID>50% [1],[2],[3],[6]
15 กฎหมายกำหนดบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายโดยให้ระบุวัตถุอันตรายหรือที่มีชื่ออื่น แต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันและวัตถุที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายเป็นวัตถุอันตราย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีความเข้มข้นเพียงใดหรือนำไปใช้เพื่อการใด เว้นแต่จะมีการระบุความเข้มข้นหรือเงื่อนไขไว้เป็นการเฉพาะ [1],[2],[3],[4],[13]
16 บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแบ่งวัตถุอันตรายตามข้อ 2 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4 และกำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 [1],[2],[3],[4]
17 กฎหมายกำหนดการตรวจเอกสารข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายพร้อมเอกสาร และหลักฐานประกอบให้ดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องส่งต้นฉบับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนหรือใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตราย ประกอบการขึ้นทะเบียน ในกรณีใช้สำเนาแทนต้นฉบับ สำเนาใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย หรือสำเนาใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตรายต้องผ่านการรับรองจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งกฎหมายว่าด้วย การขึ้นทะเบียน วัตถุอันตรายของประเทศที่เป็นแหล่งผลิตกำหนดเป็นผู้มีอำนาจรับรอง และเอกสารอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[10],[11],[12]
18 กฎหมายกำหนดสารเคมีที่กรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบให้เป็นสารเคมีที่ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[9]
19 กฎหมายกำหนดแบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย [1],[2],[3],[7]
20 กฎหมายกำหนดบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายรวมทั้งสารเคมีที่มีชื่ออื่นแต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกัน (Synonym) ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 [1],[2],[3],[8]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
3 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
4 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556
5 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
6 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดรายชื่อของวัตถุอันตรายที่กระบวนการผลิต และลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายเป็นที่ทราบกันแน่ชัดโดยทั่วไป พ.ศ. 2543
7 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย
8 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย
9 ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กรมประมงเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
10 ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจเอกสารข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554
11 ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจเอกสารข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554
12 ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการตรวจเอกสารข้อมูลประกอบการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ พ.ศ. 2553
13 ประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย (แบบ สอ.1)