3.1.3.5 การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 12 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 "เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536" [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้มีไว้ในครอบครอง และผู้ขนส่ง ซึ่งวัตถุอันตรายต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการขนส่งวัตถุอันตรายที่กำหนด ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
5 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายที่จะขนส่งต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
6 ผู้ขนส่งต้องจัดให้มียานพาหนะที่เหมาะสมและปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตราย จัดให้มีผู้ขับขี่ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารหลักฐาน จัดให้มีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงการบรรทุกวัตถุอันตราย ติดไว้บนยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง ทั้งนี้ป้ายหรือเครื่องหมายให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะ และอุปกรณ์สำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการหกหรือรั่วไหลของวัตถุอันตราย และจัดให้มีทะเบียนภาชนะบรรจุหรือสำเนาไว้ประจำยานพาหนะ [1],[2],[3],[6]
7 ผู้รับวัตถุอันตรายมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพของภาชนะบรรจุ ฉลาก ป้าย หรือเครื่องหมาย กำกับดูแลให้การเคลื่อนย้าย หรือการถ่ายเทวัตถุอันตรายออกจากภาชนะบรรจุเป็นไปด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง และจัดให้มีสถานที่เก็บวัตถุอันตรายที่เหมาะสมและปลอดภัย ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารกำกับการขนส่งวัตถุอันตราย แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่รับ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด [1],[2],[3],[6]
8 ผู้ขนส่งต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุ และการประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ชีวิต หรือทรัพย์สินที่เกิดจากการขนส่ง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ การขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุและการประกันความเสียหายให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
9 กฎหมายกำหนดรายละเอียด และหลักเกณฑ์ของการขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ [1],[2],[3],[7]
10 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของการให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิตหรือการนำเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายตามบัญชี 5.6 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ [1],[2],[3],[8]
11 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ [1],[2],[3],[9]
12 ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายในแท็งก์ติดตรึงถาวรกับตัวรถ (FIXED TANKS) แท็งก์ติดตรึงไม่ถาวรกับตัวรถ (DEMOUNTABLE TANKS) แท็งก์คอนเทนเนอร์ (TANK-CONTAINERS) แท็งก์สับเปลี่ยนได้ซึ่งผนังโครงสร้างทำด้วยโลหะ (TANK SWAP BODIES WITH SHELLS MADE OF METALLIC MATERIALS) รถติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซเรียงกันเป็นตับ (BATTERY-VEHICLES) แท็งก์พลาสติกเสริมไฟเบอร์ [ (FIBER-REINFORCED PLASTICS TANKS หรือ (FRP) ] และแท็งก์บรรจุของเสียที่ทำงานภายใต้สุญญากาศ (VACUUM OPERATED WASTE TANKS) ต้องมีการประกันภัยความเสียหายในการขนส่งวัตถุอันตรายนอกเหนือการทำประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย โดยต้องคุ้มครองภัยอันเป็นผลมาจากการรั่วไหล การระเบิด หรือการติดไฟของวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งทุกกรณี สำหรับขอบเขตการคุ้มครอง ให้เริ่มต้นตั้งแต่รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งวัตถุอันตรายเคลื่อนที่จนถึงที่หมาย [1],[2],[3],[10],[11]
13 ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายต้องแสดงต้นฉบับของกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรถ หรือพาหนะที่ใช้ในการขนส่งแต่ละคันพร้อมทั้งส่งมอบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีประกันภัยตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ และการชดใช้ค่าเสียหายตามประกาศนี้ ไม่ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ [1],[2],[3],[10],[11]
14 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ขนส่ง และผู้มีไว้ในครอบครองต้องนำแท็งก์ยึดติดถาวรกับตัวรถ (Fixed Tanks) ที่ใช้บรรจุวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบไปขอขึ้นทะเบียนแท็งก์ดังกล่าวที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม แท็งก์ที่ปรับปรุงสภาพแล้ว ก่อนนำไปใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม [1],[2],[3],[12],[13]
15 กฎหมายกำหนดประเภทผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ รายงานการขนส่งและรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง [1],[2],[3],[5]
16 ในการใช้รถทำการขนส่งผู้โดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภท การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 12 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 "เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536" [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้มีไว้ในครอบครอง และผู้ขนส่ง ซึ่งวัตถุอันตรายต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการขนส่งวัตถุอันตรายที่กำหนด ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
5 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายที่จะขนส่งต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
6 ผู้ขนส่งต้องจัดให้มียานพาหนะที่เหมาะสมและปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตราย จัดให้มีผู้ขับขี่ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารหลักฐาน จัดให้มีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงการบรรทุกวัตถุอันตราย ติดไว้บนยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง ทั้งนี้ป้ายหรือเครื่องหมายให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะ และอุปกรณ์สำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการหกหรือรั่วไหลของวัตถุอันตราย และจัดให้มีทะเบียนภาชนะบรรจุหรือสำเนาไว้ประจำยานพาหนะ [1],[2],[3],[6]
7 ผู้รับวัตถุอันตรายมีหน้าที่ตรวจสอบสภาพของภาชนะบรรจุ ฉลาก ป้าย หรือเครื่องหมาย กำกับดูแลให้การเคลื่อนย้าย หรือการถ่ายเทวัตถุอันตรายออกจากภาชนะบรรจุเป็นไปด้วยความระมัดระวังและถูกต้อง และจัดให้มีสถานที่เก็บวัตถุอันตรายที่เหมาะสมและปลอดภัย ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารกำกับการขนส่งวัตถุอันตราย แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่รับ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด [1],[2],[3],[6]
8 ผู้ขนส่งต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุ และการประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ชีวิต หรือทรัพย์สินที่เกิดจากการขนส่ง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ การขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุและการประกันความเสียหายให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
9 กฎหมายกำหนดรายละเอียด และหลักเกณฑ์ของการขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ [1],[2],[3],[7]
10 กฎหมายกำหนดรายละเอียดของการให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิตหรือการนำเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายตามบัญชี 5.6 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ [1],[2],[3],[8]
11 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การนำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ [1],[2],[3],[9]
12 ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายในแท็งก์ติดตรึงถาวรกับตัวรถ (FIXED TANKS) แท็งก์ติดตรึงไม่ถาวรกับตัวรถ (DEMOUNTABLE TANKS) แท็งก์คอนเทนเนอร์ (TANK-CONTAINERS) แท็งก์สับเปลี่ยนได้ซึ่งผนังโครงสร้างทำด้วยโลหะ (TANK SWAP BODIES WITH SHELLS MADE OF METALLIC MATERIALS) รถติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซเรียงกันเป็นตับ (BATTERY-VEHICLES) แท็งก์พลาสติกเสริมไฟเบอร์ [ (FIBER-REINFORCED PLASTICS TANKS หรือ (FRP) ] และแท็งก์บรรจุของเสียที่ทำงานภายใต้สุญญากาศ (VACUUM OPERATED WASTE TANKS) ต้องมีการประกันภัยความเสียหายในการขนส่งวัตถุอันตรายนอกเหนือการทำประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย โดยต้องคุ้มครองภัยอันเป็นผลมาจากการรั่วไหล การระเบิด หรือการติดไฟของวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งทุกกรณี สำหรับขอบเขตการคุ้มครอง ให้เริ่มต้นตั้งแต่รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งวัตถุอันตรายเคลื่อนที่จนถึงที่หมาย [1],[2],[3],[10],[11]
13 ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายต้องแสดงต้นฉบับของกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรถ หรือพาหนะที่ใช้ในการขนส่งแต่ละคันพร้อมทั้งส่งมอบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีประกันภัยตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ และการชดใช้ค่าเสียหายตามประกาศนี้ ไม่ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ [1],[2],[3],[10],[11]
14 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ขนส่ง และผู้มีไว้ในครอบครองต้องนำแท็งก์ยึดติดถาวรกับตัวรถ (Fixed Tanks) ที่ใช้บรรจุวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบไปขอขึ้นทะเบียนแท็งก์ดังกล่าวที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม แท็งก์ที่ปรับปรุงสภาพแล้ว ก่อนนำไปใช้ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม [1],[2],[3],[12],[13]
15 กฎหมายกำหนดประเภทผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ รายงานการขนส่งและรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง [1],[2],[3],[5]
16 ในการใช้รถทำการขนส่งผู้โดยสาร ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประเภท การขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และการขนส่งระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
3 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
4 กฎกระทรวง ความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ. 2558
5 กฎกระทรวง การกำหนดประเภทผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งที่ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ รายงานการขนส่งและรายงานอุบัติเหตุที่เกิดจากการขนส่ง พ.ศ. 2559
6 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2558
7 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2558
8 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การให้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิตหรือการนำเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายตามบัญชี 5.6 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2558
9 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การนำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2556
10 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
11 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549
12 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2546
13 ประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 ใบแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิตหรือการนำเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายตามบัญชี 5.6 (วอ./อก.20)
2 หนังสือขออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (วอ./อก.12)
3 หนังสืออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (วอ./อก.13)
4 ใบแจ้งข้อเท็จจริงการนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (แบบ วอ./อก.14)
5 บัญชีการส่งมอบวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (แบบ วอ./อก.15)
6 หนังสือขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (วอ./อก.16)
7 หนังสืออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (วอ./อก.17)
8 แบบรายงานข้อมูลปริมาณการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (แบบ วอ./อก.18)
9 หนังสือขอต่ออายุอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ (วอ./อก.19)
10 คำขอขึ้นทะเบียนแท็งก์ยึดติดถาวรกับตัวถังรถ
11 ทะเบียนแท็งก์ยึดติดถาวรกับตัวรถ