3.1.3.6 ฉลากและระดับความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 7 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมีและว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 วัตถุอันตรายที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะต้องแสดงฉลากภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษไว้ที่หีบห่อบรรจุหรือภาชนะบรรจุ และฉลากจะต้องมีเครื่องหมายและข้อความ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
5 วัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศจะต้องแสดงฉลากไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุวัตถุอันตรายทุกชิ้น และฉลากดังกล่าวจะต้องมีเครื่องหมายและข้อความ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
6 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำแนกความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[6]
7 ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ต้องจัดให้มีแผ่นป้ายคำเตือน โดยแสดงรายละเอียดของข้อความ ไว้ที่อุปกรณ์การผลิตบริเวณที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบริเวณใกล้เคียง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[7]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 7 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมีและว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 วัตถุอันตรายที่นำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะต้องแสดงฉลากภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษไว้ที่หีบห่อบรรจุหรือภาชนะบรรจุ และฉลากจะต้องมีเครื่องหมายและข้อความ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
5 วัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศจะต้องแสดงฉลากไว้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุวัตถุอันตรายทุกชิ้น และฉลากดังกล่าวจะต้องมีเครื่องหมายและข้อความ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
6 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำแนกความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[6]
7 ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ต้องจัดให้มีแผ่นป้ายคำเตือน โดยแสดงรายละเอียดของข้อความ ไว้ที่อุปกรณ์การผลิตบริเวณที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบริเวณใกล้เคียง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[7]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
3 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
4 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากของวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2558
5 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
6 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากและระดับความเป็นพิษของวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
7 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การจัดให้มีแผ่นป้ายคำเตือน ไว้ที่อุปกรณ์การผลิต บริเวณที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบริเวณใกล้เคียง
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม