3.1.3.7 บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 8 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่ต้องมีบุคลากรเฉพาะประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย ได้แก่ (1) ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตราย ที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ปริมาณรวมตั้งแต่ 1,000 เมตริกตัน/ปี ขึ้นไป (2) ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่มีพื้นที่การเก็บรักษาวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป (3) ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่เป็นวัตถุไวไฟหรือวัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ [1],[2],[3],[4]
5 ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย (2) ต้องดำเนินการจัดหาบุคลากรเฉพาะแทนภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบว่าบุคลากรเฉพาะถูกยกเลิกหนังสือรับรองการจดทะเบียน เสียชีวิต ลาออก หรือทุพพลภาพ (3) ต้องดำเนินการให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามกฎหมายกำหนด (4) ต้องรายงานและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายทุก 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4]
6 บุคลากรเฉพาะมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ปฏิบัติงานให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (2) จัดทำแผนความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำปีเก็บไว้ ณ สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายสามารถให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายงานได้ตลอดเวลา (3) จัดทำและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย (4) ทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีที่เกิดอุบัติภัยจากสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย (5) หากบุคลากรเฉพาะไม่ประสงค์ทำหน้าที่หรือไม่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการวัตถุอันตรายให้รับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตรายต่อไป แล้วแต่กรณีต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันที่จะไม่ดำเนินการดังกล่าว (6) การจดทะเบียนเป็นบุคลากรเฉพาะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4]
7 กฎหมายกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายต้องมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะ การจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ และการรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[7]
8 ผู้มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้างต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (2) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานการจัดการแมลงและสัตว์อื่น ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (3) มีหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรและหน่วยงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด และต้องอบรมหลักสูตรต่อเนื่องความรู้ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง การจัดการแมลงและสัตว์อื่น ทุก 3 ปี ตามหลักสูตรและหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด [1],[2],[3],[6]
9 ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ควบคุมการปฏิบัติงานของบุคลากร เกี่ยวกับการจัดการแมลงและสัตว์อื่น ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันอันตรายอันจะเกิดแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือ สิ่งแวดล้อม (2) ควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
10 ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างที่ไม่ประสงค์จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม การใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างของสถานประกอบการแห่งนั้นต่อไป ต้องแจ้งให้หน่วยงานผู้รับแจ้ง หรือผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 7 วัน นับแต่วันที่จะไม่ทำหน้าที่ดังกล่าว [1],[2],[3],[6]
11 กรณีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง แจ้งความประสงค์จะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายต่อไป หรือตาย หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ให้ผู้แจ้งดำเนินการหรือผู้รับอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างของสถานที่นั้น จัดหา ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างแทนคนเดิม และแจ้งขอเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายต่อผู้รับแจ้ง หรือผู้อนุญาตภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างคนเดิมไม่ทำหน้าที่ต่อไป [1],[2],[3],[6]
12 หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร และหน่วยงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด และต้องอบรมหลักสูตรต่อเนื่อง ความรู้ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง การจัดการแมลงและสัตว์อื่นทุก 5 ปี ตามหลักสูตรและหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด [1],[2],[3],[5]
13 หลักสูตรอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ให้เป็นไปตามหลักสูตรผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง และหลักสูตรต่อเนื่องผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง [1],[2],[3],[8]
14 หน่วยงานจัดอบรมต้องมีคุณสมบัติและสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข (1) เป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่สามารถจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถให้การอบรมและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างได้ (2) เป็นหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้เป็นหน่วยงานจัดอบรม [1],[2],[3],[8]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 8 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายที่ต้องมีบุคลากรเฉพาะประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย ได้แก่ (1) ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกวัตถุอันตราย ที่มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ปริมาณรวมตั้งแต่ 1,000 เมตริกตัน/ปี ขึ้นไป (2) ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่มีพื้นที่การเก็บรักษาวัตถุอันตรายตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป (3) ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายที่เป็นวัตถุไวไฟหรือวัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ [1],[2],[3],[4]
5 ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ต้องจัดให้มีบุคลากรเฉพาะปฏิบัติงานประจำสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย (2) ต้องดำเนินการจัดหาบุคลากรเฉพาะแทนภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ทราบว่าบุคลากรเฉพาะถูกยกเลิกหนังสือรับรองการจดทะเบียน เสียชีวิต ลาออก หรือทุพพลภาพ (3) ต้องดำเนินการให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามกฎหมายกำหนด (4) ต้องรายงานและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายทุก 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4]
6 บุคลากรเฉพาะมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ปฏิบัติงานให้สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายมีความปลอดภัยตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 หรือตามหลักเกณฑ์นานาชาติโดยความเห็นชอบจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (2) จัดทำแผนความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำปีเก็บไว้ ณ สถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายสามารถให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายงานได้ตลอดเวลา (3) จัดทำและรับรองรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย (4) ทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีที่เกิดอุบัติภัยจากสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตราย (5) หากบุคลากรเฉพาะไม่ประสงค์ทำหน้าที่หรือไม่ได้รับมอบหมายจากผู้ประกอบการวัตถุอันตรายให้รับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตรายต่อไป แล้วแต่กรณีต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันที่จะไม่ดำเนินการดังกล่าว (6) การจดทะเบียนเป็นบุคลากรเฉพาะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4]
7 กฎหมายกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายต้องมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ทั้งนี้กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะ การจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ และการรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[7]
8 ผู้มีวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ไว้ในครอบครองเพื่อใช้รับจ้างต้องจัดให้มีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (2) มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานการจัดการแมลงและสัตว์อื่น ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุขไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า (3) มีหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบความรู้ตามหลักสูตรและหน่วยงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด และต้องอบรมหลักสูตรต่อเนื่องความรู้ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง การจัดการแมลงและสัตว์อื่น ทุก 3 ปี ตามหลักสูตรและหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด [1],[2],[3],[6]
9 ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ควบคุมการปฏิบัติงานของบุคลากร เกี่ยวกับการจัดการแมลงและสัตว์อื่น ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันอันตรายอันจะเกิดแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือ สิ่งแวดล้อม (2) ควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[6]
10 ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างที่ไม่ประสงค์จะทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม การใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างของสถานประกอบการแห่งนั้นต่อไป ต้องแจ้งให้หน่วยงานผู้รับแจ้ง หรือผู้อนุญาตทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 7 วัน นับแต่วันที่จะไม่ทำหน้าที่ดังกล่าว [1],[2],[3],[6]
11 กรณีผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง แจ้งความประสงค์จะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายต่อไป หรือตาย หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ให้ผู้แจ้งดำเนินการหรือผู้รับอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างของสถานที่นั้น จัดหา ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างแทนคนเดิม และแจ้งขอเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายต่อผู้รับแจ้ง หรือผู้อนุญาตภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างคนเดิมไม่ทำหน้าที่ต่อไป [1],[2],[3],[6]
12 หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบความรู้ตามหลักสูตร และหน่วยงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด และต้องอบรมหลักสูตรต่อเนื่อง ความรู้ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง การจัดการแมลงและสัตว์อื่นทุก 5 ปี ตามหลักสูตรและหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนด [1],[2],[3],[5]
13 หลักสูตรอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง ให้เป็นไปตามหลักสูตรผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง และหลักสูตรต่อเนื่องผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง [1],[2],[3],[8]
14 หน่วยงานจัดอบรมต้องมีคุณสมบัติและสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไข (1) เป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่สามารถจัดหาวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถให้การอบรมและทดสอบความรู้ตามหลักสูตรอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้างได้ (2) เป็นหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้เป็นหน่วยงานจัดอบรม [1],[2],[3],[8]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
3 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
4 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากรเฉพาะ รับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. 2551
5 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
6 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง พ.ศ. 2550
7 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะ การจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ และการรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย พ.ศ. 2551
8 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การกำหนดหลักสูตรอบรม และหน่วยงานจัดอบรมผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง พ.ศ. 2559
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 แบบการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (บฉ.1)
2 แบบคำขอจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (บฉ.2)
3 หนังสือรับรองการจดทะเบียนบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (บฉ.3)
4 รายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย (บฉ.4)
5 หนังสือรับรองการอบรมหลักสูตรต่อเนื่องผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง (แบบวอ./ผค.2)