3.1.3.8 น้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542
จำนวน 20 ฉบับ
1 พระราชบัญญัติฉบับนี้จะเกี่ยวข้องกับ
(1) กำหนดการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และการควบคุมอื่นใดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
(2) กำหนดที่ตั้ง แผนผัง รูปแบบ และลักษณะของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และการบำรุงรักษา
(3) กำหนดลักษณะของถังหรือภาชนะที่ใช้ในการบรรจุหรือขนส่ง และการบำรุงรักษาถังหรือภาชนะดังกล่าว
(4) กำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
(5) กำหนดวิธีการปฏิบัติงานและการจัดให้มีและบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ
(6) กำหนดการรับฟังความเห็นของประชาชนตามความเหมาะสมแก่กิจการในการดำเนินกิจการหรืออนุญาตให้ดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีผลกระทบต่อประชาชน
(7) กำหนดการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
[1]
2 "พระราชบัญญัติฉบับนี้แก้ไขนิยามและแก้ไขบางมาตราในพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 1" [2]
3 การเก็บน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซธรรมชาติ ตามประเภทและลักษณะของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เก็บในภาชนะบรรจุน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซธรรมชาติ ตามที่กำหนดที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[10]
4 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงนี้และได้รับบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[7],[24]
5 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอัคคีภัยหรือการระเบิดอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 [1],[2],[11]
6 การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมน้ำมัน ให้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
7 การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุม ก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหาย ไม่น้อยกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
8 การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมก๊าซธรรมชาติ ให้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพ ถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
9 ผู้รับใบอนุญาตที่ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถหรือที่สร้างเข้าไว้ด้วยกันกับตัวรถ นอกจากต้องจัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว ยังจะต้องจัดให้มีการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่มีความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยสาหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหาย ต้องไม่น้อยกว่า 500,000 บาท [1],[2],[11]
10 ในการประกันภัยสำหรับความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง ให้มีจำนวนเงินการชดใช้ต่อผู้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเงิน ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
11 "ให้มีกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองตลอดเวลาที่ประกอบกิจการควบคุม ประเภทที่ 3" [1],[2],[11]
12 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำสัญญาประกันภัยตามที่กำหนดในกฎหมายให้เสร็จสิ้น และให้จัดส่งสำเนาสัญญาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวให้กับผู้อนุญาตก่อนรับใบอนุญาต [1],[2],[11]
13 ผู้ได้รับความเสียหายที่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมายแล้วยังคงสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากผู้กระทำให้เกิดการละเมิดนั้นได้ แต่มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมจากวงเงินเอาประกันภัยที่ได้รับประกันไว้ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
14 การประกอบกิจการถังขนส่งน้ำมันประเภทรถขนส่งน้ำมัน คลังน้ำมัน สถานีบริการน้ำมัน ประเภท ก สถานีบริการน้ำมันประเภท ข สถานีบริการน้ำมันประเภท ค ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ำมันประเภท จ ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ำมัน ประเภท ฉ ระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ สถานที่เก็บรักษาน้ำมันลักษณะที่สาม ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถ คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจำหน่าย ลักษณะที่สอง สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บลักษณะที่สอง ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ คลังก๊าซธรรมชาติ สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคนตลอดระยะเวลาที่เปิดดำเนินการหรือทำการขนส่ง แล้วแต่กรณีการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ผู้รับใบอนุญาตแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับใบอนุญาตกี่ฉบับก็ตาม ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคน [1],[2],[20],[24]
15 กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง [1],[2],[19]
16 กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สำหรับสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ [1],[2],[12]
17 ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อจะต้องได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือได้รับความเห็นชอบรายงานด้านสิ่งแวดล้อมจากกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
18 เจ้าของโครงการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ โดยจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือรายงานด้านสิ่งแวดล้อม [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
19 การทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องดำเนินการโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบซึ่งมีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
20 ระยะควบคุมความปลอดภัยของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ASME B31.8 มาตรฐาน CSA Z662 มาตรฐาน EN 1555 มาตรฐาน EN 12007 หรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
21 อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในบริเวณอันตรายของสถานีจะต้องได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด หรือได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
22 แนวเขตสถานีต้องมีมาตรการความปลอดภัย และบริเวณอันตรายของสถานีให้กำหนดระยะโดยรอบจากแนวเขตสถานี ให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
23 วัสดุ อุปกรณ์ และการออกแบบก่อสร้างในระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ การเชื่อมบรรจบท่อเข้ากับท่อในระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีการใช้งานอยู่ การทดสอบความดันท่อและอุปกรณ์ในระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และมาตรการตรวจสอบและบำรุงรักษา ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
24 ท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่อยู่นอกเขตสถานีต้องวางอยู่ใต้พื้นดิน เว้นแต่ในพื้นที่ที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบให้วางอยู่เหนือพื้นดินได้ [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
25 สถานีต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบอย่างน้อยสองเครื่องไว้ ณ บริเวณที่มองเห็นและสามารถนำออกมาใช้ได้โดยง่าย [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
26 ห้ามทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเปลวไฟหรือประกายไฟภายในเขตสถานี เว้นแต่การปฏิบัติงานที่มีการควบคุมโดยผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
27 สถานีต้องจัดให้มีป้ายห้ามที่มีข้อความและสัญลักษณ์ ติดตั้งไว้ ณ บริเวณที่เห็นได้ง่าย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
28 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการเตรียมการระงับเหตุเพลิงไหม้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
29 แนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติต้องจัดให้มีป้าย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
30 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีระบบการตรวจประเมินด้านการจัดการความปลอดภัยของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่เป็นไปตามแผนประกันคุณภาพ [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
31 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดเก็บเอกสารและข้อมูลของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
32 สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[14]
33 สถานที่ตั้งของสถานที่ใช้ก๊าซต้องไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือ กฎหมายว่าด้วยโรงงาน [1],[2],[14]
34 สถานที่ใช้ก๊าซที่มีการเก็บ ใช้ หรือจำหน่ายนํ้ามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง กฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว [1],[2],[14]
35 การควบคุมกำกับดูแลของภาครัฐตามประกาศนี้เป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การออกแบบที่เกี่ยวกับสถานที่ใช้ก๊าซต้องกระทำโดยวิศวกรออกแบบ การทดสอบและตรวจสอบต้องกระทำโดยวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ การให้การฝึกอบรมต้องกระทำโดยวิทยากรฝึกอบรมและการใช้ก๊าซต้องกระทำโดยผู้ปฏิบัติงาน [1],[2],[14]
36 สถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[13]
37 โครงการที่มีความดันใช้งานสูงสุดน้อยกว่าหรือเท่ากับยี่สิบบาร์ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้อยกว่าหรือเท่ากับสิบหกนิ้ว ในทุกพื้นที่ยกเว้นพื้นที่ที่มีมติคณะรัฐมนตรีหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[18]
38 โครงการที่มีความดันใช้งานสูงสุดมากกว่ายี่สิบบาร์ขึ้นไป และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อมากกว่าสิบหกนิ้วขึ้นไป ในเขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[18]
39 รายงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ให้เจ้าของโครงการจัดทำและเสนอรายงานด้านสิ่งแวดล้อมใหม่และเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงานทุกครั้ง [1],[2],[18]
40 หากผลการศึกษาตามรายงานด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมมากกว่าในประมวลหลักการปฏิบัติงาน ท้ายประกาศนี้ เจ้าของโครงการจะต้องกำหนดมาตรการดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย [1],[2],[18]
41 ผู้มีสิทธิจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับใบรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ซึ่งคุณสมบัติและการสั่งพักใช้และการเพิกถอนใบรับรองของผู้มีสิทธิจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [1],[2],[18]
42 ให้จัดส่งรายงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขอความเห็นชอบต่อกรมธุรกิจพลังงาน จำนวนไม่น้อยกว่าสิบห้าชุด และเมื่อได้รับหนังสือแจ้งให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าของโครงการต้องจัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูลจำนวนห้าชุด ภายในหนึ่งเดือนนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ความเห็นชอบ [1],[2],[18]
43 แนวทางในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ ให้เป็นไปตามแนวทางตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[15]
44 ท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ไม่ถือเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ได้แก้ท่อแก๊สในสถานที่ดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ คลังก๊าซธรรมชาติและสถานที่ เก็บรักษาก๊าซธรรมชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (2) กิจการปิโตรเลียม ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (3) โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และ (4) โรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว [1],[2],[17],[28]
45 เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อชำรุดเสียหายจนเกิดก๊าซธรรมชาติรั่วไหลหรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งการเกิดอุบัติเหตุต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในทันทีที่ทราบเหตุ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 1 ชั่วโมง นับจากเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ และรายงานเบื้องต้นถึงสาเหตุ วิธีการระงับเหตุ ความเสียหาย จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งแผนการฟื้นฟูสภาพเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 3 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้น ให้เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนด และผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุ โดยรายงานดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ แนวทางป้องกันและแก้ไข ปริมาณความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และให้รายงานกรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน 60 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ แผนการฟื้นฟูสภาพ และมาตรการติดตามตรวจสอบ และแนวทางป้องกันและแก้ไขต้องมีขั้นตอนการดำเนินการไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือรายงานด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแผนการฟื้นฟูสภาพมาตรการติดตามตรวจสอบ แนวทางป้องกันและแก้ไขที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ [1],[2],[16]
46 การออกแบบ การเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งระบบไฟฟ้า และการติดตั้งระบบป้องกัน อันตรายจากฟ้าผ่า ให้เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าและมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าสำหรับ สิ่งปลูกสร้างของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) มาตรฐานของ National Fire Protection Association (NFPA) มาตรฐานของ International Electrotechnical Commission (IEC) หรือมาตรฐานอื่นที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [1],[2],[6],[25]
47 ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าตามกฎกระทรวงนี้ครอบคลุมเฉพาะระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าที่อยู่ในเขตสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน บริเวณที่มีการถ่ายเทน้ำมันภายในสถานที่ประกอบกิจการน้ำมันต้องทำการป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิต โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และการเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งระบบไฟฟ้า และการติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าให้ออกแบบและควบคุมโดยวิศวกรไฟฟ้าซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร [1],[2],[6],[25]
48 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่ต้องมีสำหรับสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ตัวอย่างเช่น การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงและระยะปลอดภัยภายใน ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง การป้องกันและระงับอัคคีภัย ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ เป็นต้น [1],[2],[4]
49 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่ต้องมีสำหรับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตัวอย่างเช่น ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ การป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นต้น [1],[2],[3]
50 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่ต้องมีสำหรับคลังน้ำมัน ตัวอย่างเช่น ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง ลักษณะและระยะปลอดภัยภายนอก ลักษณะและระยะปลอดภัยภายใน ถังเก็บน้ำมันและอุปกรณ์ ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ การป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นต้น [1],[2],[8]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542
จำนวน 20 ฉบับ
1 พระราชบัญญัติฉบับนี้จะเกี่ยวข้องกับ
(1) กำหนดการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และการควบคุมอื่นใดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง
(2) กำหนดที่ตั้ง แผนผัง รูปแบบ และลักษณะของสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และการบำรุงรักษา
(3) กำหนดลักษณะของถังหรือภาชนะที่ใช้ในการบรรจุหรือขนส่ง และการบำรุงรักษาถังหรือภาชนะดังกล่าว
(4) กำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
(5) กำหนดวิธีการปฏิบัติงานและการจัดให้มีและบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ
(6) กำหนดการรับฟังความเห็นของประชาชนตามความเหมาะสมแก่กิจการในการดำเนินกิจการหรืออนุญาตให้ดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีผลกระทบต่อประชาชน
(7) กำหนดการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
[1]
2 "พระราชบัญญัติฉบับนี้แก้ไขนิยามและแก้ไขบางมาตราในพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 1" [2]
3 การเก็บน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซธรรมชาติ ตามประเภทและลักษณะของกิจการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ให้เก็บในภาชนะบรรจุน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซธรรมชาติ ตามที่กำหนดที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[10]
4 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามกฎกระทรวงนี้และได้รับบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงานจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[7],[24]
5 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอัคคีภัยหรือการระเบิดอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 [1],[2],[11]
6 การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมน้ำมัน ให้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงหรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
7 การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุม ก๊าซปิโตรเลียมเหลวให้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหาย ไม่น้อยกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
8 การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมก๊าซธรรมชาติ ให้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพ ถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
9 ผู้รับใบอนุญาตที่ประกอบกิจการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงโดยถังขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถหรือที่สร้างเข้าไว้ด้วยกันกับตัวรถ นอกจากต้องจัดให้มีการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว ยังจะต้องจัดให้มีการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจที่มีความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยสาหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหาย ต้องไม่น้อยกว่า 500,000 บาท [1],[2],[11]
10 ในการประกันภัยสำหรับความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง ให้มีจำนวนเงินการชดใช้ต่อผู้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเงิน ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
11 "ให้มีกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองตลอดเวลาที่ประกอบกิจการควบคุม ประเภทที่ 3" [1],[2],[11]
12 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำสัญญาประกันภัยตามที่กำหนดในกฎหมายให้เสร็จสิ้น และให้จัดส่งสำเนาสัญญาประกันภัยและตารางกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวให้กับผู้อนุญาตก่อนรับใบอนุญาต [1],[2],[11]
13 ผู้ได้รับความเสียหายที่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมายแล้วยังคงสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากผู้กระทำให้เกิดการละเมิดนั้นได้ แต่มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมจากวงเงินเอาประกันภัยที่ได้รับประกันไว้ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[11]
14 การประกอบกิจการถังขนส่งน้ำมันประเภทรถขนส่งน้ำมัน คลังน้ำมัน สถานีบริการน้ำมัน ประเภท ก สถานีบริการน้ำมันประเภท ข สถานีบริการน้ำมันประเภท ค ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ำมันประเภท จ ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ำมัน ประเภท ฉ ระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ สถานที่เก็บรักษาน้ำมันลักษณะที่สาม ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถ คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจำหน่าย ลักษณะที่สอง สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บลักษณะที่สอง ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ คลังก๊าซธรรมชาติ สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคนตลอดระยะเวลาที่เปิดดำเนินการหรือทำการขนส่ง แล้วแต่กรณีการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ผู้รับใบอนุญาตแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับใบอนุญาตกี่ฉบับก็ตาม ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคน [1],[2],[20],[24]
15 กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง [1],[2],[19]
16 กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สำหรับสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ [1],[2],[12]
17 ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อจะต้องได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือได้รับความเห็นชอบรายงานด้านสิ่งแวดล้อมจากกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
18 เจ้าของโครงการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพและผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ โดยจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตามที่ระบุไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือรายงานด้านสิ่งแวดล้อม [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
19 การทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อต้องดำเนินการโดยผู้ทดสอบและตรวจสอบซึ่งมีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
20 ระยะควบคุมความปลอดภัยของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ASME B31.8 มาตรฐาน CSA Z662 มาตรฐาน EN 1555 มาตรฐาน EN 12007 หรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
21 อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในบริเวณอันตรายของสถานีจะต้องได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด หรือได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
22 แนวเขตสถานีต้องมีมาตรการความปลอดภัย และบริเวณอันตรายของสถานีให้กำหนดระยะโดยรอบจากแนวเขตสถานี ให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
23 วัสดุ อุปกรณ์ และการออกแบบก่อสร้างในระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ การเชื่อมบรรจบท่อเข้ากับท่อในระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่มีการใช้งานอยู่ การทดสอบความดันท่อและอุปกรณ์ในระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และมาตรการตรวจสอบและบำรุงรักษา ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
24 ท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่อยู่นอกเขตสถานีต้องวางอยู่ใต้พื้นดิน เว้นแต่ในพื้นที่ที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบให้วางอยู่เหนือพื้นดินได้ [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
25 สถานีต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม ที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบอย่างน้อยสองเครื่องไว้ ณ บริเวณที่มองเห็นและสามารถนำออกมาใช้ได้โดยง่าย [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
26 ห้ามทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเปลวไฟหรือประกายไฟภายในเขตสถานี เว้นแต่การปฏิบัติงานที่มีการควบคุมโดยผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
27 สถานีต้องจัดให้มีป้ายห้ามที่มีข้อความและสัญลักษณ์ ติดตั้งไว้ ณ บริเวณที่เห็นได้ง่าย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
28 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการเตรียมการระงับเหตุเพลิงไหม้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
29 แนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติต้องจัดให้มีป้าย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
30 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีระบบการตรวจประเมินด้านการจัดการความปลอดภัยของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่เป็นไปตามแผนประกันคุณภาพ [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
31 ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดเก็บเอกสารและข้อมูลของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[5], [21],[22], [23],[26],[27],[28]
32 สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[14]
33 สถานที่ตั้งของสถานที่ใช้ก๊าซต้องไม่ขัดต่อกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือ กฎหมายว่าด้วยโรงงาน [1],[2],[14]
34 สถานที่ใช้ก๊าซที่มีการเก็บ ใช้ หรือจำหน่ายนํ้ามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น กฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง กฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว [1],[2],[14]
35 การควบคุมกำกับดูแลของภาครัฐตามประกาศนี้เป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การออกแบบที่เกี่ยวกับสถานที่ใช้ก๊าซต้องกระทำโดยวิศวกรออกแบบ การทดสอบและตรวจสอบต้องกระทำโดยวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ การให้การฝึกอบรมต้องกระทำโดยวิทยากรฝึกอบรมและการใช้ก๊าซต้องกระทำโดยผู้ปฏิบัติงาน [1],[2],[14]
36 สถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในราชกิจจานุเบกษา [1],[2],[13]
37 โครงการที่มีความดันใช้งานสูงสุดน้อยกว่าหรือเท่ากับยี่สิบบาร์ และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้อยกว่าหรือเท่ากับสิบหกนิ้ว ในทุกพื้นที่ยกเว้นพื้นที่ที่มีมติคณะรัฐมนตรีหรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[18]
38 โครงการที่มีความดันใช้งานสูงสุดมากกว่ายี่สิบบาร์ขึ้นไป และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อมากกว่าสิบหกนิ้วขึ้นไป ในเขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงาน [1],[2],[18]
39 รายงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ให้เจ้าของโครงการจัดทำและเสนอรายงานด้านสิ่งแวดล้อมใหม่และเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงานทุกครั้ง [1],[2],[18]
40 หากผลการศึกษาตามรายงานด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมมากกว่าในประมวลหลักการปฏิบัติงาน ท้ายประกาศนี้ เจ้าของโครงการจะต้องกำหนดมาตรการดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย [1],[2],[18]
41 ผู้มีสิทธิจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับใบรับรองจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมธุรกิจพลังงานมอบหมาย ซึ่งคุณสมบัติและการสั่งพักใช้และการเพิกถอนใบรับรองของผู้มีสิทธิจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [1],[2],[18]
42 ให้จัดส่งรายงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขอความเห็นชอบต่อกรมธุรกิจพลังงาน จำนวนไม่น้อยกว่าสิบห้าชุด และเมื่อได้รับหนังสือแจ้งให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าของโครงการต้องจัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูลจำนวนห้าชุด ภายในหนึ่งเดือนนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งให้ความเห็นชอบ [1],[2],[18]
43 แนวทางในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ ให้เป็นไปตามแนวทางตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[15]
44 ท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ไม่ถือเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 ได้แก้ท่อแก๊สในสถานที่ดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ คลังก๊าซธรรมชาติและสถานที่ เก็บรักษาก๊าซธรรมชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (2) กิจการปิโตรเลียม ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (3) โรงแยกก๊าซธรรมชาติ และ (4) โรงผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว [1],[2],[17],[28]
45 เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อชำรุดเสียหายจนเกิดก๊าซธรรมชาติรั่วไหลหรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งการเกิดอุบัติเหตุต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในทันทีที่ทราบเหตุ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 1 ชั่วโมง นับจากเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ และรายงานเบื้องต้นถึงสาเหตุ วิธีการระงับเหตุ ความเสียหาย จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งแผนการฟื้นฟูสภาพเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 3 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้น ให้เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนด และผู้รับใบอนุญาตต้องจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุ โดยรายงานดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ แนวทางป้องกันและแก้ไข ปริมาณความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และให้รายงานกรมธุรกิจพลังงานทราบภายใน 60 วัน นับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ แผนการฟื้นฟูสภาพ และมาตรการติดตามตรวจสอบ และแนวทางป้องกันและแก้ไขต้องมีขั้นตอนการดำเนินการไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือรายงานด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือแผนการฟื้นฟูสภาพมาตรการติดตามตรวจสอบ แนวทางป้องกันและแก้ไขที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ [1],[2],[16]
46 การออกแบบ การเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งระบบไฟฟ้า และการติดตั้งระบบป้องกัน อันตรายจากฟ้าผ่า ให้เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าและมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าสำหรับ สิ่งปลูกสร้างของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) มาตรฐานของ National Fire Protection Association (NFPA) มาตรฐานของ International Electrotechnical Commission (IEC) หรือมาตรฐานอื่นที่อธิบดีกรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด [1],[2],[6],[25]
47 ระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าตามกฎกระทรวงนี้ครอบคลุมเฉพาะระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าที่อยู่ในเขตสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน บริเวณที่มีการถ่ายเทน้ำมันภายในสถานที่ประกอบกิจการน้ำมันต้องทำการป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิต โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และการเดินสายไฟฟ้า การติดตั้งระบบไฟฟ้า และการติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าให้ออกแบบและควบคุมโดยวิศวกรไฟฟ้าซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร [1],[2],[6],[25]
48 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่ต้องมีสำหรับสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ตัวอย่างเช่น การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงและระยะปลอดภัยภายใน ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง การป้องกันและระงับอัคคีภัย ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ เป็นต้น [1],[2],[4]
49 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่ต้องมีสำหรับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ตัวอย่างเช่น ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์ การป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นต้น [1],[2],[3]
50 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติที่ต้องมีสำหรับคลังน้ำมัน ตัวอย่างเช่น ลักษณะของแผนผังและแบบก่อสร้าง ลักษณะและระยะปลอดภัยภายนอก ลักษณะและระยะปลอดภัยภายใน ถังเก็บน้ำมันและอุปกรณ์ ระบบท่อน้ำมันและอุปกรณ์ การป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นต้น [1],[2],[8]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542
2 พระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
3 กฎกระทรวง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552
4 กฎกระทรวง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2551
5 กฎกระทรวง ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556
6 กฎกระทรวง ระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. 2556
7 กฎกระทรวง คุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558
8 กฎกระทรวง คลังน้ำมัน พ.ศ. 2556
9 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2529) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ
10 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556
11 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในกาจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากภัยอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2557
12 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ และการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สำหรับสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2554
13 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2546
14 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรฐานความปลอดภัยของสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2550
15 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556
16 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการดำเนินการในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2557
17 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง กำหนดสถานที่ของท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ไม่ถือเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2557
18 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง การกำหนดประเภทและขนาดของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2556
19 ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดสถานที่แจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 สถานที่ยื่น แบบคำขอ และแบบใบอนุญาตของการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 พ.ศ. 2556
20 ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ แบบคำขอ แบบใบรับรอง แบบบัตรประจำตัว และหลักสูตรการฝึกอบรมของผู้ฝึกอบรม วิทยากร และผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2559
21 กฎกระทรวง การขนส่งน้ำมันโดยถังขนส่งน้ำมัน พ.ศ. 2558
22 กฎกระทรวง คุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558
23 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การขนส่ง การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ และการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สำหรับการค้าปลีกวัตถุอันตรายก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2549
24 ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมบุคลากรที่รับผิดชอบดูแลร้านจำหน่ายก๊าซ โรงเก็บก๊าซ หรือการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2550
25 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การติดตั้งตัวนำล่อฟ้า จำนวนและระยะห่างของตัวนำลงดิน ที่ถังเก็บน้ำมัน พ.ศ. 2559
26 ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการมอบหมายให้บุคคลอื่นเก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแทน พ.ศ. 2558
27 ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นขอความเห็นชอบสถานที่ที่ใช้เก็บสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงและเงื่อนไขที่ผู้ได้รับความเห็นชอบต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2558
28 ข้อบังคับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 108 ว่าด้วย การดำเนินงานระบบขนส่งสินค้าเหลวทางท่อ พ.ศ. 2545
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 คำขอใบรับรองผู้ฝึกอบรม (แบบ ธพ.พ.1อ)
2 ใบรับรองผู้ฝึกอบรม (แบบ ธพ.พ.2อ)
3 คำขอต่ออายุ/ใบแทนใบรับรองผู้ฝึกอบรม (แบบ ธพ.พ.3อ)
4 คำขอใบรับรองวิทยากร (แบบ ธพ.พ.1ว)
5 ใบรับรองวิทยากร (แบบ ธพ.พ.2ว)
6 คำขอต่ออายุ/ใบแทนใบรับรองวิทยากร (แบบ ธพ.พ.3ว)
7 คำขอรับบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงาน (แบบ ธพ.พ.1ผ)
8 แบบบัตรประจำตัวผู้ปฏิบัติงาน (แบบ ธพ.พ.2ผ)
9 คำขอต่ออายุ/ใบแทนใบรับรองผู้ปฏิบัติงาน (แบบ ธพ.พ.3ผ)
10 คำขอรับใบอนุญำตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.น.1)
11 คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ (แบบ ธพ.น.1ท)
12 คำขอรับใบอนุญำตประกอบกิจการถังขนส่งน้ำมัน (แบบ ธพ.น.1ข)
13 ใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.น.2)
14 คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.น.3)
15 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการ คำขอโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ
16 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ (แบบ ธพ.น.4ท)
17 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการถังขนส่งน้ำมัน (แบบ ธพ.น.4ข)
18 คำขอโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.น.5)
19 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.น.6)
20 ใบแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (แบบ ธพ.ป.1)
21 ใบรับแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (แบบ ธพ.ป.2)
22 คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ก.1)
23 คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ (แบบ ธพ.ก.1ท)
24 คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แบบ ธพ.ก.1ข)
25 ใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ก.2)
26 คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ก.3)
27 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ก.4)
28 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ (แบบ ธพ.ก.4ท)
29 คาขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แบบ ธพ.ก.4ข)
30 คำขอโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ก.5)
31 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ก.6)
32 คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ช.1)
33 คาขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (แบบ ธพ.ช.๑ท)
34 คาขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ (แบบ ธพ.ช.1ข)
35 ใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ช.2)
36 คำขอต ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ช.3)
37 คาขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ช.4)
38 คาขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ (แบบ ธพ.ช.4ท)
39 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงการประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ (แบบ ธพ.ช.4ข)
40 คำขอโอนใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ช.5)
41 คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ (แบบ ธพ.ช.6)
42 แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้น
43 หนังสือรับรองถังเก็บและจ่ายก๊าซ