3.1.4.1 ลูกจ้าง

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 15 ฉบับ
1 งานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ได้แก่ งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง เป็นต้น [1],[2],[3],[4],[9]
2 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในสถานที่ ดังต่อไปนี้ (1) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (2) สถานประกอบกิจการที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 [1],[2],[3],[4],[10]
3 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง [1],[2],[3],[4],[7]
4 ในกรณีที่ลูกจ้างหยุดงานสามวันทำงานติดต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใด ๆ นายจ้างอาจขอความเห็นจากแพทย์ผู้ทำการรักษา หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการหรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีกก็ได้ [1],[2],[3],[4],[7]
5 นายจ้างต้องจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ [1],[2],[3],[4],[7]
6 นายจ้างต้องเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย เว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับโรคหรืออันตรายอย่างใดต่อสุขภาพของลูกจ้าง แม้จะพ้นเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ มิให้นายจ้างนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษแก่ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร [1],[2],[3],[4],[7]
7 ในกรณีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง หรือลูกจ้างมีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน นายจ้างต้องส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้ การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย [1],[2],[3],[4],[7]
8 ถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของราชการหรือที่ราชการยอมรับ แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ [1],[2],[3],[4],[7]
9 นายจ้างต้องมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง [1],[2],[3],[4],[7]
10 นายจ้างต้องใช้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลูกจ้างหนึ่งคน ดังนี้ (1) 20 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี (2) 25กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชายอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี (3) 25 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง (4) 50 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง ในกรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีและให้ลูกจ้างใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[8]
11 กฎหมายกำหนดแบบหนังสือรับรองการจ้างของผู้ซึ่งจะเป็นนายจ้าง [1],[2],[3],[4],[11]
12 กฎหมายกำหนดแบบแจ้งการจ้าง แบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และแบบแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี [1],[2],[3],[4],[12]
13 กฎหมายกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี [1],[2],[3],[4],[13]
14 เวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมต้องไม่เกินสัปดาห์ละสี่สิบแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
15 เวลาทำงานของลูกจ้างในงานอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างห้ามมิให้เกินสัปดาห์ละสี่สิบสองชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
16 เวลาทำงานของลูกจ้างในงานพาณิชยกรรมโดยปกติจะเกินสัปดาห์ละห้าสิบสี่ชั่วโมงไม่ได้ [1],[2],[3],[4],[14]
17 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาหยุดพักผ่อนติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง เวลาพักผ่อนนี้ให้กำหนดหลังจากที่ลูกจ้างได้ทำงานมาแล้วในวันนั้นไม่เกินห้าชั่วโมงและไม่นับรวมเป็นเวลาทำงาน [1],[2],[3],[4],[14]
18 ลูกจ้างซึ่งได้ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงานมีสิทธิหยุดงานพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวัน โดยไม่นับรวมกับวันหยุดงานประจำสัปดาห์และวันหยุดงานตามประเพณี [1],[2],[3],[4],[14]
19 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[14]
20 ห้ามมิให้นายจ้างใช้แรงงานหญิงเป็นลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้ (1) งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน (2) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดิน 10 เมตรขึ้นไป (3) งานที่เลื่อยวงเดือน (4) งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ (5) งานเหมืองแร่ที่ต้องทำใต้ดิน (6) งานอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[14]
21 ห้ามมิให้นายจ้างใช้หญิงเป็นลูกจ้างทำงานในสถานที่ทำงานและในระหว่างเวลาดังนี้ (1) งานอุตสาหกรรมในระหว่างเวลา 22.00 น. และ 06.00น. (2) งานพาณิชยกรรมในระหว่างเวลา 24.00 น. และ 06.00 น. [1],[2],[3],[4],[14]
22 ลูกจ้างที่เป็นหญิงมีครรภ์ ได้รับใบรับรองแพทย์มาแสดงสิทธิ์หยุดงานได้สามสิบวันก่อนวันคลอดและสามสิบวันภายหลังวันคลอด [1],[2],[3],[4],[14]
23 ห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบสองปีเป็นลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[14]
24 ห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบสองปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึงสิบสี่ปีเป็นลูกจ้าง เว้นแต่งานนั้นเป็นงานเบา หรือเป็นงานที่ใช้บุคคลในครอบครัวทำ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความเจริญเติบโตของร่างกาย และเวลาทำงานนั้นไม่ใช่เวลาเรียนตามปกติ ทั้งไม่เป็นการขัดต่อการศึกษาเล่าเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา [1],[2],[3],[4],[14]
25 ห้ามมิให้นายจ้างใช้เด็กซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบสิงปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีเป็นลูกจ้างทำงานเกินวันละแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
26 ห้ามมิให้นายจ้างใช้เด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเป็นลูกจ้างทำงานในสถานที่ทำงานและในระหว่างเวลาดังนี้ (1) งานอุตสาหกรรมในระหว่างเวลา 22.00 น. และ 06.00น. (2) งานพาณิชยกรรมในระหว่างเวลา 24.00 น. และ 06.00 น. [1],[2],[3],[4],[14]
27 นายจ้างต้องจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับน้ำดื่ม ห้องน้ำ ส้วม และเครื่องใช้อันจำเป็นสำหรับสุขภาพและอนามัย เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[14]
28 นายจ้างต้องจัดให้มีแพทย์ พยาบาล อุปกรณ์ในการรักษาพยาบาล หรือปัจจัยในการปฐมพยาบาลตามความจำเป็นของสภาพงาน เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างได้ทันท่วงที เพื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย [1],[2],[3],[4],[14]
29 นายจ้างต้องจัดให้มีหลักฐานเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเก็บไว้ในสถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานได้ทุกโอกาส โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี [1],[2],[3],[4],[14]
30 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[15]
31 ถ้านายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงสำหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย และถ้าเป็นการทำงานในวันหยุดให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุด สำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินโดยคำนวณเป็นหน่วย [1],[2],[3],[4],[9]
32 กฎหมายกำหนดให้งานบางประเภทให้มีการคุ้มครองแรงงานกรณีต่างๆ แตกต่างจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายปิโตรเลียม งานที่ใช้วิชาชีพหรือวิชาการ งานด้านบริหารจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวกับการค้า งานอาชีพบริการ งานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต งานในร้านขายอาหาร หรือร้านขายเครื่องดื่มที่เปิดจำหน่ายหรือให้บริการไม่ติดต่อกันในแต่ละวันที่มีการทำงาน งานอาชีพหรืองานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ การขุดเจาะ การกลั่นแยกและการผลิตผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี งานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ และงานเร่ขายของหรือชักชวนซื้อสินค้า [1],[2],[3],[4],[5]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 15 ฉบับ
1 งานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาแต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ได้แก่ งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง เป็นต้น [1],[2],[3],[4],[9]
2 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในสถานที่ ดังต่อไปนี้ (1) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (2) สถานประกอบกิจการที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการแปรรูปสัตว์น้ำ ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 [1],[2],[3],[4],[10]
3 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน และตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง [1],[2],[3],[4],[7]
4 ในกรณีที่ลูกจ้างหยุดงานสามวันทำงานติดต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยไม่ว่ากรณีใด ๆ นายจ้างอาจขอความเห็นจากแพทย์ผู้ทำการรักษา หรือแพทย์ประจำสถานประกอบกิจการหรือจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีกก็ได้ [1],[2],[3],[4],[7]
5 นายจ้างต้องจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และให้นายจ้างบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างตามผลการตรวจของแพทย์ทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ [1],[2],[3],[4],[7]
6 นายจ้างต้องเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง รวมทั้งข้อมูลสุขภาพอื่นที่เกี่ยวข้อง และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยให้เก็บไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างแต่ละราย เว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับโรคหรืออันตรายอย่างใดต่อสุขภาพของลูกจ้าง แม้จะพ้นเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ มิให้นายจ้างนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางที่เป็นโทษแก่ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร [1],[2],[3],[4],[7]
7 ในกรณีที่พบความผิดปกติของลูกจ้าง หรือลูกจ้างมีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน นายจ้างต้องส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย การให้ การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วย [1],[2],[3],[4],[7]
8 ถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของราชการหรือที่ราชการยอมรับ แสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ [1],[2],[3],[4],[7]
9 นายจ้างต้องมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง [1],[2],[3],[4],[7]
10 นายจ้างต้องใช้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลูกจ้างหนึ่งคน ดังนี้ (1) 20 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี (2) 25กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชายอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี (3) 25 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง (4) 50 กิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง ในกรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีและให้ลูกจ้างใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[8]
11 กฎหมายกำหนดแบบหนังสือรับรองการจ้างของผู้ซึ่งจะเป็นนายจ้าง [1],[2],[3],[4],[11]
12 กฎหมายกำหนดแบบแจ้งการจ้าง แบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และแบบแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี [1],[2],[3],[4],[12]
13 กฎหมายกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี [1],[2],[3],[4],[13]
14 เวลาทำงานของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมต้องไม่เกินสัปดาห์ละสี่สิบแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
15 เวลาทำงานของลูกจ้างในงานอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างห้ามมิให้เกินสัปดาห์ละสี่สิบสองชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
16 เวลาทำงานของลูกจ้างในงานพาณิชยกรรมโดยปกติจะเกินสัปดาห์ละห้าสิบสี่ชั่วโมงไม่ได้ [1],[2],[3],[4],[14]
17 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาหยุดพักผ่อนติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งชั่วโมง เวลาพักผ่อนนี้ให้กำหนดหลังจากที่ลูกจ้างได้ทำงานมาแล้วในวันนั้นไม่เกินห้าชั่วโมงและไม่นับรวมเป็นเวลาทำงาน [1],[2],[3],[4],[14]
18 ลูกจ้างซึ่งได้ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงานมีสิทธิหยุดงานพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวัน โดยไม่นับรวมกับวันหยุดงานประจำสัปดาห์และวันหยุดงานตามประเพณี [1],[2],[3],[4],[14]
19 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[14]
20 ห้ามมิให้นายจ้างใช้แรงงานหญิงเป็นลูกจ้างทำงานดังต่อไปนี้ (1) งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ขณะที่เครื่องกำลังทำงาน (2) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดิน 10 เมตรขึ้นไป (3) งานที่เลื่อยวงเดือน (4) งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ (5) งานเหมืองแร่ที่ต้องทำใต้ดิน (6) งานอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[14]
21 ห้ามมิให้นายจ้างใช้หญิงเป็นลูกจ้างทำงานในสถานที่ทำงานและในระหว่างเวลาดังนี้ (1) งานอุตสาหกรรมในระหว่างเวลา 22.00 น. และ 06.00น. (2) งานพาณิชยกรรมในระหว่างเวลา 24.00 น. และ 06.00 น. [1],[2],[3],[4],[14]
22 ลูกจ้างที่เป็นหญิงมีครรภ์ ได้รับใบรับรองแพทย์มาแสดงสิทธิ์หยุดงานได้สามสิบวันก่อนวันคลอดและสามสิบวันภายหลังวันคลอด [1],[2],[3],[4],[14]
23 ห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบสองปีเป็นลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[14]
24 ห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบสองปีขึ้นไปแต่ยังไม่ถึงสิบสี่ปีเป็นลูกจ้าง เว้นแต่งานนั้นเป็นงานเบา หรือเป็นงานที่ใช้บุคคลในครอบครัวทำ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความเจริญเติบโตของร่างกาย และเวลาทำงานนั้นไม่ใช่เวลาเรียนตามปกติ ทั้งไม่เป็นการขัดต่อการศึกษาเล่าเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา [1],[2],[3],[4],[14]
25 ห้ามมิให้นายจ้างใช้เด็กซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบสิงปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีเป็นลูกจ้างทำงานเกินวันละแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
26 ห้ามมิให้นายจ้างใช้เด็กซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเป็นลูกจ้างทำงานในสถานที่ทำงานและในระหว่างเวลาดังนี้ (1) งานอุตสาหกรรมในระหว่างเวลา 22.00 น. และ 06.00น. (2) งานพาณิชยกรรมในระหว่างเวลา 24.00 น. และ 06.00 น. [1],[2],[3],[4],[14]
27 นายจ้างต้องจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับน้ำดื่ม ห้องน้ำ ส้วม และเครื่องใช้อันจำเป็นสำหรับสุขภาพและอนามัย เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[14]
28 นายจ้างต้องจัดให้มีแพทย์ พยาบาล อุปกรณ์ในการรักษาพยาบาล หรือปัจจัยในการปฐมพยาบาลตามความจำเป็นของสภาพงาน เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างได้ทันท่วงที เพื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย [1],[2],[3],[4],[14]
29 นายจ้างต้องจัดให้มีหลักฐานเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้าง และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเก็บไว้ในสถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานได้ทุกโอกาส โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี [1],[2],[3],[4],[14]
30 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[15]
31 ถ้านายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงสำหรับลูกจ้างซึ่งไม่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันทำงาน สำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย และถ้าเป็นการทำงานในวันหยุดให้จ่ายค่าทำงานในวันหยุด สำหรับการทำงานแปดชั่วโมงและจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกิน หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินโดยคำนวณเป็นหน่วย [1],[2],[3],[4],[9]
32 กฎหมายกำหนดให้งานบางประเภทให้มีการคุ้มครองแรงงานกรณีต่างๆ แตกต่างจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เช่น งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายปิโตรเลียม งานที่ใช้วิชาชีพหรือวิชาการ งานด้านบริหารจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวกับการค้า งานอาชีพบริการ งานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต งานในร้านขายอาหาร หรือร้านขายเครื่องดื่มที่เปิดจำหน่ายหรือให้บริการไม่ติดต่อกันในแต่ละวันที่มีการทำงาน งานอาชีพหรืองานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ การขุดเจาะ การกลั่นแยกและการผลิตผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี งานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ งานธุรการ และงานเร่ขายของหรือชักชวนซื้อสินค้า [1],[2],[3],[4],[5]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
2 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
3 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
4 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
5 พระราชกฤษฎีกา กำหนดงานที่ให้มีการคุ้มครองแรงงานแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
6 กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
7 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547
8 กฎกระทรวง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. 2547
9 กฎกระทรวง กำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552
10 กฎกระทรวง กำหนดสถานที่ที่ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงาน พ.ศ. 2559
11 ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดแบบหนังสือรับรองการจ้าง
12 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบแจ้งการจ้าง แบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และแบบแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปี
13 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี พ.ศ. 2551
14 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงาน วันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้าง และการจัดให้มีสวัสดิการเพื่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง
15 ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ในคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2541
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 แบบหนังสือรับรองการจ้าง (FORM OF EMPLOYMENT CERTIFICATION)