3.1.4.2 การคุ้มครองแรงงาน

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 22 ฉบับ
1 ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรมซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งร้อยแปดสิบวันมีสิทธิหยุดพักผ่อนได้ไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน [1],[2],[3],[4],[17]
2 ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรมมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ให้ลูกจ้างชี้แจงนายจ้างทราบ [1],[2],[3],[4],[17]
3 นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มโดยมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม และในกรณีลูกจ้างพักอาศัยอยู่กับนายจ้าง นายจ้างต้องจัดหาที่พักอาศัยที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม [1],[2],[3],[4],[17]
4 นายจ้างผู้ซึ่งส่งมอบงานให้ลูกจ้างที่รับงานไปทำที่บ้าน แจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวันส่งมอบงานดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[18]
5 ห้ามเจ้าของเรือให้บุคคลอายุต่ำกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ทำงานบนเรือ [1],[2],[3],[4],[5]
6 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือซึ่งอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ทำงานในเวลากลางคืน เว้นแต่เป็นการฝึกอบรมที่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า หรือเป็นการฝึกอบรมตามตำแหน่งหน้าที่ที่คนประจำเรือต้องทำในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งต้องไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนประจำเรือ โดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมาย ทั้งนี้การทำงานเวลากลางคืนต้องมีระยะเวลาอย่างน้อยเก้าชั่วโมง โดยเริ่มต้นก่อนเที่ยงคืนและสิ้นสุดหลังจากเวลาห้านาฬิกาเป็นต้นไป [1],[2],[3],[4],[5]
7 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือซึ่งอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือความปลอดภัยของคนประจำเรือตามประเภทของงานที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
8 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือทำงานบนเรือ โดยที่คนประจำเรือไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่ามีความพร้อมด้านสุขภาพในการทำงานบนเรือ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
9 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือทำงานบนเรือ เว้นแต่คนประจำเรือได้รับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
10 ห้ามผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานเป็นคนประจำเรือเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาต การอนุญาต และการออกใบอนุญาตจัดหางาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนดในกฎกระทรวง [1],[2],[3],[4],[5]
11 เจ้าของเรือต้องจัดให้มีข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือเป็นหนังสือพร้อมลายมือชื่อของเจ้าของเรือและคนประจำเรือ โดยจัดทำเป็นคู่ฉบับจัดเก็บไว้บนเรือหนึ่งฉบับ และอีกฉบับหนึ่งให้คนประจำเรือเก็บไว้ พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ [1],[2],[3],[4],[5]
12 คนประจำเรือมีสิทธิลาขึ้นฝั่งได้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าของเรือ เว้นแต่กรณีลาขึ้นฝั่งด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
13 คนประจำเรือมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยสามสิบวัน [1],[2],[3],[4],[5]
14 เจ้าของเรือประกาศเวลาทำงานปกติให้คนประจำเรือทราบโดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของคนประจำเรือซึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[5]
15 เจ้าของเรือต้องจัดให้คนประจำเรือมีชั่วโมงการพักผ่อนไม่น้อยกว่าสิบชั่วโมงในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบเจ็ดชั่วโมงในรอบเจ็ดวัน [1],[2],[3],[4],[5]
16 เจ้าของเรือต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับ เงื่อนไขในการทำงานบนเรือ การจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานเป็นคนประจำเรือ สภาพการจ้าง การส่งตัวกลับ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเรือเสียหายหรือเรือจม อัตรากำลัง มาตรฐานที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร และโภชนาการบนเรือ การจัดให้มีการรักษาพยาบาล การคุ้มครองต่อชีวิต ร่างกาย และอนามัยของคนประจำเรือ ใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลและใบประกาศการปฏิบัติด้านแรงงานทางทะเล การร้องเรียนบนเรือ และสิทธิการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง [1],[2],[3],[4],[5]
17 นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
18 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[14]
19 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะมีเวลาพักติดต่อกันวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะได้ทำงานแล้วไม่เกินสี่ชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
20 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะเริ่มต้นทำงานในวันทำงานถัดไปก่อนครบระยะเวลาสิบชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการทำงานในวันทำงานที่ล่วงมาแล้ว [1],[2],[3],[4],[14]
21 ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติ โดยกำหนดเวลา เริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[15]
22 กฎหมายกำหนดเรื่องการคุ้มครองให้ลูกจ้างที่ทำงานบ้าน [1],[2],[3],[4],[16]
23 งานทุกประเภทมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[6]
24 งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง หรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล [1],[2],[3],[4],[12]
25 ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสามสิบหกชั่วโมง และชั่วโมงทำงานในวันหยุดให้หมายความรวมถึงชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดด้วย [1],[2],[3],[4],[7]
26 งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดทำงานในวันหยุดตามประเพณีได้แก่งานดังต่อไปนี้ (1) งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาลและสถานบริการท่องเที่ยว (2) งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง และงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน [1],[2],[3],[4],[8]
27 ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือการเพิ่มทักษะความชำนาญ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง หรือ เพื่อสอบวัดผลการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ทั้งนี้ลูกจ้าต้องแจ้งถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลาเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งนี้นายจ้างอาจไม่อนุญาตให้ลูกจ้างลา เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ในกรณีที่ลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถแล้วไม่น้อยกว่า 30 วันหรือ 3 ครั้งในปีนั้น หรือในกรณีที่นายจ้างแสดงให้เห็นว่าการลาของลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง [1],[2],[3],[4],[9]
28 งานซึ่งห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำ ได้แก่ (1) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน และเสียงอันอาจเป็นอันตราย ตามที่กฎหมายกำหนด (2) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ ตามที่กฎหมายกำหนด (3) งานที่เกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กฎหมายกำหนด (4) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั่นจั่นที่ใช้พลังงานเครื่องยนต์หรือไฟฟ้าไม่ว่าการขับหรือบังคับจะกระทำในลักษณะใด (5) งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีทุกชนิด [1],[2],[3],[4],[10]
29 งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าว เฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต ให้มีการคุ้มครองแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[11]
30 งานที่ใช้วิชาชีพหรือวิชาการงานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวกับการค้า งานอาชีพบริการ งานที่เกี่ยวกับการผลิต หรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว นายจ้างและลูกจ้างอาจตดลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติในวันหนึ่งๆเป็นจำนวนชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[11]
31 งานในร้านขายอาหารหรือร้านขายเครื่องดื่มที่เปิดจำหน่ายหรือให้บริการไม่ติดต่อกันในแต่ละวันที่มีการทำงาน นายจ้างอาจจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งเกินสองชั่วโมงก็ได้ [1],[2],[3],[4],[11]
32 นายจ้างอาจให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานในวิชาชีพหรือวิชาการเกี่ยวกับการสำรวจ การขุดเจาะ การกลั่นแยก และการผลิตผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมได้ ถ้าสภาพหรือลักษณะของงานนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างนั้น [1],[2],[3],[4],[11]
33 นายจ้างอาจให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ที่ทำงานในตำแหน่งบริหาร งานวิชาการ งานธุรการ รวมทั้งงานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้น [1],[2],[3],[4],[11]
34 ลูกจ้างที่ทำงานในงานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้าถ้านายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก้ลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างนั้นไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[11]
35 งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินเป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ให้สิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานที่ทำ [1],[2],[3],[4],[12]
36 นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานในงานเกษตรกรรม และงานที่รับไปทำที่บ้านไม่ต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ให้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามในกฎกระทรวงที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานในกรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง [1],[2],[3],[4],[13]
37 นายจ้างต้องแจ้งรายละเอียดของการส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้านต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน [1],[2],[3],[4],[21]
38 กฎหมายกำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม.1) แบบจัดเวลาพักในงานประมงทะเล (แบบ ปม. 2) ทะเบียนลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม.3) แบบรายงานตัวลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม. 4) [1],[2],[3],[4],[19],[20]
39 บุคคลที่จะเป็นเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต้องผ่านการอบรมหรือสัมมนาหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[22],[23]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 22 ฉบับ
1 ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรมซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งร้อยแปดสิบวันมีสิทธิหยุดพักผ่อนได้ไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน [1],[2],[3],[4],[17]
2 ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรมมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ให้ลูกจ้างชี้แจงนายจ้างทราบ [1],[2],[3],[4],[17]
3 นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มโดยมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม และในกรณีลูกจ้างพักอาศัยอยู่กับนายจ้าง นายจ้างต้องจัดหาที่พักอาศัยที่สะอาด ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยให้แก่ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม [1],[2],[3],[4],[17]
4 นายจ้างผู้ซึ่งส่งมอบงานให้ลูกจ้างที่รับงานไปทำที่บ้าน แจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าก่อนวันส่งมอบงานดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[18]
5 ห้ามเจ้าของเรือให้บุคคลอายุต่ำกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ทำงานบนเรือ [1],[2],[3],[4],[5]
6 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือซึ่งอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ทำงานในเวลากลางคืน เว้นแต่เป็นการฝึกอบรมที่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า หรือเป็นการฝึกอบรมตามตำแหน่งหน้าที่ที่คนประจำเรือต้องทำในช่วงเวลาดังกล่าวซึ่งต้องไม่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนประจำเรือ โดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมอบหมาย ทั้งนี้การทำงานเวลากลางคืนต้องมีระยะเวลาอย่างน้อยเก้าชั่วโมง โดยเริ่มต้นก่อนเที่ยงคืนและสิ้นสุดหลังจากเวลาห้านาฬิกาเป็นต้นไป [1],[2],[3],[4],[5]
7 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือซึ่งอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือความปลอดภัยของคนประจำเรือตามประเภทของงานที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
8 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือทำงานบนเรือ โดยที่คนประจำเรือไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่ามีความพร้อมด้านสุขภาพในการทำงานบนเรือ หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
9 ห้ามเจ้าของเรือให้คนประจำเรือทำงานบนเรือ เว้นแต่คนประจำเรือได้รับการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมเจ้าท่าประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
10 ห้ามผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานเป็นคนประจำเรือเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาต การอนุญาต และการออกใบอนุญาตจัดหางาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกำหนดในกฎกระทรวง [1],[2],[3],[4],[5]
11 เจ้าของเรือต้องจัดให้มีข้อตกลงการจ้างงานของคนประจำเรือเป็นหนังสือพร้อมลายมือชื่อของเจ้าของเรือและคนประจำเรือ โดยจัดทำเป็นคู่ฉบับจัดเก็บไว้บนเรือหนึ่งฉบับ และอีกฉบับหนึ่งให้คนประจำเรือเก็บไว้ พร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ [1],[2],[3],[4],[5]
12 คนประจำเรือมีสิทธิลาขึ้นฝั่งได้ตามที่ได้ตกลงกับเจ้าของเรือ เว้นแต่กรณีลาขึ้นฝั่งด้วยเหตุผลทางด้านสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ที่ดี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกำหนด [1],[2],[3],[4],[5]
13 คนประจำเรือมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริงโดยได้รับค่าจ้างแต่ไม่เกินหนึ่งร้อยสามสิบวัน [1],[2],[3],[4],[5]
14 เจ้าของเรือประกาศเวลาทำงานปกติให้คนประจำเรือทราบโดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของคนประจำเรือซึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[5]
15 เจ้าของเรือต้องจัดให้คนประจำเรือมีชั่วโมงการพักผ่อนไม่น้อยกว่าสิบชั่วโมงในรอบยี่สิบสี่ชั่วโมง และไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบเจ็ดชั่วโมงในรอบเจ็ดวัน [1],[2],[3],[4],[5]
16 เจ้าของเรือต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเกี่ยวกับ เงื่อนไขในการทำงานบนเรือ การจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานเป็นคนประจำเรือ สภาพการจ้าง การส่งตัวกลับ ค่าสินไหมทดแทนกรณีเรือเสียหายหรือเรือจม อัตรากำลัง มาตรฐานที่พักอาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร และโภชนาการบนเรือ การจัดให้มีการรักษาพยาบาล การคุ้มครองต่อชีวิต ร่างกาย และอนามัยของคนประจำเรือ ใบรับรองด้านแรงงานทางทะเลและใบประกาศการปฏิบัติด้านแรงงานทางทะเล การร้องเรียนบนเรือ และสิทธิการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง [1],[2],[3],[4],[5]
17 นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
18 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[14]
19 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะมีเวลาพักติดต่อกันวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะได้ทำงานแล้วไม่เกินสี่ชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
20 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะเริ่มต้นทำงานในวันทำงานถัดไปก่อนครบระยะเวลาสิบชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการทำงานในวันทำงานที่ล่วงมาแล้ว [1],[2],[3],[4],[14]
21 ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติ โดยกำหนดเวลา เริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงาน แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[15]
22 กฎหมายกำหนดเรื่องการคุ้มครองให้ลูกจ้างที่ทำงานบ้าน [1],[2],[3],[4],[16]
23 งานทุกประเภทมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[6]
24 งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง หรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล [1],[2],[3],[4],[12]
25 ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสามสิบหกชั่วโมง และชั่วโมงทำงานในวันหยุดให้หมายความรวมถึงชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดด้วย [1],[2],[3],[4],[7]
26 งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดทำงานในวันหยุดตามประเพณีได้แก่งานดังต่อไปนี้ (1) งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาลและสถานบริการท่องเที่ยว (2) งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง และงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน [1],[2],[3],[4],[8]
27 ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือการเพิ่มทักษะความชำนาญ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง หรือ เพื่อสอบวัดผลการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ทั้งนี้ลูกจ้าต้องแจ้งถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลาเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งนี้นายจ้างอาจไม่อนุญาตให้ลูกจ้างลา เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ในกรณีที่ลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถแล้วไม่น้อยกว่า 30 วันหรือ 3 ครั้งในปีนั้น หรือในกรณีที่นายจ้างแสดงให้เห็นว่าการลาของลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง [1],[2],[3],[4],[9]
28 งานซึ่งห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำ ได้แก่ (1) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน และเสียงอันอาจเป็นอันตราย ตามที่กฎหมายกำหนด (2) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ ตามที่กฎหมายกำหนด (3) งานที่เกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กฎหมายกำหนด (4) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั่นจั่นที่ใช้พลังงานเครื่องยนต์หรือไฟฟ้าไม่ว่าการขับหรือบังคับจะกระทำในลักษณะใด (5) งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีทุกชนิด [1],[2],[3],[4],[10]
29 งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าว เฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต ให้มีการคุ้มครองแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[11]
30 งานที่ใช้วิชาชีพหรือวิชาการงานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวกับการค้า งานอาชีพบริการ งานที่เกี่ยวกับการผลิต หรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว นายจ้างและลูกจ้างอาจตดลงกันกำหนดเวลาทำงานปกติในวันหนึ่งๆเป็นจำนวนชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[11]
31 งานในร้านขายอาหารหรือร้านขายเครื่องดื่มที่เปิดจำหน่ายหรือให้บริการไม่ติดต่อกันในแต่ละวันที่มีการทำงาน นายจ้างอาจจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งเกินสองชั่วโมงก็ได้ [1],[2],[3],[4],[11]
32 นายจ้างอาจให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานในวิชาชีพหรือวิชาการเกี่ยวกับการสำรวจ การขุดเจาะ การกลั่นแยก และการผลิตผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมได้ ถ้าสภาพหรือลักษณะของงานนั้นไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างนั้น [1],[2],[3],[4],[11]
33 นายจ้างอาจให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ที่ทำงานในตำแหน่งบริหาร งานวิชาการ งานธุรการ รวมทั้งงานเกี่ยวกับการเงินหรือบัญชี ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานได้โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้น [1],[2],[3],[4],[11]
34 ลูกจ้างที่ทำงานในงานเร่ขายหรือชักชวนซื้อสินค้าถ้านายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจากการขายสินค้าให้แก้ลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างนั้นไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[11]
35 งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินเป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ให้สิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานที่ทำ [1],[2],[3],[4],[12]
36 นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานในงานเกษตรกรรม และงานที่รับไปทำที่บ้านไม่ต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ให้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามในกฎกระทรวงที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานในกรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง [1],[2],[3],[4],[13]
37 นายจ้างต้องแจ้งรายละเอียดของการส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้านต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน [1],[2],[3],[4],[21]
38 กฎหมายกำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม.1) แบบจัดเวลาพักในงานประมงทะเล (แบบ ปม. 2) ทะเบียนลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม.3) แบบรายงานตัวลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม. 4) [1],[2],[3],[4],[19],[20]
39 บุคคลที่จะเป็นเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต้องผ่านการอบรมหรือสัมมนาหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[22],[23]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
2 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
3 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
4 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
5 พระราชบัญญัติ แรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558
6 กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
7 กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
8 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
9 กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
10 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
11 กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
12 กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
13 กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
14 กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
15 กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
16 กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
17 กฎกระทรวง คุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557
18 กฎกระทรวง ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2557
19 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบทะเบียนลูกจ้างในงานประมงทะเล
20 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล
21 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งการส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้าน (ฉบับที่ 2)
22 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2553
23 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาพัฒนามาตรฐานแรงงาน พ.ศ. 2550
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 สัญญาจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม.1)
2 แบบจัดเวลาพักในงานประมงทะเล (แบบ ปม.2)
3 ทะเบียนลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม.3)
4 แบบรายงานตัวลูกจ้างในงานประมงทะเล (แบบ ปม.4)