3.1.4.3 สถานประกอบการ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 1 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 16 ฉบับ
1 นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
2 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[14]
3 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะมีเวลาพักติดต่อกันวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะได้ทำงานแล้วไม่เกินสี่ชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
4 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะเริ่มต้นทำงานในวันทำงานถัดไปก่อนครบระยะเวลาสิบชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการทำงานในวันทำงานที่ล่วงมาแล้ว [1],[2],[3],[4],[14]
5 กฎหมายกำหนดมาตราในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บังคับใช้แก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย [1],[2],[3],[4],[15]
6 งานทุกประเภทมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[6]
7 งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง หรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล [1],[2],[3],[4],[6]
8 ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสามสิบหกชั่วโมง และชั่วโมงทำงานในวันหยุดให้หมายความรวมถึงชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดด้วย [1],[2],[3],[4],[7]
9 งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดทำงานในวันหยุดตามประเพณีได้แก่งานดังต่อไปนี้ (1) งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาลและสถานบริการท่องเที่ยว (2) งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง และงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน [1],[2],[3],[4],[8]
10 ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือการเพิ่มทักษะความชำนาญ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง หรือ เพื่อสอบวัดผลการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ทั้งนี้ลูกจ้าต้องแจ้งถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลาเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งนี้นายจ้างอาจไม่อนุญาตให้ลูกจ้างลา เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ในกรณีที่ลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถแล้วไม่น้อยกว่า 30วันหรือ 3 ครั้งในปีนั้น หรือในกรณีที่นายจ้างแสดงให้เห็นว่าการลาของลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง [1],[2],[3],[4],[9]
11 งานซึ่งห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำ ได้แก่ (1) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน และเสียงอันอาจเป็นอันตราย ตามที่กฎหมายกำหนด (2) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ ตามที่กฎหมายกำหนด (3) งานที่เกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กฎหมายกำหนด (4) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั่นจั่นที่ใช้พลังงานเครื่องยนต์หรือไฟฟ้าไม่ว่าการขับหรือบังคับจะกระทำในลักษณะใด (5) งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีทุกชนิด [1],[2],[3],[4],[10]
12 งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าว เฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต ให้มีการคุ้มครองแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[11]
13 งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินเป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ให้สิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานที่ทำ [1],[2],[3],[4],[12]
14 นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานในงานเกษตรกรรม และงานที่รับไปทำที่บ้านไม่ต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ให้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามในกฎกระทรวงที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานในกรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง [1],[2],[3],[4],[13]
15 บุคคลที่จะเป็นเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต้องผ่านการอบรมหรือสัมมนาหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[17]
16 นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมาย ตัวอย่างเช่น นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษรในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring) และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น [1],[2],[3],[4],[18]
17 นายจ้างต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียงการศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการแล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ [1],[2],[3],[4],[18]
18 นายจ้างต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดำเนินการดังนี้ (1) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing) แก่ลูกจ้างที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (2) แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบผลการทดสอบ (3) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบผลการทดสอบ [1],[2],[3],[4],[18]
19 ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกันและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล แก่ลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ [1],[2],[3],[4],[18]
20 นายจ้างต้องประเมินผลและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง [1],[2],[3],[4],[18]
21 นายจ้างต้องบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด และเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าห้าปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ [1],[2],[3],[4],[18]
22 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตัวอย่างเช่น น้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล เป็นต้น [1],[2],[3],[4],[16]
23 กฎหมายมีการกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน [18],[19],[22],[23]
24 กฎหมายมีการกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน [20],[21]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 1 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 16 ฉบับ
1 นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
2 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง [1],[2],[3],[4],[14]
3 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะมีเวลาพักติดต่อกันวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง หลังจากลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะได้ทำงานแล้วไม่เกินสี่ชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[14]
4 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะเริ่มต้นทำงานในวันทำงานถัดไปก่อนครบระยะเวลาสิบชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการทำงานในวันทำงานที่ล่วงมาแล้ว [1],[2],[3],[4],[14]
5 กฎหมายกำหนดมาตราในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่บังคับใช้แก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย [1],[2],[3],[4],[15]
6 งานทุกประเภทมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง [1],[2],[3],[4],[6]
7 งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง โดยสภาพของงานมีความเสี่ยงอันตรายสูง หรือมีภาวะแวดล้อมในการทำงานเกินมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขที่แหล่งกำเนิดได้ ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันที่ตัวบุคคล [1],[2],[3],[4],[6]
8 ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสามสิบหกชั่วโมง และชั่วโมงทำงานในวันหยุดให้หมายความรวมถึงชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดด้วย [1],[2],[3],[4],[7]
9 งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดทำงานในวันหยุดตามประเพณีได้แก่งานดังต่อไปนี้ (1) งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาลและสถานบริการท่องเที่ยว (2) งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง และงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน [1],[2],[3],[4],[8]
10 ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคม หรือการเพิ่มทักษะความชำนาญ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง หรือ เพื่อสอบวัดผลการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัดขึ้น ทั้งนี้ลูกจ้าต้องแจ้งถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันลาเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งนี้นายจ้างอาจไม่อนุญาตให้ลูกจ้างลา เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถได้ในกรณีที่ลูกจ้างเคยได้รับอนุญาตให้ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถแล้วไม่น้อยกว่า 30วันหรือ 3 ครั้งในปีนั้น หรือในกรณีที่นายจ้างแสดงให้เห็นว่าการลาของลูกจ้างอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้าง [1],[2],[3],[4],[9]
11 งานซึ่งห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำ ได้แก่ (1) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน และเสียงอันอาจเป็นอันตราย ตามที่กฎหมายกำหนด (2) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ ตามที่กฎหมายกำหนด (3) งานที่เกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นไวรัส แบคทีเรีย รา หรือเชื้ออื่น ตามที่กฎหมายกำหนด (4) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั่นจั่นที่ใช้พลังงานเครื่องยนต์หรือไฟฟ้าไม่ว่าการขับหรือบังคับจะกระทำในลักษณะใด (5) งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีทุกชนิด [1],[2],[3],[4],[10]
12 งานในกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมตลอดถึงงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าว เฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต ให้มีการคุ้มครองแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[11]
13 งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินเป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ให้สิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานที่ทำ [1],[2],[3],[4],[12]
14 นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานในงานเกษตรกรรม และงานที่รับไปทำที่บ้านไม่ต้องใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่ให้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามในกฎกระทรวงที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานในกรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง [1],[2],[3],[4],[13]
15 บุคคลที่จะเป็นเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานต้องผ่านการอบรมหรือสัมมนาหลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[17]
16 นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมาย ตัวอย่างเช่น นายจ้างต้องจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษรในกรณีที่สภาวะการทำงานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการนโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring) และหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น [1],[2],[3],[4],[18]
17 นายจ้างต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสำรวจและตรวจวัดระดับเสียงการศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการแล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ [1],[2],[3],[4],[18]
18 นายจ้างต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยิน โดยให้ดำเนินการดังนี้ (1) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric Testing) แก่ลูกจ้างที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง (2) แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบผลการทดสอบ (3) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบผลการทดสอบ [1],[2],[3],[4],[18]
19 ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกันและการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล แก่ลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ [1],[2],[3],[4],[18]
20 นายจ้างต้องประเมินผลและทบทวนการจัดการโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง [1],[2],[3],[4],[18]
21 นายจ้างต้องบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด และเก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าห้าปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ [1],[2],[3],[4],[18]
22 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตัวอย่างเช่น น้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล เป็นต้น [1],[2],[3],[4],[16]
23 กฎหมายมีการกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน [18],[19],[22],[23]
24 กฎหมายมีการกำหนดเกี่ยวกับการตรวจสอบสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน [20],[21]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
3 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
4 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
5 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
6 กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
7 กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
8 กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
9 กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
10 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
11 กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
12 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
13 กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
14 กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
15 กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
16 กฎกระทรวง ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548
17 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2553
18 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบตามระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544
19 ระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2544
20 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการตรวจสอบสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2556
21 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
22 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน พ.ศ. 2558
23 ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาและการเปรียบเทียบผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม