3.1.5.1 การตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
1 ประเภทอาคารในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรม หรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี เพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคารโครงสร้างของตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยในการใช้อาคาร ได้แก่ (1) โรงมหรสพ (2) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป (3) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่สองร้อยตารางเมตรขึ้นไป (4) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่สองพันตารางเมตรขึ้นไป (5) อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ห้าพันตารางเมตรขึ้นไป (6) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ห้าสิบตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ยี่สิบห้าตารางเมตรขึ้นไป [1],[2],[3],[4],[5],[6]
2 ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตรงตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[7]
3 การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) การตรวจสอบใหญ่ เป็นการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารตามรายละเอียดการตรวจสอบตามข้อ 17 ให้กระทำทุกระยะ 5 ปี (2) การตรวจสอบประจำปี เป็นการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารตามแผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำขึ้นโดยให้กระทำในช่วงปีระหว่างการตรวจสอบใหญ่เป็นประจำทุกปี [1],[2],[3],[4],[5],[7]
4 การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารอย่างน้อยต้องทำการตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร (2) การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร (3) การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร และ (4) การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร [1],[2],[3],[4],[5],[7]
5 เจ้าของอาคารหรือผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต้องนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยจะต้องเสนอภายในสามสิบวันก่อนวันที่ใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมจะมีระยะเวลาครบหนึ่งปี [1],[2],[3],[4],[5],[7]
6 เจ้าของอาคารหรือผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ในการจัดให้มีการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารตามคู่มือปฏิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ของอาคาร หรือตามแผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาที่ผู้ตรวจสอบกำหนด และจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาอาคารตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ [1],[2],[3],[4],[5],[7]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
1 ประเภทอาคารในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรม หรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี เพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคารโครงสร้างของตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยในการใช้อาคาร ได้แก่ (1) โรงมหรสพ (2) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป (3) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่สองร้อยตารางเมตรขึ้นไป (4) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่สองพันตารางเมตรขึ้นไป (5) อาคารโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ห้าพันตารางเมตรขึ้นไป (6) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่สิบห้าเมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ห้าสิบตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ยี่สิบห้าตารางเมตรขึ้นไป [1],[2],[3],[4],[5],[6]
2 ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตรงตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[4],[5],[7]
3 การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) การตรวจสอบใหญ่ เป็นการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารตามรายละเอียดการตรวจสอบตามข้อ 17 ให้กระทำทุกระยะ 5 ปี (2) การตรวจสอบประจำปี เป็นการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารตามแผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำขึ้นโดยให้กระทำในช่วงปีระหว่างการตรวจสอบใหญ่เป็นประจำทุกปี [1],[2],[3],[4],[5],[7]
4 การตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารอย่างน้อยต้องทำการตรวจสอบในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร (2) การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร (3) การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร และ (4) การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร [1],[2],[3],[4],[5],[7]
5 เจ้าของอาคารหรือผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต้องนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยจะต้องเสนอภายในสามสิบวันก่อนวันที่ใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมจะมีระยะเวลาครบหนึ่งปี [1],[2],[3],[4],[5],[7]
6 เจ้าของอาคารหรือผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่ในการจัดให้มีการตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารตามคู่มือปฏิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ของอาคาร หรือตามแผนปฏิบัติการการตรวจบำรุงรักษาที่ผู้ตรวจสอบกำหนด และจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบำรุงรักษาอาคารตามช่วงระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ [1],[2],[3],[4],[5],[7]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
2 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
3 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
4 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
5 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
6 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
7 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
8 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
9 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
10 พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558
11 พระราชบัญญัติ วิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508
12 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
13 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
14 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
15 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
16 กฎกระทรวง กำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548
17 กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548
18 กฎกระทรวง กำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550
19 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2551
20 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. 2551
21 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2551
22 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551
23 ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2551
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 คำขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร (แบบ ต.1)
2 คำขอต่ออายุหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร (แบบ ต.2)
3 คำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ (แบบ ต.3)
4 ใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ ร.1)
5 หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ (แบบ รต.1)
6 หลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร 9 ประเภท ฉบับ พ.ศ.2555
7 หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ชุด
8 ผู้มีอำนาจของนิติบุคคล ลงลายมื่อชื่อรับรองเอกสาร จำนวน 1 ชุด
9 สำเนาบัตรประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา) จำนวน 1 ชุด
10 สำเนาหนังสือเดินทาง กรณีชาวต่างชาติ จำนวน 1 ชุด
11 หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
12 สำเนาบัตรประชาชน ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ