3.1.1.2 มลพิษอากาศ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 59 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 17 ฉบับ
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
จำนวน 7 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศ คือ มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป [6]
2 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการจัดการคุณภาพอากาศต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม [6]
3 กำหนดค่ามาตรฐานของก๊าซในบรรยากาศโดยทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยของก๊าซโอโซนในเวลา 1 ชั่วโมง และ ค่าเฉลี่ยของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 24 ชั่วโมง [6],[75]
4 การคำนวณค่าความเข้มข้นของก๊าซแต่ละชนิดในบรรยากาศโดยทั่วไปให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศ และอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียล ในการวัดและวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์มลพิษอากาศต่างๆ ให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด [6],[75]
5 กำหนดค่ามาตรฐานของสารในบรรยากาศโดยทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยของตะกั่วในเวลา 1 เดือน ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง [6],[75],[76],[77],[78],[79]
6 กฎหมายกำหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี ได้แก่ เบนซีน, ไวนิลคลอไรด์, 1,2 - ไดคลอโรอีเทน, ไตรคลอโรเอทธิลีน,ไดคลอโรมีเทน, 1,2 - ไดคลอโรโพรเพน, เตตระคลอโรเอทธิลีน, คลอโรฟอร์ม, 1,3 - บิวทาไดอีน โดยการคำนวณค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี แต่ละชนิดให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท และที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และ กำหนดวิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัดและเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ [6],[80]
7 กฎหมายกำหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในเวลา 1 ปี การคำนวณค่าความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศ และอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และการวัดค่าเฉลี่ยของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ในเวลา 1 ปี ให้ใช้เครื่องวัดระบบเคมีลูมิเนสเซน หรือระบบอื่นที่กรมควบคุมมลพิษให้ความเห็นชอบ [6],[81]
8 กฎหมายกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง โดยให้ใช้วิธีตรวจวัดมาตรฐาน Federal Reference Method (FRM) ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในการตรวจวัดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนให้ทำในบรรยากาศทั่วๆไป ต้องสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 1.5 เมตร ไม่เกิน 6 เมตร [6],[68],[82]
9 กฎหมายกำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง โดยให้ใช้วิธีตรวจวัดมาตรฐาน US EPA Compendium Method TO-15 “Determination of Volatile Organic Compounds (VOCs) in air collected in specially prepared canisters and analyzed by Gas Chromatography/Mass Spectrometry (GC/MS) หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในการคำนวณค่าก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยในเวลา 24ชั่วโมงให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท และที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส [6],[74]
10 กำหนดแบบบันทึกผลการตรวจวัดค่าความทึบแสง และแบบสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของเตาเผามูลฝอย รวมทั้งลักษณะ และหน่วยวัดค่าความทึบแสงของแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ พร้อมวิธีการการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควันด้วยแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ [6],[70]
11 กฎหมายกำหนดวิธีการตรวจวัด ลักษณะและหน่วยวัด การคำนวณเปรียบเทียบแบบบันทึกและการรายงานผลค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำ [6],[71]
12 กฎหมายกำหนดให้โรงสีข้าวทุกประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดและจุดตรวจวัดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากโรงสีข้าว และกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย และค่าความทึบแสงจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำ [1],[6],[16],[35],[36],[50],[72]
13 กฎหมายกำหนดให้ท่าเรือบางประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากท่าเรือ หลักเกณฑ์ วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดและจุดตรวจวัดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากท่าเรือด้วยเครื่องวัดความทึบแสง (Smoke Opacity Meter) [6],[19],[34],[73]
14 กฎหมายกำหนดวิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory test) ให้ใช้วิธีตรวจวัดที่ American Society for Testing and Materials (ASTM) หรือ Japanese Industrial Standard (JIS) กำหนด ให้ดำเนินการโดยคณะผู้ทดสอบกลิ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้ทดสอบกลิ่นที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษ หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานที่กรมควบคุมมลพิษมอบหมาย หรือรับรอง จำนวนไม่น้อยกว่า 6 คน และ การขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุผู้ขึ้นบัญชีรายชื่อได้ 2 ปี ติดต่อกัน โดยพิจารณาจากผลการตรวจสุขภาพ และความสมัครใจ [6],[69]
15 กฎหมายกำหนดให้จากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่าเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง เป็นต้น [1],[6],[41],[44],[46],[55]
16 การวัดค่าก๊าซหรือสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิดที่ระบายจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียลที่สภาวะแห้ง (Dry Basis) โดยมีปริมาตรอากาศส่วนเกินในการเผาไหม้ (Excess Air) ร้อยละ 50 หรือที่ปริมาตรออกซิเจนส่วนเกินในการเผาไหม้ร้อยละ 7 [6],[41],[44],[46]
17 การตรวจวัดค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ระบายจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้ใช้วิธี Determination of Sulfur Dioxide Emissions From Stationary Sources หรือวิธี Determination of Sulfuric Acid Mist And Sulfur Dioxide Emissions From Stationary Sources ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[41],[44],[46]
18 การตรวจวัดออกไซด์ของไนโตรเจนที่ออกจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้ใช้วิธีการ Determination of Nitrogen Oxide Emissions From Stationary Sources ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[41],[44],[46]
19 การตรวจวัดฝุ่นละอองที่ออกจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้ใช้วิธีการ Determination of Particulate Emissions From Stationary Sources ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[38]
20 กฎหมายกำหนดให้โรงโม่ บด หรือย่อยหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองจากโรงโม่ บด หรือย่อยหิน โดยความเข้มข้นของฝุ่นละอองจากโรงโม่ บด หรือย่อยหินไม่เกินร้อยละ 20 เมื่อตรวจวัดที่จุดตรวจวัด ณ ระยะห่าง 1 เมตร ด้วยวิธีการ US. EPA วิธีที่ 5 "Determination of Particulate Emission from Stationary Source" และตรวจวัดค่าความทึบแสงด้วยวิธีตรวจวัดความทึบแสง (Smoke Opacity Meter) [6],[43],[37]
21 กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียโดยเฉพาะจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง โดยวิธีการตรวจวัดให้ใช้วิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[47]
22 กฎหมายกำหนดให้โรงงานเหล็กเก่าและโรงงานเหล็กใหม่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ และ กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียโดยเฉพาะจากโรงงานเหล็กเก่าและโรงงานเหล็กใหม่ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง โดยวิธีการตรวจวัดให้ใช้วิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[39],[42]
23 กฎหมายกำหนดให้คลังน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง และการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง และการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ โดยวิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัดและเครื่องมือวิเคราะห์ให้ใช้วิธีการตามที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[17],[18],[22],[40],[45]
24 กฎหมายกำหนดให้โรงงานปูนซีเมนต์เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศโรงงานปูนซีเมนต์พร้อมวิธีการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ตัวอย่างให้เป็นตามวิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[27],[11],[23]
25 กฎหมายกำหนดให้สถานประกอบกิจการหลอมและต้มทองคำเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศจากสถานประกอบกิจการหลอมและต้มทองคำพร้อมวิธีการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ตัวอย่างให้เป็นตามวิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[20],[31]
26 กฎหมายกำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากสถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำ โดยวิธีการตรวจวัด คำนวณ เปรียบเทียบ และสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[33]
27 กฎหมายกำหนดกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งคำนวณในรูปของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ กรดกำมะถัน ไซลีน ครีซอล พลวง สารหนู ทองแดง ตะกั่ว คลอรีน ปรอท โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[14],[29]
28 กฎหมายกำหนดให้โรงงานปูนซีเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานปูนซีเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ สารประกอบอินทรีย์ทั้งหมดในรูปของคาร์บอน สารประกอบไดออกซิน ปรอท แคดเมียมละตะกั่วรวมกัน พลวง, สารหนู, เบริลเลียม, โครเมียม, โคบอลต์, ทองแดง, แมงกานีส, นิเกิล, และวาเนเดียมรวมกัน โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[12],[28]
29 กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยวิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory test) และการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[32]
30 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทและบางขนาดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศ ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการบ่มใบชาหรือใบยาสูบ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตผลเกษตรกรรม, สัตว์ซึ่งมิใช่สัตว์นํ้า, น้ำนม,นํ้ามันจากพืชหรือสัตว์ หรือไขมันจากสัตว์, ผัก พืช หรือผลไม้, เมล็ดพืชหรือหัวพืช, อาหารจากแป้ง,นํ้าตาลซึ่งทำจากอ้อย บีช หญ้าหวาน หรือพืชอื่นที่ให้ความหวาน, ชา กาแฟ โกโก้ ช็อกโกเลต หรือขนมหวาน, เครื่องปรุงหรือเครื่องประกอบอาหาร, อาหารสัตว์, โรงงานต้ม กลั่น หรือผสมสุรา, โรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ซึ่งมิใช่เอทิลแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากกากซัลไฟต์ในการทำเยื่อกระดาษ, โรงงานทำหรือผสมสุราจากผลไม้ หรือสุราแช่อื่น ๆ, โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับมอลต์หรือเบียร์, โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ น้ำดื่ม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม หรือนํ้าแร่, โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยาสูบ ยาอัด ยาเส้น ยาเคี้ยว หรือยานัตถุ์, โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จอัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์, โรงงานสาง ฟอก ฟอกสี ย้อมสี ขัดหรือแต่งขนสัตว์,โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับปุ๋ยหรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืช หรือสัตว์ (Pesticides) , และโรงงานห้องเย็น [6],[15]
31 กำหนดให้โรงไฟฟ้าใหม่ที่มีการใช้เชื้อเพลิงมาจาก ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติหรือเชื้อเพลิงชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดและกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[10],[21]
32 กฎหมายกำหนดให้เตาเผามูลฝอยเก่าและใหม่ เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยโดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[8],[24]
33 กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[25]
34 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเคมีเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[13],[30]
35 ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมเคมี ปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ เว้นแต่อากาศเสียจะมีลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำให้เจือจาง (Dilution) [6],[13]
36 กฎหมายกำหนดให้โรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ [6],[9],[26]
37 กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [6],[9],[67]
38 กฎหมายกำหนดวิธีการตรวจวัดค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองด้วยเครื่องวัดความทึบแสง และแบบบันทึก [6],[67]
39 กฎหมายกำหนดเครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซหรือฝุ่นละอองซึ่งทำงานโดยระบบอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ได้แก่ เครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซโอโซนในเวลา 1 ชั่วโมง เครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง เครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 24 ชั่วโมง หรือในเวลา 1 ปี และการหาค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง หรือในเวลา 1 ปี [6],[65]
40 กฎหมายกำหนดค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง และหลักการ ขอบเขต และการคำนวณ วิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด และเครื่องมือ ตรวจวิเคราะห์ค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง ให้เป็นไปตามที่วิธีการกรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[66]
41 ผู้ประกอบกิจการโรงงานมีหน้าที่ต้องจัดทำแบบรายงานข้อมูลทั่วไป (แบบ รว.1) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม แบบรายงานมลพิษน้ำ (แบบ รว.2) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ แบบรายงานมลพิษอากาศ (แบบ รว.3) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศให้ถูกต้องหรือสมบูรณ์ แล้วแต่กรณี และส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในสี่สิบห้าวัน นับจากวันได้รับแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ [1],[62]
42 กฎหมายกำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน ได้แก่ ค่าความเข้มกลิ่นที่บริเวณรั้วหรือขอบเขตภายในโรงงาน และค่าความเข้มกลิ่นที่ปล่องระบายอากาศของโรงงาน และห้ามโรงงานระบายอากาศที่มีกลิ่นออกจากโรงงาน เว้นแต่ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างจนอากาศที่ระบายออกนั้นมีค่าความเข้มกลิ่นไม่เกินค่าที่กำหนดในกฎหมายแต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำ ให้เจือจาง [1],[7]
43 การตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นให้ใช้วิธีการตามที่ American Society for Testing and Materials (ASTM) หรือ Japanese Industrial Standard (JIS) ได้กำหนดไว้ หรือวิธีการอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[7]
44 กฎหมายกำหนดการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (CEMS) ดังนี้ กำหนดให้ระบบสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โรงงานในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จังหวัดระยองให้จัดส่งรายงานผลการตรวจวัดไปที่ศูนย์รับข้อมูลสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โรงงานที่อยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมให้จัดส่งรายงานไปที่ศูนย์รับข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือศูนย์รับข้อมูลที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[2],[3],[4],[5],[64],[83]
45 กฎหมายกำหนดรายละเอียดการเชื่อมโยงระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (CEMS) คุณลักษณะเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์ และรูปแบบการเชื่อมโยงระบบ [1],[64]
46 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามกฎหมายต้องจัดทำบัญชีรายชื่ออุปกรณ์พร้อมผลการตรวจวัดการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยจากอุปกรณ์และการซ่อมแซมอุปกรณ์ โดยให้รายงานปริมาณสารอินทรีย์ระเหยรวมในรูปมีเทน (Total Volatile Organic Compounds: TVOC, as Methane) ที่รั่วซึมจากอุปกรณ์ที่ต้องตรวจวัดการรั่วซึม ซึ่งไม่รวมปริมาณสารอินทรีย์ระเหยที่รั่วซึมจากอุปกรณ์ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจวัดการรั่วซึม ตามแบบ รว.3/1 [1],[59],[63]
47 กฎหมายกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องรายงาน รวมทั้งรูปแบบและวิธีการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) ให้เป็นไปตามหลักวิชาการทั้งมลพิษน้ำและมลพิษอากาศ [1],[48]
48 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท ได้แก่ ลำดับที่ 88 ลำดับที่ 57 ลำดับที่ 38ลำดับที่ 49 ลำดับที่ 59 ลำดับที่ 60 ลำดับที่ 101 ลำดับที่ 42 และโรงงานทุกลำดับที่มีหม้อน้ำหรือแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีขนาด 30 ตันไอน้ำต่อชั่วโมง หรือ 100 เมกกะมิลเลี่ยนบีทียู (MMBTU) ต่อชั่วโมงขึ้นไป ต้องติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ พร้อมได้ระบุองค์ประกอบของเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษ และค่าพารามิเตอร์ของเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษที่ต้องตรวจวัดได้ [1],[49]
49 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานกรณีการใช้น้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม ได้แก่ ฝุ่นละออง (Particulate Matter) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (Hydrogen Fluoride) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) ไดออกซินและหรือฟูแรน (Dioxins/Furans) ในรูปสมมูลย์ความเป็นพิษ (TEQ) ปรอท (Mercury) โลหะหนักจำพวกพลวง (Antiminy) สารหนู (Arsenic) แคดเมี่ยม (Cadmium) ซีลีเนี่ยม (Selenium) และเทลลูเรียม (Tellurium) โลหะหนักจำพวกวาเนเดียม (Vanadium) โครเมี่ยม (Chromium) โคบอลต์ (Cobalt) นิเกิล (Nickle) ทองแดง (Copper) ตะกั่ว (Lead) แมงกานีส (Manganese) และดีบุก (Tin) เป็นต้น [1],[52]
50 การตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องโรงงานกรณีใช้น้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ (Processed used-oil) และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (Synthetic fuel) เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม โดยให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[52]
51 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน ได้แก่ ฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate) พลวง (Antimony) สารหนู (Arsenic) ทองแดง (Copper) ตะกั่ว (Lead) ปรอท (Mercury) คลอรีน (Chlorine) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride) กรดกำมะถัน (Sulfuric acid) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of nitrogen) ไซลีน (Xylene) ครีซอล (Cresol) โดยการตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานให้ใช้วิธีการตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[53]
52 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน คือ อากาศที่ระบายออกจากปล่องหม้อน้ำโรงงานจำพวกที่ 3 ที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 1 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป ต้องมีเขม่าควันเจือปนอยู่ในปริมาณที่ทำให้เกิดค่าความทึบแสง เมื่อตรวจวัดด้วยแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ไม่เกินร้อยละ 10 ในการตรวจวัดความทึบแสงให้ตรวจวัดในขณะประกอบกิจการโรงงาน และหม้อน้ำมีการทำงานปกติ และวิธีการตรวจวัด การคำนวณ การเปรียบเทียบ และการสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้ใช้วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[51]
53 กฎหมายกำหนดปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิตแก้วและกระจก ได้แก่ ฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (Hydrogen Fluoride) ตะกั่ว (Lead) และสารหนู (Arsenic) โดยให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[56]
54 กฎหมายกำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม ได้แก่ ฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) ไดออกซินและฟูราน (Dioxin/Furans-TEQ) ปรอท (Mercury) Semi Volatile Metals ได้แก่ แคดเมียม (Cadmium) ตะกั่ว (Lead) และ Low Volatile Metals ได้แก่ สารหนู (Arsenic) เบริลเลียม (Baryllium) โครเมียม (Chromium) โดยให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[58]
55 กฎหมายกำหนดอัตราการปล่อยมลสารทางอากาศจากปล่องโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานซึ่งกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือตามมาตการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแต่ละนิคมอุตสาหกรรม [1],[2],[3],[4],[5],[61]
56 การกำหนดอัตราการระบายมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ในการพิจารณาอนุญาต กนอ. จะคำนึงถึงความจำเป็นในการบริหารจัดการ การกำกับดูแล และการป้องกันผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมตามลักษณะของนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรม หรือกลุ่มกิจกรรมในแต่ละนิคมอุตสาหกรรมประกอบด้วย [1],[2],[3],[4],[5],[60]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 59 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 17 ฉบับ
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
จำนวน 7 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศ คือ มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป [6]
2 แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการจัดการคุณภาพอากาศต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม [6]
3 กำหนดค่ามาตรฐานของก๊าซในบรรยากาศโดยทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยของก๊าซโอโซนในเวลา 1 ชั่วโมง และ ค่าเฉลี่ยของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 24 ชั่วโมง [6],[75]
4 การคำนวณค่าความเข้มข้นของก๊าซแต่ละชนิดในบรรยากาศโดยทั่วไปให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศ และอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียล ในการวัดและวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์มลพิษอากาศต่างๆ ให้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด [6],[75]
5 กำหนดค่ามาตรฐานของสารในบรรยากาศโดยทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยของตะกั่วในเวลา 1 เดือน ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองรวมหรือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 100ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง [6],[75],[76],[77],[78],[79]
6 กฎหมายกำหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี ได้แก่ เบนซีน, ไวนิลคลอไรด์, 1,2 - ไดคลอโรอีเทน, ไตรคลอโรเอทธิลีน,ไดคลอโรมีเทน, 1,2 - ไดคลอโรโพรเพน, เตตระคลอโรเอทธิลีน, คลอโรฟอร์ม, 1,3 - บิวทาไดอีน โดยการคำนวณค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี แต่ละชนิดให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท และที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และ กำหนดวิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัดและเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ [6],[80]
7 กฎหมายกำหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในเวลา 1 ปี การคำนวณค่าความเข้มข้นของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1 บรรยากาศ และอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และการวัดค่าเฉลี่ยของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) ในเวลา 1 ปี ให้ใช้เครื่องวัดระบบเคมีลูมิเนสเซน หรือระบบอื่นที่กรมควบคุมมลพิษให้ความเห็นชอบ [6],[81]
8 กฎหมายกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง โดยให้ใช้วิธีตรวจวัดมาตรฐาน Federal Reference Method (FRM) ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในการตรวจวัดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนให้ทำในบรรยากาศทั่วๆไป ต้องสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 1.5 เมตร ไม่เกิน 6 เมตร [6],[68],[82]
9 กฎหมายกำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง โดยให้ใช้วิธีตรวจวัดมาตรฐาน US EPA Compendium Method TO-15 “Determination of Volatile Organic Compounds (VOCs) in air collected in specially prepared canisters and analyzed by Gas Chromatography/Mass Spectrometry (GC/MS) หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในการคำนวณค่าก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยในเวลา 24ชั่วโมงให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท และที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส [6],[74]
10 กำหนดแบบบันทึกผลการตรวจวัดค่าความทึบแสง และแบบสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของเตาเผามูลฝอย รวมทั้งลักษณะ และหน่วยวัดค่าความทึบแสงของแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ พร้อมวิธีการการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควันด้วยแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ [6],[70]
11 กฎหมายกำหนดวิธีการตรวจวัด ลักษณะและหน่วยวัด การคำนวณเปรียบเทียบแบบบันทึกและการรายงานผลค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำ [6],[71]
12 กฎหมายกำหนดให้โรงสีข้าวทุกประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดและจุดตรวจวัดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากโรงสีข้าว และกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย และค่าความทึบแสงจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำ [1],[6],[16],[35],[36],[50],[72]
13 กฎหมายกำหนดให้ท่าเรือบางประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากท่าเรือ หลักเกณฑ์ วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดและจุดตรวจวัดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากท่าเรือด้วยเครื่องวัดความทึบแสง (Smoke Opacity Meter) [6],[19],[34],[73]
14 กฎหมายกำหนดวิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory test) ให้ใช้วิธีตรวจวัดที่ American Society for Testing and Materials (ASTM) หรือ Japanese Industrial Standard (JIS) กำหนด ให้ดำเนินการโดยคณะผู้ทดสอบกลิ่น ซึ่งประกอบด้วยผู้ทดสอบกลิ่นที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษ หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานที่กรมควบคุมมลพิษมอบหมาย หรือรับรอง จำนวนไม่น้อยกว่า 6 คน และ การขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุผู้ขึ้นบัญชีรายชื่อได้ 2 ปี ติดต่อกัน โดยพิจารณาจากผลการตรวจสุขภาพ และความสมัครใจ [6],[69]
15 กฎหมายกำหนดให้จากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่าเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง เป็นต้น [1],[6],[41],[44],[46],[55]
16 การวัดค่าก๊าซหรือสารเจือปนในอากาศแต่ละชนิดที่ระบายจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้คำนวณผลที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือที่ 760 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียลที่สภาวะแห้ง (Dry Basis) โดยมีปริมาตรอากาศส่วนเกินในการเผาไหม้ (Excess Air) ร้อยละ 50 หรือที่ปริมาตรออกซิเจนส่วนเกินในการเผาไหม้ร้อยละ 7 [6],[41],[44],[46]
17 การตรวจวัดค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ระบายจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้ใช้วิธี Determination of Sulfur Dioxide Emissions From Stationary Sources หรือวิธี Determination of Sulfuric Acid Mist And Sulfur Dioxide Emissions From Stationary Sources ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[41],[44],[46]
18 การตรวจวัดออกไซด์ของไนโตรเจนที่ออกจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้ใช้วิธีการ Determination of Nitrogen Oxide Emissions From Stationary Sources ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[41],[44],[46]
19 การตรวจวัดฝุ่นละอองที่ออกจากจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ให้ใช้วิธีการ Determination of Particulate Emissions From Stationary Sources ตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[38]
20 กฎหมายกำหนดให้โรงโม่ บด หรือย่อยหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองจากโรงโม่ บด หรือย่อยหิน โดยความเข้มข้นของฝุ่นละอองจากโรงโม่ บด หรือย่อยหินไม่เกินร้อยละ 20 เมื่อตรวจวัดที่จุดตรวจวัด ณ ระยะห่าง 1 เมตร ด้วยวิธีการ US. EPA วิธีที่ 5 "Determination of Particulate Emission from Stationary Source" และตรวจวัดค่าความทึบแสงด้วยวิธีตรวจวัดความทึบแสง (Smoke Opacity Meter) [6],[43],[37]
21 กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียโดยเฉพาะจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง โดยวิธีการตรวจวัดให้ใช้วิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[47]
22 กฎหมายกำหนดให้โรงงานเหล็กเก่าและโรงงานเหล็กใหม่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ และ กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียโดยเฉพาะจากโรงงานเหล็กเก่าและโรงงานเหล็กใหม่ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง โดยวิธีการตรวจวัดให้ใช้วิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[39],[42]
23 กฎหมายกำหนดให้คลังน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง และการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง และการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ โดยวิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัดและเครื่องมือวิเคราะห์ให้ใช้วิธีการตามที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[17],[18],[22],[40],[45]
24 กฎหมายกำหนดให้โรงงานปูนซีเมนต์เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศโรงงานปูนซีเมนต์พร้อมวิธีการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ตัวอย่างให้เป็นตามวิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[27],[11],[23]
25 กฎหมายกำหนดให้สถานประกอบกิจการหลอมและต้มทองคำเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศจากสถานประกอบกิจการหลอมและต้มทองคำพร้อมวิธีการเก็บตัวอย่าง การวิเคราะห์ตัวอย่างให้เป็นตามวิธีการตามที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[20],[31]
26 กฎหมายกำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากสถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำ โดยวิธีการตรวจวัด คำนวณ เปรียบเทียบ และสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[33]
27 กฎหมายกำหนดกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งคำนวณในรูปของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ กรดกำมะถัน ไซลีน ครีซอล พลวง สารหนู ทองแดง ตะกั่ว คลอรีน ปรอท โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[14],[29]
28 กฎหมายกำหนดให้โรงงานปูนซีเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานปูนซีเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิต ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ สารประกอบอินทรีย์ทั้งหมดในรูปของคาร์บอน สารประกอบไดออกซิน ปรอท แคดเมียมละตะกั่วรวมกัน พลวง, สารหนู, เบริลเลียม, โครเมียม, โคบอลต์, ทองแดง, แมงกานีส, นิเกิล, และวาเนเดียมรวมกัน โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[12],[28]
29 กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ โดยวิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory test) และการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[32]
30 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทและบางขนาดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศ ได้แก่ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการบ่มใบชาหรือใบยาสูบ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตผลเกษตรกรรม, สัตว์ซึ่งมิใช่สัตว์นํ้า, น้ำนม,นํ้ามันจากพืชหรือสัตว์ หรือไขมันจากสัตว์, ผัก พืช หรือผลไม้, เมล็ดพืชหรือหัวพืช, อาหารจากแป้ง,นํ้าตาลซึ่งทำจากอ้อย บีช หญ้าหวาน หรือพืชอื่นที่ให้ความหวาน, ชา กาแฟ โกโก้ ช็อกโกเลต หรือขนมหวาน, เครื่องปรุงหรือเครื่องประกอบอาหาร, อาหารสัตว์, โรงงานต้ม กลั่น หรือผสมสุรา, โรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ซึ่งมิใช่เอทิลแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากกากซัลไฟต์ในการทำเยื่อกระดาษ, โรงงานทำหรือผสมสุราจากผลไม้ หรือสุราแช่อื่น ๆ, โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับมอลต์หรือเบียร์, โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับ น้ำดื่ม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม หรือนํ้าแร่, โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยาสูบ ยาอัด ยาเส้น ยาเคี้ยว หรือยานัตถุ์, โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จอัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์, โรงงานสาง ฟอก ฟอกสี ย้อมสี ขัดหรือแต่งขนสัตว์,โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับปุ๋ยหรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืช หรือสัตว์ (Pesticides) , และโรงงานห้องเย็น [6],[15]
31 กำหนดให้โรงไฟฟ้าใหม่ที่มีการใช้เชื้อเพลิงมาจาก ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติหรือเชื้อเพลิงชีวมวลเป็นเชื้อเพลิง เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดและกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าเก่า ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละออง โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[10],[21]
32 กฎหมายกำหนดให้เตาเผามูลฝอยเก่าและใหม่ เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยโดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[8],[24]
33 กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[25]
34 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเคมีเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ และกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[13],[30]
35 ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมเคมี ปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ เว้นแต่อากาศเสียจะมีลักษณะเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี ที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำให้เจือจาง (Dilution) [6],[13]
36 กฎหมายกำหนดให้โรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ [6],[9],[26]
37 กฎหมายกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โดยในการเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่วิธีการที่ USEPA กำหนด หรือวิธีอื่นที่กรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือวิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [6],[9],[67]
38 กฎหมายกำหนดวิธีการตรวจวัดค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองด้วยเครื่องวัดความทึบแสง และแบบบันทึก [6],[67]
39 กฎหมายกำหนดเครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซหรือฝุ่นละอองซึ่งทำงานโดยระบบอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ ได้แก่ เครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซโอโซนในเวลา 1 ชั่วโมง เครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 1 ชั่วโมง เครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเวลา 24 ชั่วโมง หรือในเวลา 1 ปี และการหาค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10ไมครอน ในเวลา 24 ชั่วโมง หรือในเวลา 1 ปี [6],[65]
40 กฎหมายกำหนดค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง และหลักการ ขอบเขต และการคำนวณ วิธีการเก็บตัวอย่าง การตรวจวัด และเครื่องมือ ตรวจวิเคราะห์ค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง ให้เป็นไปตามที่วิธีการกรมควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา [6],[66]
41 ผู้ประกอบกิจการโรงงานมีหน้าที่ต้องจัดทำแบบรายงานข้อมูลทั่วไป (แบบ รว.1) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม แบบรายงานมลพิษน้ำ (แบบ รว.2) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ แบบรายงานมลพิษอากาศ (แบบ รว.3) สำหรับโรงงานที่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศให้ถูกต้องหรือสมบูรณ์ แล้วแต่กรณี และส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในสี่สิบห้าวัน นับจากวันได้รับแจ้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ [1],[62]
42 กฎหมายกำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน ได้แก่ ค่าความเข้มกลิ่นที่บริเวณรั้วหรือขอบเขตภายในโรงงาน และค่าความเข้มกลิ่นที่ปล่องระบายอากาศของโรงงาน และห้ามโรงงานระบายอากาศที่มีกลิ่นออกจากโรงงาน เว้นแต่ได้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างจนอากาศที่ระบายออกนั้นมีค่าความเข้มกลิ่นไม่เกินค่าที่กำหนดในกฎหมายแต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีทำ ให้เจือจาง [1],[7]
43 การตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นให้ใช้วิธีการตามที่ American Society for Testing and Materials (ASTM) หรือ Japanese Industrial Standard (JIS) ได้กำหนดไว้ หรือวิธีการอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [1],[7]
44 กฎหมายกำหนดการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (CEMS) ดังนี้ กำหนดให้ระบบสื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โรงงานในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย จังหวัดระยองให้จัดส่งรายงานผลการตรวจวัดไปที่ศูนย์รับข้อมูลสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โรงงานที่อยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมให้จัดส่งรายงานไปที่ศูนย์รับข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือศูนย์รับข้อมูลที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[2],[3],[4],[5],[64],[83]
45 กฎหมายกำหนดรายละเอียดการเชื่อมโยงระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (CEMS) คุณลักษณะเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์ และรูปแบบการเชื่อมโยงระบบ [1],[64]
46 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายตามกฎหมายต้องจัดทำบัญชีรายชื่ออุปกรณ์พร้อมผลการตรวจวัดการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยจากอุปกรณ์และการซ่อมแซมอุปกรณ์ โดยให้รายงานปริมาณสารอินทรีย์ระเหยรวมในรูปมีเทน (Total Volatile Organic Compounds: TVOC, as Methane) ที่รั่วซึมจากอุปกรณ์ที่ต้องตรวจวัดการรั่วซึม ซึ่งไม่รวมปริมาณสารอินทรีย์ระเหยที่รั่วซึมจากอุปกรณ์ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจวัดการรั่วซึม ตามแบบ รว.3/1 [1],[59],[63]
47 กฎหมายกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องรายงาน รวมทั้งรูปแบบและวิธีการจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน (รว. 1, รว. 2, และ รว.3) ให้เป็นไปตามหลักวิชาการทั้งมลพิษน้ำและมลพิษอากาศ [1],[48]
48 กฎหมายกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท ได้แก่ ลำดับที่ 88 ลำดับที่ 57 ลำดับที่ 38ลำดับที่ 49 ลำดับที่ 59 ลำดับที่ 60 ลำดับที่ 101 ลำดับที่ 42 และโรงงานทุกลำดับที่มีหม้อน้ำหรือแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีขนาด 30 ตันไอน้ำต่อชั่วโมง หรือ 100 เมกกะมิลเลี่ยนบีทียู (MMBTU) ต่อชั่วโมงขึ้นไป ต้องติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ พร้อมได้ระบุองค์ประกอบของเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษ และค่าพารามิเตอร์ของเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษที่ต้องตรวจวัดได้ [1],[49]
49 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานกรณีการใช้น้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม ได้แก่ ฝุ่นละออง (Particulate Matter) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) และไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (Hydrogen Fluoride) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) ไดออกซินและหรือฟูแรน (Dioxins/Furans) ในรูปสมมูลย์ความเป็นพิษ (TEQ) ปรอท (Mercury) โลหะหนักจำพวกพลวง (Antiminy) สารหนู (Arsenic) แคดเมี่ยม (Cadmium) ซีลีเนี่ยม (Selenium) และเทลลูเรียม (Tellurium) โลหะหนักจำพวกวาเนเดียม (Vanadium) โครเมี่ยม (Chromium) โคบอลต์ (Cobalt) นิเกิล (Nickle) ทองแดง (Copper) ตะกั่ว (Lead) แมงกานีส (Manganese) และดีบุก (Tin) เป็นต้น [1],[52]
50 การตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องโรงงานกรณีใช้น้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพ (Processed used-oil) และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (Synthetic fuel) เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม โดยให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[52]
51 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน ได้แก่ ฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate) พลวง (Antimony) สารหนู (Arsenic) ทองแดง (Copper) ตะกั่ว (Lead) ปรอท (Mercury) คลอรีน (Chlorine) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride) กรดกำมะถัน (Sulfuric acid) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of nitrogen) ไซลีน (Xylene) ครีซอล (Cresol) โดยการตรวจวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานให้ใช้วิธีการตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[53]
52 กฎหมายกำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน คือ อากาศที่ระบายออกจากปล่องหม้อน้ำโรงงานจำพวกที่ 3 ที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 1 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป ต้องมีเขม่าควันเจือปนอยู่ในปริมาณที่ทำให้เกิดค่าความทึบแสง เมื่อตรวจวัดด้วยแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ไม่เกินร้อยละ 10 ในการตรวจวัดความทึบแสงให้ตรวจวัดในขณะประกอบกิจการโรงงาน และหม้อน้ำมีการทำงานปกติ และวิธีการตรวจวัด การคำนวณ การเปรียบเทียบ และการสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงให้ใช้วิธีการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[51]
53 กฎหมายกำหนดปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิตแก้วและกระจก ได้แก่ ฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (Hydrogen Fluoride) ตะกั่ว (Lead) และสารหนู (Arsenic) โดยให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[56]
54 กฎหมายกำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม ได้แก่ ฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide) ออกไซด์ของไนโตรเจนในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์ (Oxide of Nitrogen as NO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride) ไดออกซินและฟูราน (Dioxin/Furans-TEQ) ปรอท (Mercury) Semi Volatile Metals ได้แก่ แคดเมียม (Cadmium) ตะกั่ว (Lead) และ Low Volatile Metals ได้แก่ สารหนู (Arsenic) เบริลเลียม (Baryllium) โครเมียม (Chromium) โดยให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ตามที่ USEPA กำหนดไว้ หรือวิธีอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ [1],[58]
55 กฎหมายกำหนดอัตราการปล่อยมลสารทางอากาศจากปล่องโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานซึ่งกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือตามมาตการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของแต่ละนิคมอุตสาหกรรม [1],[2],[3],[4],[5],[61]
56 การกำหนดอัตราการระบายมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ในการพิจารณาอนุญาต กนอ. จะคำนึงถึงความจำเป็นในการบริหารจัดการ การกำกับดูแล และการป้องกันผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมตามลักษณะของนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรม หรือกลุ่มกิจกรรมในแต่ละนิคมอุตสาหกรรมประกอบด้วย [1],[2],[3],[4],[5],[60]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
3 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
4 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
5 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
6 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
7 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. 2548
8 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เตาเผามูลฝอยเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
9 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
10 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงไฟฟ้าใหม่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
11 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานปูนซีเมนต์เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
12 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานปูนซีเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
13 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเคมีบางประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
14 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
15 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทและบางขนาดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศ
16 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงสีข้าวทุกประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
17 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้คลังน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
18 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้คลังน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
19 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้ท่าเรือบางประเภทเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียสู่บรรยากาศ
20 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สถานประกอบกิจการหลอมและต้มทองคำเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
21 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่องทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้าใหม่
22 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
23 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2)
24 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย
25 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
26 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
27 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานปูนซีเมนต์
28 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานปูนซีเมนต์ที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัตถุดิบในการผลิต
29 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
30 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเคมี
31 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากสถานประกอบกิจการหลอมและต้มทองคำ
32 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ
33 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากสถานประกอบกิจการที่ใช้หม้อไอน้ำ
34 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากท่าเรือ
35 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำ
36 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากโรงสีข้าว
37 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงโม่ บด หรือย่อยหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ
38 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม
39 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้โรงงานเหล็กเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่บรรยากาศ
40 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
41 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้า
42 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงงานเหล็ก
43 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยฝุ่นละอองจากโรงโม่ บด หรือย่อยหิน
44 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) เรื่อง การกำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้าเก่า
45 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งไอน้ำมันเบนซินจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
46 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดให้โรงไฟฟ้าเก่าเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม
47 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2544) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
48 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2558
49 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานประเภทต่างๆ ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ เพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ พ.ศ. 2544
50 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำโรงสีข้าวที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. 2549
51 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณเขม่าควันที่เจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องของหม้อน้ำของโรงงาน พ.ศ. 2549
52 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน กรณีการใช้น้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548
53 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549
54 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานปูนซีเมนต์ พ.ศ. 2549
55 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2547
56 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิตแก้วและกระจก พ.ศ. 2555
57 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม พ.ศ. 2553
58 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545
59 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการปฏิบัติในการตรวจสอบและควบคุมการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยจากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555
60 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 79 /2549 เรื่อง การกำหนดอัตราการปล่อยมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม (แก้ไขเพิ่มเติม)
61 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 46 /2541 เรื่อง การกำหนดอัตราการปล่อยมลสารทางอากาศจากปล่องของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
62 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง แบบรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2559
63 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การรายงานผลการตรวจวัดการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยจากอุปกรณ์ และการซ่อมแซมอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556
64 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring Systems : CEMS) พ.ศ. 2550
65 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง เครื่องวัดหาค่าเฉลี่ยของก๊าซหรือฝุ่นละออง ซึ่งทำงานโดยระบบอื่นที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ
66 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง กำหนดค่าเฝ้าระวังสำหรับสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 24 ชั่วโมง
67 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดค่าความทึบแสงของฝุ่นละอองด้วยเครื่องวัดความทึบแสง
68 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีตรวจวัดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
69 ประกาศคณะกรรมการ ควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory test) และการขึ้นบัญชีรายชื่อผู้ทดสอบกลิ่นของ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
70 ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง แบบบันทึกผลการตรวจวัดค่าความทึบแสง และแบบสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของ เตาเผามูลฝอย รวมทั้ง ลักษณะ และหน่วยวัดค่าความทึบแสงของแผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์
71 ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัด ลักษณะและหน่วยวัดการคำนวณเปรียบเทียบแบบบันทึกและการรายงานผลค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงสีข้าวที่ใช้หม้อไอน้ำ
72 ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด และจุดตรวจวัดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากโรงสีข้าว
73 ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดฝุ่นละอองฟุ้งกระจายจากท่าเรือด้วยเครื่องวัดความทึบแสง
74 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป
75 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ ในบรรยากาศโดยทั่วไป
76 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ชั่วโมง
77 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ชั่วโมง
78 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2547) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
79 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
80 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา 1 ปี
81 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ในบรรยากาศโดยทั่วไป
82 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศโดยทั่วไป
83 ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วย กำหนดประเภทโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ต้องติดตั้งเครื่องมือหรือ เครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติ พ.ศ. 2553
84 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องจัดทำรายงานชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2553
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 แบบบันทึกผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควัน (แบบ ขค.01-49)
2 แบบสรุปผลการตรวจวัดค่าความทึบแสงของเขม่าควัน (แบบ ขค.02-49)
3 แบบรายงานผลวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษ (แบบ รว.1)
4 แบบรายงานมลพิษอากาศ (1แบบรายงานต่อ 1 ปล่อง) (แบบ รว.3)
5 การรายงานผลการตรวจวัดการรั่วซึมของสารอินทรียระเหยจากอุปกรณ์และการซ่อมแซมอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม (แบบ รว.3/1)