1.2 การรับทราบสิทธิประโยชน์ของ กนอ.

รายละเอียด
การรับทราบสิทธิประโยชน์ในการลงทุนของ IEAT เป็นขั้นตอนที่นักลงทุนหรือนักธุรกิจทำการศึกษาสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้ามาเปิดกิจการ หรือสร้างอาคารสำนักงาน โรงงาน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ จึงต้องมีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบบริหารจัดการรวมถึง "สิทธิประโยชน์" ต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น มีขีดความสามารถในการเลือกตลาดการค้าได้ตามสภาวะแข่งขันปัจจุบัน ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือผลิตเพื่อส่งออก พื้นที่เพื่อประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม จำแนกออกเป็น 2 เขต คือ
• เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone: GIZ)
• เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone) โดยผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั้งสองจะได้รับโอกาสและทางเลือกตลอดจนสิทธิประโยชน์ ดังนี้
สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตประกอบการเสรี
• ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบการพาณิชยกรรม ทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างด้าว อาจได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อประกอบกิจการได้ตามจำนวนเนื้อที่ ที่คณะกรรมการ กนอ. เห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น
• ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบพาณิชยกรรม จะได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ คู่สมรส และบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร ตามจำนวนและภายในกำหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการ กนอ. เห็นสมควร
• คนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ได้รับอนุญาตให้ทำงานเฉพาะตำแหน่งที่คณะกรรมการ กนอ. ให้ความเห็นชอบ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
• ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบพาณิชยกรรม ซึ่งมีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักร จะได้รับอนุญาตให้ส่งเงินออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้ เมื่อเงินนั้นเป็นเงินทุนที่นำเข้ามา เงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินทุนนั้น เงินกู้ต่างประเทศ และเงินที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบพาณิชยกรรมมีข้อผูกพันกับต่างประเทศ
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและการอำนวยความสะดวกในเขตประกอบการเสรี
• ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้า หรือเพื่อพาณิชยกรรมและของที่ใช้ในการสร้าง ประกอบ หรือติดตั้งในโรงงานหรืออาคาร สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่เกิดขึ้นให้กับเครื่องจักร อุปกรณ์ฯ ไม่ผูกพันความเป็นเจ้าของของผู้ประกอบการ
• ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรม สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่เกิดขึ้นให้กับของ ไม่ผูกพันความเป็นเจ้าของของผู้ประกอบการ
• ได้รับการยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับวัตถุดิบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งพลอยได้ และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิต
• ได้รับการยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากร สำหรับของที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ได้รับยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากร เมื่อได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งถึงแม้จะมิได้มีการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แต่ได้เป็นการนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ฯ และวัตถุดิบ
• ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเขตปลอดอากร
• ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำวัตถุดิบภายในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสม ประกอบบรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออก ให้ยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้า การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ การควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพ การประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ แก่ของนั้น แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร แต่ถ้าของดังกล่าวก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง สุขภาพอนามัยของประชาชน หรือสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของของนั้นมิให้ได้รับยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว
• การขายผลิตภัณฑ์จากเขตประกอบการเสรีเข้ามาในประเทศสามารถนำราคาวัตถุดิบที่ไม่มีสิทธิคืน หรือยกเว้นอากร หักจากราคาผลิตภัณฑ์ก่อนคำนวณราคาภาษีอากร
รายละเอียด
การรับทราบสิทธิประโยชน์ในการลงทุนของ IEAT เป็นขั้นตอนที่นักลงทุนหรือนักธุรกิจทำการศึกษาสิทธิประโยชน์ทางธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้ามาเปิดกิจการ หรือสร้างอาคารสำนักงาน โรงงาน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ จึงต้องมีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบบริหารจัดการรวมถึง "สิทธิประโยชน์" ต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น มีขีดความสามารถในการเลือกตลาดการค้าได้ตามสภาวะแข่งขันปัจจุบัน ไม่ว่าจะขายในประเทศหรือผลิตเพื่อส่งออก พื้นที่เพื่อประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม จำแนกออกเป็น 2 เขต คือ
• เขตอุตสาหกรรมทั่วไป (General Industrial Zone: GIZ)
• เขตประกอบการเสรี (I-EA-T Free Zone) โดยผู้ลงทุนในเขตอุตสาหกรรมทั้งสองจะได้รับโอกาสและทางเลือกตลอดจนสิทธิประโยชน์ ดังนี้
สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรในเขตอุตสาหกรรมทั่วไปและเขตประกอบการเสรี
• ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบการพาณิชยกรรม ทั้งที่เป็นคนไทยและคนต่างด้าว อาจได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อประกอบกิจการได้ตามจำนวนเนื้อที่ ที่คณะกรรมการ กนอ. เห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น
• ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบพาณิชยกรรม จะได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการ คู่สมรส และบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักร ตามจำนวนและภายในกำหนดระยะเวลาที่คณะกรรมการ กนอ. เห็นสมควร
• คนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ได้รับอนุญาตให้ทำงานเฉพาะตำแหน่งที่คณะกรรมการ กนอ. ให้ความเห็นชอบ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
• ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบพาณิชยกรรม ซึ่งมีภูมิลำเนานอกราชอาณาจักร จะได้รับอนุญาตให้ส่งเงินออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นเงินตราต่างประเทศได้ เมื่อเงินนั้นเป็นเงินทุนที่นำเข้ามา เงินปันผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินทุนนั้น เงินกู้ต่างประเทศ และเงินที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรือการบริการ หรือผู้ประกอบพาณิชยกรรมมีข้อผูกพันกับต่างประเทศ
สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและการอำนวยความสะดวกในเขตประกอบการเสรี
• ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้า หรือเพื่อพาณิชยกรรมและของที่ใช้ในการสร้าง ประกอบ หรือติดตั้งในโรงงานหรืออาคาร สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่เกิดขึ้นให้กับเครื่องจักร อุปกรณ์ฯ ไม่ผูกพันความเป็นเจ้าของของผู้ประกอบการ
• ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรม สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่เกิดขึ้นให้กับของ ไม่ผูกพันความเป็นเจ้าของของผู้ประกอบการ
• ได้รับการยกเว้นอากรขาออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับวัตถุดิบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งพลอยได้ และสิ่งอื่นที่ได้จากการผลิต
• ได้รับการยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากร สำหรับของที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ได้รับยกเว้นหรือคืนค่าภาษีอากร เมื่อได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งถึงแม้จะมิได้มีการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แต่ได้เป็นการนำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี สำหรับเครื่องจักร อุปกรณ์ฯ และวัตถุดิบ
• ของที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรีได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับเขตปลอดอากร
• ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำวัตถุดิบภายในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตประกอบการเสรีเพื่อผลิต ผสม ประกอบบรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออก ให้ยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการนำเข้า การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การครอบครองหรือการใช้ประโยชน์ การควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพ การประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ แก่ของนั้น แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงกฎหมายว่าด้วยศุลกากร แต่ถ้าของดังกล่าวก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง สุขภาพอนามัยของประชาชน หรือสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของของนั้นมิให้ได้รับยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว
• การขายผลิตภัณฑ์จากเขตประกอบการเสรีเข้ามาในประเทศสามารถนำราคาวัตถุดิบที่ไม่มีสิทธิคืน หรือยกเว้นอากร หักจากราคาผลิตภัณฑ์ก่อนคำนวณราคาภาษีอากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
2 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
3 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
4 พระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550
5 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
6 พระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
7 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 63 /2551 เรื่อง แบบคำขอ แบบใบรับรอง แบบรายงาน และหนังสือรับรองการขอรับสิทธิประโยชน์
8 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 96 /2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรมในเขตประกอบการเสรี
9 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและแบบในการอนุญาตให้นำของในเขตประกอบการเสรี ออกจากเขตประกอบการเสรี
10 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
11 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2)
12 ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
13 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนและระยะเวลาให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ ในราชอาณาจักร และการกำหนดตำแหน่งหน้าที่การทำงานให้คนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ได้รับอนุญาตให้ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม
14 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตสำหรับของที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ และวัตถุดิบ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรม
15 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตสำหรับของที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ และวัตถุดิบ รวมทั้งส่วนประกอบของสิ่งดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชยกรรม (ฉบับที่ 2)
16 ประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง การขอได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับของกฎหมายควบคุมสำหรับของหรือวัตถุดิบที่นำเข้าไปในเขตประกอบการเสรี
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม