3.1.1.3 กากอุตสาหกรรม

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 14 ฉบับ
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 9 ฉบับ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
จำนวน 1 ฉบับ
1 กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งสถานที่ฝังกลบกากของเสีย ได้แก่ การกำหนดลักษณะของพื้นที่ที่ไม่ควรใช้เป็นสถานที่ฝังกลบกากของเสีย การกำหนดสถานที่ที่สถานที่ฝังกลบกากของเสียควรอยู่ห่าง การกำหนดลักษณะสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่ซึ่งจะจัดทำสถานที่ฝังกลบกากของเสีย เป็นต้น [1],[2],[14]
2 กฎหมายกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงาน36ลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 [1],[26]
3 37กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา การแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย ประกอบด้วย การตรวจสอบเอกสารของตัวแทน และการเตรียมเอกสารสำหรับการยื่นขอแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย [1],[24]
4 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ได้แก่ การรับมอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว การบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และการควบคุมและกำกับดูแล เป็นต้น [1],[22]
5 กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ การกำหนดรหัสพิกัดอัตราอากรขาเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว และของชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว การกำหนดลักษณะการนำเข้ามา 4 ลักษณะ การกำหนดคุณสมบัติและการดำเนินการของผู้นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว และกรณีที่ไม่คลอบคลุมในการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว เป็นต้น [1],[16],[17],[18]
6 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้ผู้ประกอบกิจการรับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะเพื่อกำจัดโดยวิธีการเผาทำลายในเตาเผาอุตสาหกรรมเฉพาะสำหรับของเสียอันตรายเท่านั้น ห้ามเผาทำลายในเตาเผาปูนซีเมนต์ และเตาเผาปูนขาว [1],[21]
7 กฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่าเกี่ยวกับการดำเนินการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลและวัสดุไม่ใช้แล้ว ได้แก่ การกำจัดฝุ่นจากระบบบำบัด การจัดเก็บตะกรัน การกำจัดกากตะกอนปนเปื้อนตะกั่วที่มาจากระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น [1],[10]
8 กฎหมายกำหนดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ได้แก่ ลักษณะสถานที่จัดเก็บแผ่นธาตุแบตเตอรี่เก่าและวัสดุที่ก่อให้เกิดฝุ่นตะกั่ว สถานที่จัดเก็บหม้อแบตเตอรี่เก่า ลักษณะของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในโรงงาน มาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยของพนักงาน มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยเกี่ยวกับการการแพร่กระจายของสารตะกั่ว มาตรการตรวจสอบคุณภาพอากาศต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกๆ 3 เดือน เป็นต้น [1],[6]
9 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่าต้องจัดทำรายงานข้อมูลจากการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษในระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม [1],[4]
10 กฎหมายกำหนดลักษณะของน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนน้ำมันเตา โดยต้องทำการทดสอบพารามิเตอร์ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด และรายงานให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และแจ้งรายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมที่นำน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในเตาอุตสาหกรรมเป็นรายเดือน [1],[5]
11 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ (Internet) [1],[11]
12 กฎหมายกำหนดให้ของเสียอันตรายที่เป็นวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย [1],[9]
13 การะบุนิยามคำศัพท์ที่ชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม เช่น สิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว (Industrial Waste) ของเสียอันตราย (Hazardous Waste) ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช่แล้ว (Waste Generator, WG) ผู้รวบรวมและขนส่ง (Waste Transporter, WT) ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste Processer, WP) ใบกำกับการขนส่ง (แบบกำกับการขนส่ง 02) การแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการระบุรหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว มีการะบุหน้าที่ความรับผิดชอบ และบทกำหนดโทษในการกระทำผิดของผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว ผู้รวบรวมและเก็บขนสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว และผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้วอย่างชัดเจน มีการระบุวิธีการวิเคราะห์ความเป็นอันตรายของกากอุตสาหกรรมชัดเจน มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช่แล้ว [1],[3]
14 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุญาตนำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ คุณสมบัติและการปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ขอรับใบอนุญาตนำเศษพลาสติกเข้ามาในราชอาณาจักร หากพบว่ามีเศษพลาสติกที่นำเข้าไม่เป็นไปตามลักษณะที่กำหนดในกฎหมาย ผู้ขอรับใบอนุญาต และบริษัทผู้นำเข้าจะต้องรับผิดชอบในการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เป็นต้น [1],[12],[13],[20],[23]
15 กฎหมายกำหนดเงื่อนไขยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการผลิต การมีไว้ในครอบครอง การส่งออก และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว ของเสียเคมีวัตถุ [1],[7],[8]
16 กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการขออนุญาตให้นำของเสียเคมีวัตถุที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบการได้ ดังนี้ ขอเสียเคมีวัตถุที่เป็นวัตถุอันตรายจะอนุญาตให้นำเข้ามาเมื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของโรงงานเท่านั้น ต้องนำตัวอย่างของเสียเคมีวัตถุในปริมาณพอสมควรมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมรูปถ่ายของภาชนะ ต้องทำแผนการนำเข้าของของเสียเคมีวัตถุที่ใช้ในแต่ละปี ต้องจัดทำระบบกำจัดของเสียที่เกิดจากการนำของเสียเคมีวัตถุมาใช้ในการผลิตสินค้า กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานพิจารณาอนุญาตตามอนุสัญญาบาเซลเท่านั้น [1],[19]
17 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดเกี่ยวกับการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และรายงานประจำปีให้แก่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมที่โรงงานนั้นตั้งอยู่ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป [1],[15]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 14 ฉบับ
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 9 ฉบับ
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
จำนวน 1 ฉบับ
1 กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งสถานที่ฝังกลบกากของเสีย ได้แก่ การกำหนดลักษณะของพื้นที่ที่ไม่ควรใช้เป็นสถานที่ฝังกลบกากของเสีย การกำหนดสถานที่ที่สถานที่ฝังกลบกากของเสียควรอยู่ห่าง การกำหนดลักษณะสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่ซึ่งจะจัดทำสถานที่ฝังกลบกากของเสีย เป็นต้น [1],[2],[14]
2 กฎหมายกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงาน36ลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 [1],[26]
3 37กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณา การแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย ประกอบด้วย การตรวจสอบเอกสารของตัวแทน และการเตรียมเอกสารสำหรับการยื่นขอแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย [1],[24]
4 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ได้แก่ การรับมอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว การบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และการควบคุมและกำกับดูแล เป็นต้น [1],[22]
5 กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ การกำหนดรหัสพิกัดอัตราอากรขาเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว และของชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว การกำหนดลักษณะการนำเข้ามา 4 ลักษณะ การกำหนดคุณสมบัติและการดำเนินการของผู้นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว และกรณีที่ไม่คลอบคลุมในการนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว เป็นต้น [1],[16],[17],[18]
6 หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้ผู้ประกอบกิจการรับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะเพื่อกำจัดโดยวิธีการเผาทำลายในเตาเผาอุตสาหกรรมเฉพาะสำหรับของเสียอันตรายเท่านั้น ห้ามเผาทำลายในเตาเผาปูนซีเมนต์ และเตาเผาปูนขาว [1],[21]
7 กฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่าเกี่ยวกับการดำเนินการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลและวัสดุไม่ใช้แล้ว ได้แก่ การกำจัดฝุ่นจากระบบบำบัด การจัดเก็บตะกรัน การกำจัดกากตะกอนปนเปื้อนตะกั่วที่มาจากระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น [1],[10]
8 กฎหมายกำหนดมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า ได้แก่ ลักษณะสถานที่จัดเก็บแผ่นธาตุแบตเตอรี่เก่าและวัสดุที่ก่อให้เกิดฝุ่นตะกั่ว สถานที่จัดเก็บหม้อแบตเตอรี่เก่า ลักษณะของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในโรงงาน มาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยของพนักงาน มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยเกี่ยวกับการการแพร่กระจายของสารตะกั่ว มาตรการตรวจสอบคุณภาพอากาศต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกๆ 3 เดือน เป็นต้น [1],[6]
9 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่าต้องจัดทำรายงานข้อมูลจากการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การวิเคราะห์ปริมาณสารมลพิษในระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม [1],[4]
10 กฎหมายกำหนดลักษณะของน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนน้ำมันเตา โดยต้องทำการทดสอบพารามิเตอร์ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด และรายงานให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และแจ้งรายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมที่นำน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในเตาอุตสาหกรรมเป็นรายเดือน [1],[5]
11 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ (Internet) [1],[11]
12 กฎหมายกำหนดให้ของเสียอันตรายที่เป็นวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย [1],[9]
13 การะบุนิยามคำศัพท์ที่ชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม เช่น สิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว (Industrial Waste) ของเสียอันตราย (Hazardous Waste) ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช่แล้ว (Waste Generator, WG) ผู้รวบรวมและขนส่ง (Waste Transporter, WT) ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste Processer, WP) ใบกำกับการขนส่ง (แบบกำกับการขนส่ง 02) การแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีการระบุรหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว มีการะบุหน้าที่ความรับผิดชอบ และบทกำหนดโทษในการกระทำผิดของผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว ผู้รวบรวมและเก็บขนสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้ว และผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุไม่ใช้แล้วอย่างชัดเจน มีการระบุวิธีการวิเคราะห์ความเป็นอันตรายของกากอุตสาหกรรมชัดเจน มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช่แล้ว [1],[3]
14 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุญาตนำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ คุณสมบัติและการปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ขอรับใบอนุญาตนำเศษพลาสติกเข้ามาในราชอาณาจักร หากพบว่ามีเศษพลาสติกที่นำเข้าไม่เป็นไปตามลักษณะที่กำหนดในกฎหมาย ผู้ขอรับใบอนุญาต และบริษัทผู้นำเข้าจะต้องรับผิดชอบในการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น เป็นต้น [1],[12],[13],[20],[23]
15 กฎหมายกำหนดเงื่อนไขยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการผลิต การมีไว้ในครอบครอง การส่งออก และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว ของเสียเคมีวัตถุ [1],[7],[8]
16 กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการขออนุญาตให้นำของเสียเคมีวัตถุที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักรต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบการได้ ดังนี้ ขอเสียเคมีวัตถุที่เป็นวัตถุอันตรายจะอนุญาตให้นำเข้ามาเมื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของโรงงานเท่านั้น ต้องนำตัวอย่างของเสียเคมีวัตถุในปริมาณพอสมควรมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมรูปถ่ายของภาชนะ ต้องทำแผนการนำเข้าของของเสียเคมีวัตถุที่ใช้ในแต่ละปี ต้องจัดทำระบบกำจัดของเสียที่เกิดจากการนำของเสียเคมีวัตถุมาใช้ในการผลิตสินค้า กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานพิจารณาอนุญาตตามอนุสัญญาบาเซลเท่านั้น [1],[19]
17 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดเกี่ยวกับการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และรายงานประจำปีให้แก่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมที่โรงงานนั้นตั้งอยู่ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป [1],[15]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
3 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
4 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การรายงานข้อมูลต่างๆ ของโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า
5 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดลักษณะของน้ำมันใช้แล้วที่ผ่านกระบวนการปรับคุณภาพและเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนน้ำมันเตา พ.ศ. 2547
6 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่า
7 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการผลิต การไว้ในครอบครอง การส่งออก และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณทอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้ว) ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2546
8 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับวัตถุอันตราย (ของเสียเคมีวัตถุ) ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2543
9 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547
10 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการโรงงานหลอมตะกั่วจากแบตเตอรี่เก่าเกี่ยวกับการดำเนินการกำจัดขยะสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
11 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงาน โดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet) พ.ศ. 2547
12 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุญาตนำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นพลาสติก ไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตาม เข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2549
13 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุญาตนำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
14 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงาน ลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106
15 ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 79 /2554 เรื่อง วิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นในนิคมอุตสาหกรรม
16 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร
17 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
18 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550
19 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้นำของเสียเคมีวัตถุ (CHEMICAL WASTES) ที่เป็นวัตถุอันตรายเข้ามาในราชอาณาจักร
20 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตให้นำเศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
21 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2551
22 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2550
23 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ในการอนุญาตให้นำเศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ซึ่งเป็นพลาสติกไม่ว่าใช้แล้วหรือไม่ก็ตามเข้ามาในราชอาณาจักร
24 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณา การแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
25 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งสถานที่ฝังกลบกากของเสีย
26 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยเรื่องรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาต ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลำดับที่ 105 และลำดับที่ 106 พ.ศ. 2545
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณแบตเตอรี่เก่า ผลผลิต การจำหน่ายผลิตภัณฑ์และกากของเสีย
2 รายงานผลการตรวจสอบปริมาณตะกั่วปนเปื้อนในน้ำทิ้งและน้ำฝนที่ระบายออกนอกบริเวณโรงงาน
3 รายงานการตรวจสอบการปนเปื้อนตะกั่วในแหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ดินบริเวณผิวดิน
4 รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพอากาศ
5 หนังสือมอบอำนาจในการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย (ฉบับสำหรับกรมโรงงานอุตสาหกรรม) แบบ สข.6.1
6 หนังสือมอบอำนาจในการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย (ฉบับสำหรับผู้แต่งตั้งตัวแทน) แบบ สข.6.2
7 หนังสือมอบอำนาจในการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเป็นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย (ฉบับสำหรับผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทน) แบบ สข.6.3
8 แบบขอขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในบริเวณโรงงาน (แบบ สก.1)
9 แบบคำขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (แบบ สก.2)
10 ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสำหรับผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (แบบ สก.3)
11 ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับผู้รวบรวมและขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว (แบบ สก.4)
12 ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสำหรับผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (แบบ สก.5)
13 บัญชีแสดงการรับมอบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (แบบ สก.6)
14 บัญชีแสดงรายการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ทำการบำบัดหรือกำจัด (แบบ สก.7)
15 บัญชีแสดงรายการผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงผสม/วัตถุดิบทดแทน (แบบ สก.8)
16 บัญชีแสดงการรับมอบเชื้อเพลิงผสม/วัตถุดิบทดแทน (แบบ สก.9)