3.1.2.10 งานประดาน้ำ

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 1 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 7 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการจะให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ ณ สถานที่ใด หรือเปลี่ยนสถานที่การทำงานประดาน้ำต้องแจ้งสถานที่นั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบล่วงหน้าก่อนการทำงานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามแบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานของลูกจ้างทำงานประดาน้ำ [1],[2],[7]
2 ห้ามให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ ในกรณีที่เป็นโรคดังต่อไปนี้ โรคหรือปัญหาการไม่สามารถปรับความดันในหูชั้นกลาง และหรือไซนัสอย่างเรื้อรัง,การฉีกขาดของเยื่อแก้วหู, โรคหูนํ้าหนวกเรื้อรัง, โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน รวมถึงเวสติบูลาร์, โรคปอดอุดกั้นหรือเรื้อรัง รวมถึงโรคหืดหอบ และโรคถุงลมโป่งพอง, โรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax) , โรคของปอดที่มีโพรง หรือถุงอากาศภายในเนื้อปอด, ประวัติโรคลมชักหรือการชักใด ๆ, โรคของระบบประสาทส่วนกลางที่อาจส่งผลต่อการทำงานอย่างปลอดภัย, โรคจิตเภท, โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด, โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, โรคเบาหวาน, โรคการตายของเนื้อกระดูกบริเวณใกล้ข้อ (Juxta - articular Osteonecrosis) , โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮีโมโกลบิน, โรคมะเร็งนอกเหนือจากมะเร็งที่รักษาหายขาด และไม่มีการกำเริบภายใน 5 ปี, โรคไส้เลื่อนที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด, และ โรคอื่น ๆ ที่แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำตรวจวินิจฉัยแล้วว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ [1],[2],[8]
3 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ เข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ ตามกำหนดระยะเวลาในกฎหมาย [1],[2],[9]
4 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีระบบการให้คำปรึกษาและการส่งต่อลูกจ้างผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยมิชักช้าในกรณีเกิดอันตรายจากการทำงานประดาน้ำ [1],[2],[9]
5 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้าง โดยมีรายละเอียดตามกฎหมายกำหนด และเก็บบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ในสถานประกอบกิจการพร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา [1],[2],[9]
6 ในการทำงานประดาน้ำต้องควบคุมให้ลูกจ้างปฏิบัติตามตารางมาตรฐานการดำน้ำและการลดความกดดัน ตลอดจนการพักเพื่อปรับสภาพร่างกายก่อนที่จะดำลงในครั้งต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด [1],[2],[5]
7 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีลูกจ้าง พยาบาลเวชศาสตร์ใต้น้ำ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนดในตารางท้ายกฎกระทรวงนี้ [1],[2],[5]
8 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีบริการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และออกซิเจนหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์พร้อมหน้ากากช่วยหายใจ เพื่อช่วยเหลือนักประดาน้ำตลอดระยะเวลาที่มีการดำน้ำ [1],[2],[5]
9 ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำอาจปฏิเสธการดำน้ำในคราวใดก็ได้ หากเห็นว่าการดำน้ำคราวนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของตน [1],[2],[5]
10 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการทำงานประดาน้ำเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และต้องบำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนดในคู่มือของผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละชนิด [1],[2],[5]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 1 ฉบับ
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
จำนวน 7 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการจะให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ ณ สถานที่ใด หรือเปลี่ยนสถานที่การทำงานประดาน้ำต้องแจ้งสถานที่นั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบล่วงหน้าก่อนการทำงานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามแบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานของลูกจ้างทำงานประดาน้ำ [1],[2],[7]
2 ห้ามให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ ในกรณีที่เป็นโรคดังต่อไปนี้ โรคหรือปัญหาการไม่สามารถปรับความดันในหูชั้นกลาง และหรือไซนัสอย่างเรื้อรัง,การฉีกขาดของเยื่อแก้วหู, โรคหูนํ้าหนวกเรื้อรัง, โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน รวมถึงเวสติบูลาร์, โรคปอดอุดกั้นหรือเรื้อรัง รวมถึงโรคหืดหอบ และโรคถุงลมโป่งพอง, โรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax) , โรคของปอดที่มีโพรง หรือถุงอากาศภายในเนื้อปอด, ประวัติโรคลมชักหรือการชักใด ๆ, โรคของระบบประสาทส่วนกลางที่อาจส่งผลต่อการทำงานอย่างปลอดภัย, โรคจิตเภท, โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด, โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, โรคเบาหวาน, โรคการตายของเนื้อกระดูกบริเวณใกล้ข้อ (Juxta - articular Osteonecrosis) , โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮีโมโกลบิน, โรคมะเร็งนอกเหนือจากมะเร็งที่รักษาหายขาด และไม่มีการกำเริบภายใน 5 ปี, โรคไส้เลื่อนที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด, และ โรคอื่น ๆ ที่แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำตรวจวินิจฉัยแล้วว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ [1],[2],[8]
3 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ เข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ ตามกำหนดระยะเวลาในกฎหมาย [1],[2],[9]
4 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีระบบการให้คำปรึกษาและการส่งต่อลูกจ้างผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยมิชักช้าในกรณีเกิดอันตรายจากการทำงานประดาน้ำ [1],[2],[9]
5 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้าง โดยมีรายละเอียดตามกฎหมายกำหนด และเก็บบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ในสถานประกอบกิจการพร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา [1],[2],[9]
6 ในการทำงานประดาน้ำต้องควบคุมให้ลูกจ้างปฏิบัติตามตารางมาตรฐานการดำน้ำและการลดความกดดัน ตลอดจนการพักเพื่อปรับสภาพร่างกายก่อนที่จะดำลงในครั้งต่อไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด [1],[2],[5]
7 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีลูกจ้าง พยาบาลเวชศาสตร์ใต้น้ำ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนดในตารางท้ายกฎกระทรวงนี้ [1],[2],[5]
8 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีบริการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และออกซิเจนหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์พร้อมหน้ากากช่วยหายใจ เพื่อช่วยเหลือนักประดาน้ำตลอดระยะเวลาที่มีการดำน้ำ [1],[2],[5]
9 ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำอาจปฏิเสธการดำน้ำในคราวใดก็ได้ หากเห็นว่าการดำน้ำคราวนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของตน [1],[2],[5]
10 ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการทำงานประดาน้ำเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และต้องบำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนดในคู่มือของผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละชนิด [1],[2],[5]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
3 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
4 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551
5 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
6 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553
7 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. 2548
8 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานของลูกจ้างทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2552
9 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง โรคที่ห้ามทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2553
10 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจสุขภาพและจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2553
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม