3.1.2.5 กัมมันตรังสี และรังสีที่ก่อให้เกิดไอออน

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 3 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างซึ่งผลิตหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งต้นกำเนิดรังสีต้องแจ้งจำนวน และปริมาณความแรงรังสีดังกล่าวต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง [1],[2],[3]
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องกำหนดพื้นที่ควบคุมโดยจัดทำรั้ว คอกกั้น หรือเส้นแสดงแนวเขต และจัดทำป้ายเตือนข้อความ "ระวังอันตรายจากรังสี ห้ามเข้า" อย่างน้อยเป็นภาษาไทย ด้วยอักษรสีดำบนพื้นสีเหลืองแสดงไว้ให้เห็นโดยชัดเจนในบริเวณนั้น [1],[2],[3]
3 ห้ามลูกจ้างซึ่งไม่มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสี หรือบุคคลภายนอกหรือหญิงมีครรภ์เข้าไปในบริเวณพื้นที่ควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต [1],[2],[3]
4 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยลดปริมาณรังสีที่ต้นกำเนิดรังสีหรือที่ทางผ่านของรังสี และกำหนดวิธีและเวลาการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุมได้รับปริมาณรังสีสะสมเกินเกณฑ์กำหนด ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำทุกเดือนตามแบบที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีลูกจ้างเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีประจำสถานประกอบกิจการตลอดระยะเวลาที่มีการทำงานเกี่ยวกับรังสี [1],[2],[3]
7 ห้ามให้ลูกจ้างเข้าพักอาศัย พักผ่อน นำอาหาร เครื่องดื่มหรือบุหรี่เข้าไปในพื้นที่ควบคุม [1],[2],[3]
8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดเตรียมที่ล้างมือ ที่ล้างน้ำและที่อาบน้ำ เพื่อให้ลูกจ้างใช้หลังจากปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีก่อนออกจากที่ทำงาน และต้องให้ลูกจ้างถอดชุดทำงานที่ใช้ปฏิบัติงานเป็นไว้ในสถานที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ [1],[2],[3]
9 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอันตรายจากรังสีในภาวะการทำงานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุ และต้องมีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินทั้งสองรูปแบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง [1],[2],[3]
10 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องเก็บรักษา เคลื่อนย้าย และขนส่งต้นกำเนิดรังสี รวมทั้งการจัดการกากกัมมันตภาพรังสีเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
11 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมาย ฉลาก และสัญญาณเตือน เช่น เครื่องหมายเตือนภัย ฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือน เป็นต้น โดยมีรายละเอียดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
12 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดรายงานเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรง ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ ในกรณีที่มีการตาย การเจ็บป่วย การประสบภัย หรือการเกิดโรคจากการทำงานเกี่ยวกับรังสีขึ้นอันเนื่องจากเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรงนั้น ต้องจัดรายงานเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรง ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ [1],[2],[3]
13 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้าง และต้องอบรมลูกจ้างให้ความเข้าใจอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีก่อนเข้ารับหน้าที่ในพื้นที่ควบคุม [1],[2],[3]
14 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสีตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง [1],[2],[3]
15 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างน้อยสามหน่วยกิต หรือผ่านการอบรมการใช้การดูแลรักษาและการป้องกันอันตรายจากการใช้อุปกรณ์และสารกัมมันตรังสีจากสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นผู้ควบคุมดูแลประจำโรงงานเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สารกัมมันตรังสี [1],[2],[4],[6],[7]
16 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี ต้องจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน แหล่งที่มา วิธีการใช้ และการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสีตามแบบ ร.ง. 7 และแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายในกำหนด 180 วัน [1],[2],[5]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
จำนวน 2 ฉบับ
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
จำนวน 3 ฉบับ
1 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างซึ่งผลิตหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งต้นกำเนิดรังสีต้องแจ้งจำนวน และปริมาณความแรงรังสีดังกล่าวต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันที่ผลิตหรือมีไว้ในครอบครอง [1],[2],[3]
2 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องกำหนดพื้นที่ควบคุมโดยจัดทำรั้ว คอกกั้น หรือเส้นแสดงแนวเขต และจัดทำป้ายเตือนข้อความ "ระวังอันตรายจากรังสี ห้ามเข้า" อย่างน้อยเป็นภาษาไทย ด้วยอักษรสีดำบนพื้นสีเหลืองแสดงไว้ให้เห็นโดยชัดเจนในบริเวณนั้น [1],[2],[3]
3 ห้ามลูกจ้างซึ่งไม่มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสี หรือบุคคลภายนอกหรือหญิงมีครรภ์เข้าไปในบริเวณพื้นที่ควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต [1],[2],[3]
4 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยลดปริมาณรังสีที่ต้นกำเนิดรังสีหรือที่ทางผ่านของรังสี และกำหนดวิธีและเวลาการทำงานเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุมได้รับปริมาณรังสีสะสมเกินเกณฑ์กำหนด ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำทุกเดือนตามแบบที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
6 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีลูกจ้างเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสีประจำสถานประกอบกิจการตลอดระยะเวลาที่มีการทำงานเกี่ยวกับรังสี [1],[2],[3]
7 ห้ามให้ลูกจ้างเข้าพักอาศัย พักผ่อน นำอาหาร เครื่องดื่มหรือบุหรี่เข้าไปในพื้นที่ควบคุม [1],[2],[3]
8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดเตรียมที่ล้างมือ ที่ล้างน้ำและที่อาบน้ำ เพื่อให้ลูกจ้างใช้หลังจากปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีก่อนออกจากที่ทำงาน และต้องให้ลูกจ้างถอดชุดทำงานที่ใช้ปฏิบัติงานเป็นไว้ในสถานที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ [1],[2],[3]
9 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอันตรายจากรังสีในภาวะการทำงานปกติและเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุ และต้องมีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินทั้งสองรูปแบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง [1],[2],[3]
10 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องเก็บรักษา เคลื่อนย้าย และขนส่งต้นกำเนิดรังสี รวมทั้งการจัดการกากกัมมันตภาพรังสีเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
11 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องหมาย ฉลาก และสัญญาณเตือน เช่น เครื่องหมายเตือนภัย ฉลากที่มีเครื่องหมายและข้อความเตือน เป็นต้น โดยมีรายละเอียดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3]
12 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดรายงานเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรง ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ ในกรณีที่มีการตาย การเจ็บป่วย การประสบภัย หรือการเกิดโรคจากการทำงานเกี่ยวกับรังสีขึ้นอันเนื่องจากเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรงนั้น ต้องจัดรายงานเหตุฉุกเฉินทางรังสีหรืออุบัติเหตุร้ายแรง ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุการณ์ [1],[2],[3]
13 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้าง และต้องอบรมลูกจ้างให้ความเข้าใจอันตรายและวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีก่อนเข้ารับหน้าที่ในพื้นที่ควบคุม [1],[2],[3]
14 ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสีตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง [1],[2],[3]
15 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่มีการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างน้อยสามหน่วยกิต หรือผ่านการอบรมการใช้การดูแลรักษาและการป้องกันอันตรายจากการใช้อุปกรณ์และสารกัมมันตรังสีจากสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นผู้ควบคุมดูแลประจำโรงงานเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สารกัมมันตรังสี [1],[2],[4],[6],[7]
16 ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี ต้องจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับชนิด จำนวน แหล่งที่มา วิธีการใช้ และการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสีตามแบบ ร.ง. 7 และแจ้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายในกำหนด 180 วัน [1],[2],[5]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
2 พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535
3 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547
4 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง คุณสมบัติเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการเกี่ยวกับโรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี
5 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง การรายงานข้อมูลที่เกี่ยวกับชนิด จำนวน แหล่งที่มา วิธีการใช้และการเก็บรักษาสารกัมมันตรังสี
6 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 เรื่อง หน้าที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี
7 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. 2547
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 รายงานข้อมูลเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2542) (แบบ ร.ง.7)