3.1.3.1 วัตถุอันตรายและสารเคมี

รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 24 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมีและว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ผู้ผลิตเพื่อการค้า ผู้นำเข้าเพื่อการค้า ผู้ส่งออกเพื่อการค้า หรือผู้เก็บรักษาเพื่อการค้าซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีในวันที่แจ้งการผลิตนำเข้า ส่งออก หรือเก็บรักษาเพื่อการค้าซึ่งวัตถุอันตราย และต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีต่อไปทุกปีไม่เกินวันที่ครบกำหนดรอบปี [1],[2],[3],[6]
5 กฎหมายกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับเอกสารการขึ้นทะเบียน ใบอนุญาต ใบแทนใบสำคัญ ใบแทนใบอนุญาต ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[7]
6 ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอแบบ วอ. 1 แบบ วอ.3 แบบ วอ. 5 หรือแบบ วอ. 7 ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[8]
7 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายต้องมีใบอนุญาตผลิต นำเข้า และส่งออกซึ่งวัตถุอันตราย สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ หรือแต่ละชื่อของวัตถุอันตราย และใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย สำหรับแต่ละสถานที่เก็บรักษาหรือแต่ละผลิตภัณฑ์หรือแต่ละชื่อของวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[8]
8 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายซึ่งจำเป็นต้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตดังกล่าว ให้ยื่นหนังสือพร้อมใบอนุญาตฉบับเดิมที่ได้รับอนุญาตและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายนั้นเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อวัตถุอันตราย สูตรเคมี อัตราส่วน ลักษณะและสูตรของวัตถุอันตรายจะกระทำมิได้ [1],[2],[3],[8],[27],[28]
9 ผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอแบบ วอ. 9 [1],[2],[3],[8]
10 กฎหมายกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคำขออนุญาต หลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอ การอนุญาต หน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาต การแก้ไขเปลี่ยนแปลงและต่ออายุใบอนุญาต [1],[2],[3],[5]
11 ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าซึ่งวัตถุอันตรายที่เป็นสารเดี่ยวและสารผสมต้องดำเนินการตามข้อกำหนดว่าด้วยระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย ตามที่กฎหมาย [1],[2],[3],[9]
12 การส่งออกซึ่งวัตถุอันตราย ต้องมีการจำแนกความเป็นอันตราย ติดฉลากวัตถุอันตราย และจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย ยกเว้นกรณีประเทศคู่ค้ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการนี้เป็นการเฉพาะ [1],[2],[3],[9]
13 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย มีหน้าที่ต้องสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายในรูปแบบของฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจัดทำ แต่กรณี เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นๆ ได้อย่างปลอดภัย [1],[2],[3],[9]
14 ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการค้าปลีก ที่เก็บวัตถุอันตรายชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกันไว้ไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือไม่ต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 [1],[2],[3],[10]
15 ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการใช้สอยส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม หรือที่เป็นสิ่งประกอบภายในเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีกฎหมายควบคุมการผลิต การนำเข้า หรือการขนส่งฉุกเฉินเพื่อป้องกัน บรรเทา หรือระงับอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ ไม่ต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 [1],[2],[3],[10]
16 การมีไว้ในครอบครองและการนำเข้าซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้ในกิจการของตนเองของหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐ หน่วยงานรัฐ สภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือไม่ต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และกรณีวัตถุอันตรายใดต้องขึ้นทะเบียนให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติ [1],[2],[3],[10]
17 กฎหมายกำหนดการเลิกใช้ POLYCHLORINATED BIPHENYL (PCBs) [1],[2],[3],[19]
18 ผู้ใดประสงค์จะหารือเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นสารควบคุมตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สามารถหารือผ่านระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีข้อกำหนดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[20]
19 การหารือเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ โดยผ่านระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้บริการได้เฉพาะเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวเท่านั้น [1],[2],[3],[20]
20 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 [1],[2],[3],[24], [25],[26]
21 กฎหมายกำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตรายที่ใช้ทางการสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย [1],[2],[3],[17]
22 กฎหมายกำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ [1],[2],[3],[16]
23 กฎหมายกำหนดการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ โดยผู้มีความประสงค์จะดำเนินการผลิต หรือนำเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แต่ละผลิตภัณฑ์ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ วอ./สธ 5 [1],[2],[3],[18]
24 การแจ้งข้อเท็จจริงให้แจ้งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือแจ้งผ่านระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บในจังหวัดนั้น ๆ [1],[2],[3],[18]
25 กฎหมายกำหนดยกเว้นการนำเข้าไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการแจ้งดำเนินการ การขออนุญาต และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ [1],[2],[3],[11],[12],[13],[14],[15]
26 ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ที่มีความประสงค์จะขอการรับรองสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP วัตถุอันตราย ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตวัตถุอันตราย เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[21]
27 หน่วยงานเอกชนที่ทำการตรวจวิเคราะห์วัตถุอันตรายเพื่อการขึ้นทะเบียน ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[22]
28 ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ต้องจัดให้มีแผ่นป้ายคำเตือน โดยแสดงรายละเอียดของข้อความ ไว้ที่อุปกรณ์การผลิตบริเวณที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบริเวณใกล้เคียง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[23]
29 กฎหมายมีการกำหนดเรื่องการมอบอำนาจในการอนุมัติ หรืออนุญาตเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา [29],[30],[31],[32],[33],[34],[35],[36]
รายละเอียด
ลำดับ เรื่องที่ต้องปฏิบัติ อ้างอิงกฎหมาย
ฉบับที่
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
จำนวน 24 ฉบับ
1 กฎหมายกำหนดข้อปฏิบัติทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ได้แก่ คณะกรรมการวัตถุอันตราย การควบคุมวัตถุอันตราย หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ [1]
2 เพิ่มเติมอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมีและว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2536 [2]
3 เพิ่มเติมแก้ไขรายละเอียดของคณะกรรมการวัตถุอันตราย และการนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย [3]
4 ผู้ผลิตเพื่อการค้า ผู้นำเข้าเพื่อการค้า ผู้ส่งออกเพื่อการค้า หรือผู้เก็บรักษาเพื่อการค้าซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ชนิดที่ 3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีในวันที่แจ้งการผลิตนำเข้า ส่งออก หรือเก็บรักษาเพื่อการค้าซึ่งวัตถุอันตราย และต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีต่อไปทุกปีไม่เกินวันที่ครบกำหนดรอบปี [1],[2],[3],[6]
5 กฎหมายกำหนดค่าธรรมเนียมสำหรับเอกสารการขึ้นทะเบียน ใบอนุญาต ใบแทนใบสำคัญ ใบแทนใบอนุญาต ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[7]
6 ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอแบบ วอ. 1 แบบ วอ.3 แบบ วอ. 5 หรือแบบ วอ. 7 ตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[8]
7 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายต้องมีใบอนุญาตผลิต นำเข้า และส่งออกซึ่งวัตถุอันตราย สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ หรือแต่ละชื่อของวัตถุอันตราย และใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย สำหรับแต่ละสถานที่เก็บรักษาหรือแต่ละผลิตภัณฑ์หรือแต่ละชื่อของวัตถุอันตราย [1],[2],[3],[8]
8 ผู้ได้รับใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายซึ่งจำเป็นต้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาตดังกล่าว ให้ยื่นหนังสือพร้อมใบอนุญาตฉบับเดิมที่ได้รับอนุญาตและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายนั้นเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อวัตถุอันตราย สูตรเคมี อัตราส่วน ลักษณะและสูตรของวัตถุอันตรายจะกระทำมิได้ [1],[2],[3],[8],[27],[28]
9 ผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอแบบ วอ. 9 [1],[2],[3],[8]
10 กฎหมายกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคำขออนุญาต หลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอ การอนุญาต หน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาต การแก้ไขเปลี่ยนแปลงและต่ออายุใบอนุญาต [1],[2],[3],[5]
11 ผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าซึ่งวัตถุอันตรายที่เป็นสารเดี่ยวและสารผสมต้องดำเนินการตามข้อกำหนดว่าด้วยระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย ตามที่กฎหมาย [1],[2],[3],[9]
12 การส่งออกซึ่งวัตถุอันตราย ต้องมีการจำแนกความเป็นอันตราย ติดฉลากวัตถุอันตราย และจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ให้เป็นไปตามข้อกำหนดว่าด้วยระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย ยกเว้นกรณีประเทศคู่ค้ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการนี้เป็นการเฉพาะ [1],[2],[3],[9]
13 ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย มีหน้าที่ต้องสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตรายในรูปแบบของฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจัดทำ แต่กรณี เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นๆ ได้อย่างปลอดภัย [1],[2],[3],[9]
14 ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการค้าปลีก ที่เก็บวัตถุอันตรายชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมกันไว้ไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือไม่ต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 [1],[2],[3],[10]
15 ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายเพื่อการใช้สอยส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อการอุตสาหกรรม หรือที่เป็นสิ่งประกอบภายในเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีกฎหมายควบคุมการผลิต การนำเข้า หรือการขนส่งฉุกเฉินเพื่อป้องกัน บรรเทา หรือระงับอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อม ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือ ไม่ต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 [1],[2],[3],[10]
16 การมีไว้ในครอบครองและการนำเข้าซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อใช้ในกิจการของตนเองของหน่วยงาน ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐ หน่วยงานรัฐ สภากาชาดไทย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งการดำเนินการสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 หรือไม่ต้องขออนุญาตสำหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และกรณีวัตถุอันตรายใดต้องขึ้นทะเบียนให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติ [1],[2],[3],[10]
17 กฎหมายกำหนดการเลิกใช้ POLYCHLORINATED BIPHENYL (PCBs) [1],[2],[3],[19]
18 ผู้ใดประสงค์จะหารือเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นสารควบคุมตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สามารถหารือผ่านระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีข้อกำหนดเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[20]
19 การหารือเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ โดยผ่านระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้บริการได้เฉพาะเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวเท่านั้น [1],[2],[3],[20]
20 กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 [1],[2],[3],[24], [25],[26]
21 กฎหมายกำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตรายที่ใช้ทางการสาธารณสุข เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย [1],[2],[3],[17]
22 กฎหมายกำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ [1],[2],[3],[16]
23 กฎหมายกำหนดการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ โดยผู้มีความประสงค์จะดำเนินการผลิต หรือนำเข้า ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แต่ละผลิตภัณฑ์ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ วอ./สธ 5 [1],[2],[3],[18]
24 การแจ้งข้อเท็จจริงให้แจ้งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือแจ้งผ่านระบบสัญญาณคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือแจ้งที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสำหรับผู้ประกอบการที่มีสถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บในจังหวัดนั้น ๆ [1],[2],[3],[18]
25 กฎหมายกำหนดยกเว้นการนำเข้าไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการแจ้งดำเนินการ การขออนุญาต และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ [1],[2],[3],[11],[12],[13],[14],[15]
26 ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ที่มีความประสงค์จะขอการรับรองสถานที่ผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP วัตถุอันตราย ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตวัตถุอันตราย เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[21]
27 หน่วยงานเอกชนที่ทำการตรวจวิเคราะห์วัตถุอันตรายเพื่อการขึ้นทะเบียน ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[22]
28 ผู้ผลิตวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 หรือชนิดที่ 3 ต้องจัดให้มีแผ่นป้ายคำเตือน โดยแสดงรายละเอียดของข้อความ ไว้ที่อุปกรณ์การผลิตบริเวณที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบริเวณใกล้เคียง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด [1],[2],[3],[23]
29 กฎหมายมีการกำหนดเรื่องการมอบอำนาจในการอนุมัติ หรืออนุญาตเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา [29],[30],[31],[32],[33],[34],[35],[36]
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อกฎหมาย กฎหมาย
1 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
2 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
3 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
4 กฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
5 กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
6 กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
7 กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
8 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจำแนกและการสื้อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555
9 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการแจ้งดำเนินการ การขออนุญาต และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2546
10 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการนำเข้าไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการแจ้งดำเนินการ การขออนุญาต และการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2548
11 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2538
12 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
13 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
14 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2545
15 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2555
16 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดเกณฑ์ค่าคลาดเคลื่อนจากปริมาณที่กำหนดไว้ของสารสำคัญในวัตถุอันตราย ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
17 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ พ.ศ. 2549
18 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดการเลิกใช้ POLYCHLORINATED BIPHENYL (PCBs)
19 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง การตอบข้อหารือเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นสารควบคุมตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. 2551
20 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตวัตถุอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (GMP) พ.ศ 2559
21 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หน่วยงานเอกชนที่ทำการตรวจวิเคราะห์วัตถุอันตรายเพื่อการขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2553
22 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การจัดให้มีแผ่นป้ายคำเตือน ไว้ที่อุปกรณ์การผลิต บริเวณที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายและบริเวณใกล้เคียง
23 ระเบียบคณะกรรมการวัตถุอันตราย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเปรียบเทียบ ปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2555
24 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง วัตถุอันตราย ตาม "หมวด 3 หน้าที่และความรับผิดชอบทางแพ่ง" พ.ศ. 2538
25 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดประเภท และอัตราการหักเงินค่าปรับก่อนนำส่งคลัง
26 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย
27 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 398/2544 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองการจำหน่าย (Certificate of Free Sale : CFS) เพื่อประกอบการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ
28 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 185/2541 เรื่อง การมอบอำนาจในการอนุมัติ หรืออนุญาตเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
29 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 232/2541 เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในการต่ออายุใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
30 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 279/2542 เรื่อง มอบอำนาจให้เภสัชกร 9 วช. ด้านความปลอดภัยของวัตถุอันตราย และผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุมีพิษ ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
31 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 112 /2547 เรื่อง มอบอำนาจเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ตามกฎหมายเฉพาะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด
32 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 43/2548 เรื่อง มอบอำนาจเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ตามกฎหมายเฉพาะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด (ฉบับที่ 2)
33 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 519/2548 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการด้านวัตถุอันตรายในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
34 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 82/2549 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านอาหารและยาเป็นผู้พิจารณาการนำเข้าวัตถุอันตราย
35 คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 217/2549 เรื่อง มอบอำนาจเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ตามกฎหมายเฉพาะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด (ฉบับที่ 4)
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
ลำดับ รายชื่อฟอร์ม แบบฟอร์ม
1 คำขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (แบบ วอ.1)
2 ใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (แบบ วอ.2)
3 คำขออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย (แบบ วอ.3)
4 ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย (แบบ วอ.4)
5 คำขออนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย (แบบ วอ.5)
6 ใบอนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย (แบบ วอ.6)
7 คำขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย (แบบ วอ.7)
8 ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย (แบบ วอ.8)
9 คำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ วอ.9)
10 คำขอชำระค่าธรรมเนียมรายปี (แบบ วอ.10)
11 บันทึกคำให้การของผู้กล่าวหา (แบบ ปปว.01)
12 บันทึกคำให้การของผู้กระทำความผิด (แบบ ปปว.02)
13 บันทึกการเปรียบเทียบปรับ (แบบ ปปว.03)
14 จดหมายแจ้งชำระค่าปรับตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 (แบบ ปปว.04)
15 ใบแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (แบบ วอ./สธ 5)
16 คำขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (แบบ วอ.1)
17 ใบอนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (แบบ วอ.2)
18 คำขออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย (แบบ วอ.3)
19 ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย (แบบ วอ.4)
20 คำขออนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย (แบบ วอ.5)