What are you looking for?
Font size Icon Icon
A
Icon
Contrast Icon
I
Icon
EA
Icon
T
นิคมฯ อัจฉริยะเฮ! BOI ไฟเขียวสิทธิประโยชน์เพิ่ม เว้นภาษี 8 ปี ส่วนทำเลทอง EEC ลดภาษีเพิ่ม 50 % อีก 5 ปี!

Total readings 793 Time(s)

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.มุ่งผลักดันให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate : Smart IE) ส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในนิคมอุตสาหกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบกิจการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน โดย กนอ.ร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ศึกษาเพื่อจัดทำสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate : Smart IE) และพื้นที่ประกอบการอัจฉริยะในนิคมอุตสาหกรรม (Smart Industrial Zone : Smart IZ)
โดยล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หรือบอร์ด BOI ได้เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนกิจการนิคมหรือเขตอุสาหกรรมอัจฉริยะ โดยต้องจัดให้มีบริการระบบอัจฉริยะ 5 ด้าน ได้แก่ Smart Facilities , Smart IT, Smart Energy, Smart Economy และบริการระบบอัจฉริยะด้านอื่นๆ อย่างน้อยอีก 1 ใน 3 ด้าน คือ Smart Good Corporate Governance, Smart Living และ Smart Workforce พร้อมทั้งยกเลิกเงื่อนไข ห้ามตั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ นอกจากนี้ โครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม ทั้งที่ยังไม่สิ้นสุดหรือสิ้นสุดแล้ว และโครงการที่ไม่เคยได้รับการส่งเสริม สามารถขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม หรือขอรับการส่งเสริมเพื่อยกระดับเป็นนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมอัจฉริยะได้เช่นกัน รวมทั้งยังได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี หากตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปีเพิ่มเติม
สำหรับระบบอัจฉริยะด้านต่างๆ ประกอบด้วย Smart Facilities คือ การนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้ติดตาม ควบคุม บริหารจัดการ และเพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ได้แก่ ระบบผลิตน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน และระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม มูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ระบบการติดตามตรวจสอบมลพิษหรือคุณภาพสิ่งแวดล้อม และระบบถนน
Smart IT คือ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกการดำเนินงานของผู้ประกอบกิจการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างทั่วถึง
Smart Energy คือ การใช้พลังงานโดยมีค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ มีการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่การเป็นอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ (Low carbon industry)
Smart Economy คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับหลักการของ BCG (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy)
ขณะที่ Smart Good Corporate Governance คือ การพัฒนากำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบรรษัทภิบาล (Good corporate governance) โดยมีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลภายนอกเป็นไปอย่างเหมาะสม เท่าเทียมกัน ทันเวลา และใช้ช่องทางที่เหมาะสม
Smart Living คือ การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกโดยคำนึงถึงหลักอารยสถาปัตย์ (Universal design) ให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ปลอดภัย และมีความสุขในการดำรงชีวิต
และ Smart Workforce คือ การพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดจนเปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพของแรงงานเข้าสู่ 4.0 และยกระดับคุณภาพของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
“การปรับปรุงหลักเกณฑ์สิทธิประโยชน์ในครั้งนี้ จะช่วยให้นักลงทุนที่สนใจลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate : Smart IE) และพื้นที่ประกอบการอัจฉริยะในนิคมอุตสาหกรรม (Smart Industrial Zone : Smart IZ) สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของบีโอไอได้ง่ายขึ้น ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องกับเป้าหมายของ กนอ.ในการผลักดันให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมไปสู่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะแล้ว ยังเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และอำนวยความสะดวกต่อการประกอบกิจการในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การเจรจาให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนแต่ละรายจะมุ่งเน้นกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเป้าหมาย” นายวีริศ กล่าวทิ้งท้าย

Related Photo

Related News

Icon
18
04.2024
ผู้บริหาร กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ”กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน” และพิธีรับมอบระพุทธรูปประจำ กนอ.

รองศาสตราจารย์ วีริศ อัมระปาล ผวก.กนอ. พร้อมด้วย ผู้บริหาร และพนักงาน กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ” กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน”

Icon
3
0
Icon
18
04.2024
ผู้บริหาร กนอ. ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ได้มอบหมายให้ นางบุปผา กวินวศิน รผก.สผ. พร้อมด้วยนางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือกับ ผู้แทนจาก สำนักงาน ป.ป.ส. ได้แก่ นางสาวนันทดา บัวคลี่ ผอ.ส่วนประสานการป้องกันยาเสพติด นายพรภณ พงษ์เพชร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และนางสาวกิรณา สายจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานภายใต้โครงการ ”ปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรม ร่วมต้านภัยยาเสพติด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และลูกจ้างในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่สถานประกอบการ

Icon
2
0
Icon
18
04.2024
กนอ. ประชุมหารือร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เพื่อติดตามความคืบหน้าความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรภายใต้สถาบัน กนอ.เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานในนิคมฯ

นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการ (ประจำสำนักผู้ว่าการ) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กนอ. ประกอบด้วย นายอัฏฐพล นิธิสุนทรวิทย์ ผอ.ฝยศ. นางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และพนักงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ประกอบด้วย นายจิตรพงศ์ พุ่มสอาด ผอ. กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นายนที ราชฉวาง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการฝึก กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นางสาวนุชจรินท์ สายรัดทอง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึกกองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมหารือรูปแบบความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การขับเคลื่อนของสถาบัน กนอ. และ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.)

Icon
2
0
Icon
18
04.2024
รวอ. นั่งหัวโต๊ะประชุมผู้บริหารระดับสูง อก. ครั้งที่ 5/2567 ติดตามการดำเนินงาน สำคัญในรอบ 6 เดือน ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุต

รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. พร้อมด้วย นางนิภา รุกขมธุร์ รผก.ยศ. รก.รผก.พย. เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 5/2567 โดยมีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

Icon
4
0
Border