What are you looking for?
Font size Icon Icon
A
Icon
Contrast Icon
I
Icon
EA
Icon
T
กนอ.-ส.อ.ท. จัดงานสัมมนาวิชาการ “Eco Innovation Forum 2022” ยกระดับพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ผ่านหลักการ “6S”ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ลดมลพิษ-ผลกระทบชุมชน

Total readings 137 Time(s)

นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในระหว่างการเป็นประธาน และปาฐกถาพิเศษ “6S ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยฝ่าวิกฤตสู่ความยั่งยืน ตอนหนึ่งว่า ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการให้พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model) ด้วยการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและเทคโนโลยีอย่างง่ายเพื่อการผลิตไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้วางกลไกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย โดยกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย 6 ด้านหลัก หรือ “6S” ประกอบด้วย S1 : Smart Agricultural Industry หมายถึง การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Intelligent Agricultural Industry) โดยสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในภาคเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม S2 : S-Curve หมายถึง การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูง (Potential Target Industries) ภายใต้มาตรการ/ แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและแผนระดับชาติ S3 : SMEs and Factory 4.0 หมายถึง การพัฒนาผู้ประกอบการและภาคการผลิตไปสู่ 4.0 โดยสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ ส่งเสริม SMEs และวิสาหกิจชุมชนให้มีผลิตภาพ ลดต้นทุน ลดของเสียในกระบวนการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล  S4 : Sustainable Development  หมายถึง การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-industrial Town) ผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดมลพิษและบรรเทาผลกระทบจากการประกอบการอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน S5 : Special Zone and Industrial Area หมายถึง การพัฒนาอุตสาหกรรมในมิติพื้นที่ (Area-based Industrial Development) โดยพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาพิเศษ เขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายรัฐบาล พื้นที่อุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมพื้นฐานในพื้นที่พิเศษบนพื้นฐานแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยึดโยงกับบริบทของพื้นที่ S6 : Supportive and Digital Transformation หมายถึง การยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม (Enabling Factors) เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการที่สะดวกและรวดเร็ว บูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพิ่มทักษะ/ ประสิทธิภาพบุคลากรด้านดิจิทัล

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-industrial Town) เป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งเน้นใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดมลพิษ และบรรเทาผลกระทบจากการประกอบการอุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อีกทั้งยังขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับแนวทางการดำเนินงานหลายประเทศทั่วโลก มุ่งสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เนื่องจากสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักในหลายพื้นที่ ซึ่งการจัดงานในปีนี้นอกจากเป็นงานสัมมนาวิชาการแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงานเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในระดับนิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน เชิดชูเกียรติแก่นิคมอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม และผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน

นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน กล่าวต่อว่า ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาตนเองสู่ความยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-products) ที่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนภาคส่วนอื่นๆ และการบริโภคอย่างยั่งยืนของประชาชน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) โดยส.อ.ท.มีวิสัยทัศน์ในการ“เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม”  ได้ส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมให้นำหลักการ BCG ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจการขององค์กร และจัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในการพัฒนา Thailand Carbon Credit Exchange Platform รวมทั้งการจัดตั้ง RE100 Thailand Club เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในภาคอุตสาหกรรม

สำหรับการจัดงานสัมมนาในปีนี้ภายในงานมีการจัดเสวนาวิชาการในหลายประเด็น อาทิ ผลสำเร็จการพัฒนานิคมฯ และโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ( Eco Factory ) การเสวนาในหัวข้อ New Chapter ของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เสวนาในหัวข้อ Trend อุตสาหกรรม/นวัตกรรมใหม่ “ก้าวสู่ Carbon Neutrality”และการบรรยายพิเศษ “เท่าทันกฎหมายและสิทธิประโยชน์ใหม่”และมีพิธีมอบโล่เกียรติยศ และประกาศนียบัตรเกียรติคุณให้กับนิคมอุตสาหกรรมที่ยกระดับเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-World Class จำนวน 6 แห่ง ระดับ Eco-Excellence จำนวน 20 แห่ง ระดับ Eco-Champion จำนวน 38 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรม 4.0 จำนวน 2 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) จำนวน 70 แห่ง โรงงานเครือข่ายลดก๊าซเรือนกระจกดีเด่น จำนวน  4 แห่ง และวอเตอร์ฟุตพริ้น (Water Footprint) จำนวน 10 แห่ง โดยมีผู้ร่วมงานจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม นักวิชาการ ภาคประชาชน และสื่อมวลชน ไม่ต่ำกว่า 500 คน

Related Photo

Related News

Icon
28
03.2024
กนอ. ร่วมกับ BOI และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (มหาชน) จัดกิจกรรมพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 45 “DELTA ELECTRONICS SOURCING DAY”

นางสาวนลินี กาญจนามัย รผก.บร. พร้อมด้วย นางสาวปคุณดา ชั้นบุญ ผอ.ฝตล และทีม กลพ. ร่วมกิจกรรมยกระดับศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ณ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในนิคมฯ บางปู ภายในงานมีการจัดกิจกรรมซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง กนอ. BOI และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (มหาชน) เพื่อเป็นการสนับสนุนและสร้างโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยทั้งที่เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคมอุตสาหกรรม

Icon
5
0
Icon
28
03.2024
ผู้บริหาร กนอ. ร่วมแสดงความยินดีในโอกาส วันครบรอบ 60 ปี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ผู้บริหาร กนอ. ร่วมแสดงความยินดีในโอกาส วันครบรอบ 60 ปี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Icon
1
0
Icon
28
03.2024
กนอ. เข้าเยี่ยมผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ที่มีแนวโน้มขยายการลงทุนในอนาคต ณ พื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครและจังหวัดฉะเชิงเทรา

กนอ. เข้าเยี่ยมผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ที่มีแนวโน้มขยายการลงทุนในอนาคต ณ พื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานครและจังหวัดฉะเชิงเทรา

Icon
2
0
Icon
28
03.2024
สายงานปฏิบัติการ 2 จัดประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้โครงการ Factory & Partner Visit ประจำปีงบประมาณ 2567 นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา รผก.ปก.2 พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร นายมานิต อินเมฆ ผอ.สนฉ., นางสาวกฤษฎาพร บุญอยู่ ผอ.ฝปก.2, นางเพ็ญนภา เธียรพจีกุล ผอ.กปก.2, นางสาวภัทรียา สังข์ดี ผช.ผอ.สนฉ. และพนักงานที่เกี่ยวข้อง จัดการประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้โครงการ Factory & Partner Visit ประจำปีงบประมาณ 2567

Icon
1
0
Border