คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
กนอ.ปลื้มนิคมฯอุดรธานีคืบหน้าแล้วกว่า 70% มั่นใจหลังเปิดประเทศ และโควิด-19 คลี่คลาย สัญญาณลงทุนเป็นบวกแน่นอน!

ยอดการเปิดอ่าน 791 ครั้ง

นายธีรยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่และประชุมติดตามความคืบหน้าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมฯ โดยนางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้รายงานความคืบหน้าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ว่า นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี เป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. กับ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด ที่ได้ลงนามในสัญญาร่วมดำเนินงานเมื่อปี 2557 ภายใต้แนวคิดการเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความยั่งยืน เน้นหลักการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้กับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบริบทพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องกับกฎหมาย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อีกทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ในการมีช่องทางการประกอบอาชีพในถิ่นเกิดโดยไม่ต้องอพยพไปทำงานที่อื่น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด
การพัฒนาโครงการฯล่าสุดมีความคืบหน้าไปมาก โดยขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการเฟสแรก ในการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค พื้นที่กว่า 1,300 ไร่ เช่น การพัฒนาถนนและองค์ประกอบถนน งานระบบระบายน้ำฝน งานระบบน้ำเสีย งานระบบประปา ของถนนสายต่างๆในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 5.67 กิโลเมตร ที่ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 75% ซึ่งตามแผนการกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 รวมถึงการพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ ปาร์ค (Logistics Park) พื้นที่ 600 ไร่ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางรางและโลจิสติกส์ในภูมิภาค และยังเป็นศูนย์การขนส่งสินค้าไปยังประเทศในกลุ่ม CLMV และจีนตอนใต้ รวมถึงการขนส่งทางรางไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ขณะเดียวกันในส่วนของการก่อสร้างอาคารคลังสินค้าให้เช่า ซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนาระยะที่ 1 (2564-2565) ล่าสุดอาคารคลังสินค้าทั้ง 3 หลัง รวมพื้นที่ 23,160 ตารางเมตร พร้อมเปิดบริการให้เช่าแล้ว
“จุดเด่นโครงการฯ คือการอยู่ในทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดศูนย์กลางของกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง ที่อยู่ในแนวเส้นทาง One Belt One Road ที่เชื่อมโยงและเป็นประตูระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV และจีนตอนใต้ ผ่านเส้นทาง R3A R12 B9 และ B 8 ระบบรถไฟทางคู่กรุงเทพฯ-หนองคาย และล่าสุดโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงที่ 2 ที่จะขยายจากจังหวัดนครราชสีมาถึงจังหวัดหนองคาย เพื่อเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวที่ขณะนี้ โครงการมีความคืบหน้าไปมาก ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยบวกที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีมีแรงดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้น คือ การที่จังหวัดอุดรธานีได้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(Northeastern Economic Corridor-NeEC) และทำให้โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถือเป็นโอกาสและศักยภาพที่ดีในการส่งเสริมให้มีการลงทุนในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี จะได้รับสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)โดยได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคล 8 ปี และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรอื่นๆ ตามเกณฑ์ที่ตั้ง (Zone Based) โดยการพัฒนาโครงการฯ เป็นไปตามแนวคิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจ NeEC ที่เน้นความสามารถในการแข่งขันเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”นางสาวสมจิณณ์ พิลึก กล่าว
นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนสูง อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี พื้นที่ประมาณ 2,170 ไร่ มูลค่าการลงทุนโครงการฯ ประมาณ 6,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกมี 1,325 ไร่ มีแผนพัฒนาพร้อมเปิดดำเนินการในปลายปี 2564 และเฟส 2 จำนวน 845 ไร่ ที่มีแผนจะพัฒนาในช่วงปี 2565 – 2567 โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายตามผังแม่บทการใช้ประโยชน์ที่ดินของนิคมฯ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะและประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย ศูนย์โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย และอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตในพื้นที่ นอกจากนี้ โครงการฯยังมีพื้นที่อุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ SMEs เคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอื่น
“เชื่อว่าหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายและเปิดประเทศให้มีการเข้า-ออกได้ตามปกติ จะมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีมากขึ้น ซึ่งนิคมฯแห่งนี้ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุนในภูมิภาค ที่ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในพื้นที่ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท และเกิดการจ้างงาน( ในนิคมฯ) ไม่ต่ำกว่า 20,000 คน และ 60,000 คน (นอกนิคมฯ) และมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นประมาณ 100 โรง ขณะเดียวกันจะสามารถสร้างรายได้ด้านภาษีอากรให้กับภาครัฐได้ถึงประมาณ 1.5-2 หมื่นล้านบาทต่อปีอีกด้วย” ผู้ว่าการ กนอ.กล่าวปิดท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Icon
18
04.2567
ผู้บริหาร กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ”กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน” และพิธีรับมอบระพุทธรูปประจำ กนอ.

รองศาสตราจารย์ วีริศ อัมระปาล ผวก.กนอ. พร้อมด้วย ผู้บริหาร และพนักงาน กนอ. เข้าร่วมกิจกรรม ” กนอ. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสืบสานประเพณีสงกรานต์ไว้ให้ยั่งยืน”

Icon
15
0
Icon
18
04.2567
ผู้บริหาร กนอ. ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)

รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ได้มอบหมายให้ นางบุปผา กวินวศิน รผก.สผ. พร้อมด้วยนางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือกับ ผู้แทนจาก สำนักงาน ป.ป.ส. ได้แก่ นางสาวนันทดา บัวคลี่ ผอ.ส่วนประสานการป้องกันยาเสพติด นายพรภณ พงษ์เพชร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ และนางสาวกิรณา สายจันทร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือการดำเนินงานภายใต้โครงการ ”ปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรม ร่วมต้านภัยยาเสพติด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และลูกจ้างในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดไม่ให้แพร่ระบาดเข้าสู่สถานประกอบการ

Icon
9
0
Icon
18
04.2567
กนอ. ประชุมหารือร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เพื่อติดตามความคืบหน้าความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรภายใต้สถาบัน กนอ.เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานในนิคมฯ

นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการ (ประจำสำนักผู้ว่าการ) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กนอ. ประกอบด้วย นายอัฏฐพล นิธิสุนทรวิทย์ ผอ.ฝยศ. นางสาวมุทิตา ตรีวิทยาภูมิ ผอ.ฝกต. นางสาวจันทร์ธร ศรีธัญรัตน์ ผอ.กวร. และพนักงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ประกอบด้วย นายจิตรพงศ์ พุ่มสอาด ผอ. กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นายนที ราชฉวาง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรและเทคโนโลยีการฝึก กองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก นางสาวนุชจรินท์ สายรัดทอง ผอ.กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึกกองพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมหารือรูปแบบความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การขับเคลื่อนของสถาบัน กนอ. และ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.)

Icon
5
0
Icon
18
04.2567
รวอ. นั่งหัวโต๊ะประชุมผู้บริหารระดับสูง อก. ครั้งที่ 5/2567 ติดตามการดำเนินงาน สำคัญในรอบ 6 เดือน ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุต

รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. พร้อมด้วย นางนิภา รุกขมธุร์ รผก.ยศ. รก.รผก.พย. เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 5/2567 โดยมีนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในที่ประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

Icon
7
0
Border