คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
ไทยจับมือเกาหลี ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ปักหมุดพื้นที่อีอีซีลำดับแรก

ยอดการเปิดอ่าน 280 ครั้ง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ระหว่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยนายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กับบริษัท Korea Land and Housing Corporation (LH) โดยนายคิม ฮยุนจุน (Mr.Kim Hyun Jun) กรรมการผู้มีอำนาจ โดยระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดพันธกิจขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Industrial ecosystem) เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความร่วมมือระหว่าง กนอ. และ LH ครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี เชื่อมั่นว่าศักยภาพและประสบการณ์ของ LH จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรมไทย รวมถึงการเพิ่มมูลค่าการลงทุนในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเติบโตเพิ่มมากขึ้น

“ความร่วมมือครั้งนี้ได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งในประเทศไทยและประเทศเกาหลี คาดว่าจะสามารถพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ได้อย่างเป็นรูปธรรม และทำให้ กนอ. เป็นผู้นำการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคด้วยนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนได้ในอนาคต” นายสุริยะ กล่าว

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ. มุ่งพัฒนาและยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยการส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดของเสีย ทำให้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายผลักดันให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ส่งเสริมให้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม บริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในนิคมอุตสาหกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบกิจการ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ทั้งนี้ กนอ.ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ และพื้นที่ประกอบการอัจฉริยะในนิคมอุตสาหกรรม (Smart Industrial Estate and Smart Industrial Zone)

ด้านนายจอน โจยอง (Mr.Jeon Joyoung) อัครราชทูต รองหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ผู้แทนถาวรสาธารณรัฐเกาหลีประจำยูเอ็นเอสแคป กล่าวว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นของไทยและเกาหลีที่จะร่วมมือกันขับเคลื่อนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย และจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้มีการลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือ เมืองอัจฉริยะระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประเทศไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่ง สาธารณรัฐเกาหลี ดังนั้น ความร่วมมือการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะในครั้งนี้ จึงเป็นอีกก้าวที่สำคัญในความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยและเกาหลี และไม่เพียงเป็นการร่วมมือระหว่าง กนอ. และ LH Corporation แต่แสดงให้เห็นถึงแผนการของประเทศไทยในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอัจฉริยะ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคอุตสาหกรรมของไทยและบริษัทเกาหลีในอนาคต

นายคิม ฮยุนจุน (Mr.Kim Hyun Jun) กรรมการผู้มีอำนาจ LH กล่าวว่า LH เป็นบริษัทของรัฐบาลเกาหลีที่มุ่งมั่นพัฒนาเมืองและอาคารสาธารณะ ขณะที่ กนอ.เป็นผู้นำด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและให้บริการระบบสาธารณูปโภคครบวงจร ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่ดินเหมือนกัน ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยมีศักยภาพสูงในภูมิภาคอาเซียน และการเติบโตทางเศรษฐกิจยังได้รับแรงหนุนจากนโยบาย Thailand 4.0 และการพัฒนาพื้นที่ EEC ของรัฐบาลไทย ซึ่งหลังการทำข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างเกาหลีและไทยเมื่อปี 2553 ทำให้การค้าระหว่าง 2 ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากการลงทุนของเกาหลีในประเทศไทยที่มีมูลค่า 64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 และ 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564 จึงเป็นที่มาของความต้องการของ LH ที่จะขยายขอบเขตความร่วมมือผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ร่วมกับ กนอ. โดยคาดหวังว่าความร่วมมือนี้จะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและสร้างโอกาส ในการทำงานเพิ่มขึ้น

ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้มีเป้าหมายดำเนินการในระยะเวลา 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นพัฒนาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวมถึงพื้นที่อื่นที่เห็นชอบร่วมกัน และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้รวมถึงประสบการณ์ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ภาพที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Icon
18
04.2567
สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (สนล.) จัดพิธีเปิดโครงการ รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย ปรัจำปี 2567

วันที่ 5 เมษายน 2567 นายธีรวุฒิ เจริญสุข ผู้ช่วยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปฏิบัติการ 1) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยประจำปี 2567 โดยมี นางสาวอิศริยา แสงเจริญ ผอ.สนล. เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ซึ่งในปี 2567 นี้ สนล. ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด ที่ได้นำกิจกรรม Accident Prediction Training (APT Challenge) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัทฯ มาบูรณาการเข้ากับโครงการขับขี่ปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างทักษะการคาดการณ์และลดอุบัติเหตุในการขับขี่ ที่ทั้งสนุก และได้ความรู้ โดยในปีแรกนี้ได้ขับเคลื่อนโครงการไปพร้อมกับ 10 บริษัทนำร่องต้นแบบในนิคมฯ ลาดกระบัง ทั้งนี้พบว่า ภาพรวมอุบัติเหตุในนิคมฯ ลาดกระบังลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบจากสถิติอุบัติเหตุก่อนและหลังดำเนินกิจกรรม ซึ่งถือเป็นจุดต้นเริ่มต้นที่ดี เพื่อนำไปสู่ “เมืองต้นแบบขับขี่ปลอดภัย” โดย สนล. มีแผนงานที่จะขยายผลไปยังอีกหลายบริษัทในปีต่อๆ ไป

Icon
0
0
Icon
18
04.2567
กนอ. กรอ. และสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนแนวทางปฏิบัติตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

นางนิภา รุกขมธุร์ รผก.ยศ.รก.รผก.พย. ประธานคณะทำงานร่วมฯ ผอ.ฝบก. ผอ.ฝกม. ผอ.กคด. ผอ.กอป. พร้อมทีมเจ้าหน้าที่ กอป. และ ศขส. ร่วมกับ กรอ. โดย นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดี กรอ. ได้มอบหมายให้ นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผอ.กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม เป็นประธานคณะทำงานร่วมฯ นายธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายจิรวัฒน์ บุปผาพรหม ผู้อำนวยการกลุ่มกฎหมายและระเบียบ นางสาวประนมพร โลกคำลือ ผู้อำนวยการกลุ่มบริการอุปกรณ์และระบบเครือข่าย นางสุนทรี สามบุญเรือง ผู้อำนวยการกลุ่มบริการระบบสารสนเทศ 2 พร้อมทีมเจ้าหน้าที่กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม และ เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะทำงานฯ ณ ห้องประชุม ชั้นดาดฟ้า อาคาร กรอ. กระทรวงอุตสาหกรรม

Icon
1
0
Icon
18
04.2567
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring) ครั้งที่ 1/2567 ของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 1-4)

นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา รองผู้ว่าการ (สายงานปฏิบัติการ 2) มอบหมายให้ นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ (ผช.ผวก.ปก.2) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring) พร้อมด้วย นายพิรัฐพล ตนานนท์ (ผอ.สน.ปท.) กล่าวเปิดประชุมและต้อนรับคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย สนง.สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ผู้แทนผู้ประกอบการ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน

Icon
0
0
Icon
07
04.2567
นักลงทุนจีน ปักหมุดนิคม “สมาร์ท ปาร์ค” เล็งเช่าพื้นที่แบบเหมาแปลงทั้งหมดลงทุนชิ้นส่วน EV – พลังงาน

นักลงทุนจีน ปักหมุดลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรม supply chain ชิ้นส่วนยานยนต์ EV และกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park) ขณะที่การก่อสร้างโครงการคืบหน้ากว่า 82.55% เชื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ สร้างเศรษฐกิจชุมชน เพิ่มรายได้ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ชูโปรโมชั่น ยกเว้นค่าเช่าที่ดิน 1 ปี และยกเว้นค่าบริการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก 1 ปีแรก จูงใจนักลงทุน

Icon
72
0
Border