คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
“วีริศ” โชว์ผลงานปี 65 ขับเคลื่อนโครงการนโยบายรัฐ-องค์กรตามเป้าทุกด้าน ดันยอดขาย/เช่าพุ่ง เล็งเจาะกลุ่มลงทุน FDI พร้อมลุยธุรกิจใหม่!

ยอดการเปิดอ่าน 41 ครั้ง

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) แถลงผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ 2565 ว่า การดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐบาลในโครงการสำคัญ อาทิ
1.โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่1) ล่าสุดความคืบหน้าการก่อสร้างอยู่ที่ 30.33 % โดยเป็นงานถมทะเลและขุดลอกร่องน้ำ ขณะที่โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 2) ประกอบด้วย ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 200 ไร่ (แปลง A) และคลังสินค้าหรือธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 150 ไร่ (แปลง C) มีการทำ Market Sounding เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงเอกสารก่อนประกาศเชิญชวน โดยล่าสุดได้มีการประกาศเชิญชวนครั้งที่ 2 ไปแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และเอกชนจะยื่นข้อเสนอมาในช่วงเดือนมิถุนายน 2566
2.โครงการนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค บนพื้นที่โครงการ 1,384 ไร่ ตั้งเป้าระยะเวลาก่อสร้างโครงการ 36 เดือน (ตั้งแต่ 30 ก.ย. 64 – 14 ก.ย. 67) ความคืบหน้าการก่อสร้างอยู่ที่ 38.65 % คาดว่าจะสามาถเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2567 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาและให้บริการระบบสาธารณูปโภคเพื่อประกอบการกำหนดอัตราค่าเช่าที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค (Smart Park)
3.โครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone หรือ SEZ) ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว พื้นที่ 660.56 ไร่ งบลงทุน 1,660.2 ล้านบาท ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% มีผู้ประกอบการเข้าใช้พื้นที่แล้ว 6 ราย 29.36 ไร่ (7%) สำหรับนิคมอุตสาหกรรมสงขลา ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา พื้นที่ 927.93 ไร่ งบลงทุน 2,890.4 ล้านบาท ปัจจุบันก่อสร้างระยะที่ 1 แล้วเสร็จ เนื้อที่ 629.43 ไร่ มีผู้ประกอบการทำสัญญาแล้ว 3 ราย 166.895 ไร่ (48%) และนิคมอุตสาหกรรมตาก พื้นที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พื้นที่ 671.50 ไร่ งบลงทุน 2,878.1 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างกรมธนารักษ์ส่งมอบพื้นที่ให้ กนอ.เช่า
4.โครงการนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ มีผู้ยื่นเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ 2 แห่ง โดยแห่งที่ 1 บริษัท ศิวาชัย จำกัด ยื่นความประสงค์จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร บนพื้นที่ 4,131 ไร่ คาดว่าจะเกิดการจ้างแรงงาน 50,000 คน (โดยเป็นผู้พักโทษประมาณ 15,000-20,000 คน) ล่าสุดโครงการฯ อยู่ระหว่างการปรับผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแห่งที่ 2 บริษัท กรีน ยูทิลิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด ยื่นความประสงค์ขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
5.โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่า สามารถลด GHGs ในภาพรวมอยู่ที่ 202,885 tCO2e นอกจากนี้ ในปี 2565 ยังมีการสร้างโรงงานเครือข่ายลด GHGs จำนวน 31 โรงงาน ซึ่งกนอ.สนับสนุนให้มีผู้เชี่ยวชาญเข้าให้คำปรึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงาน เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน และประเมินศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับโรงงาน
นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ โดยการจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมได้
กนอ. ยังมีการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ของ กนอ.ด้วยคือ 1.การขับเคลื่อน กนอ.เข้าสู่ Innovation & Digital Transformation ด้วยการยกระดับการให้บริการด้านต่างๆ ของ กนอ.ทั้ง 6 ด้านของ TSC และปรับปรุงระบบ e-PP เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและนักลงทุน/ส่งเสริมภาพลักษณ์/เป็นช่องทางในการเข้าถึงผู้ประกอบการและนักลงทุน/เพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้กับ กนอ. 2.การเข้าสู่การเป็นนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart IE) 3.การหาโอกาสลงทุนในธุรกิจที่มีมูลค่าสูง (Value Added) เช่น การลงนาม MOU กับ บริษัท Korea Land and Housing Corporation หรือ LH ,การลงนามในสัญญาร่วมทุนพลังงานกับบริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อบริษัท ไพร์ม อินดัสเตรียล เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และ 4.โครงการนิคมอุตสาหกรรมแนวดิ่ง เพื่อเริ่มต้นพัฒนานวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ของ กนอ. ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเบา หรืออุตสาหกรรมบริการ
ในด้านยอดขาย ปีงบประมาณ 2565 (กันยายน 2564 – ตุลาคม 2565) กนอ.มียอดขาย/เช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จำนวน 2,016.24 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 65.1% เป็นไปตามที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดย กนอ.ได้ปรับเป้ายอดขาย/เช่าที่ดินในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา ภายหลังการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งส่งผลให้มีนักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้ามาชมพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
“ปัจจุบันการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment:FDI) เริ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่อีอีซี คาดว่าเป็นผลจากโครงการ LTR Visa ที่ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 1 กันยายนที่ผ่านมา คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากยอดขาย/เช่าที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 65.1% โดยในปี 2566 กนอ.ได้ตั้งเป้ายอดขาย/เช่าพื้นที่ไว้ที่ 2,500 ไร่ เนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ทิศทางการเคลื่อนย้ายการลงทุนที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประกอบกับแนวทางการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากผู้ประกอบการและภาคเอกชนในการร่วมจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม” นายวีริศ กล่าวปิดท้าย

ภาพที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Icon
26
07.2567
“ยุทธศักดิ์” ลั่น! I-EA-T Next Move: Fast & Furious เปลี่ยนผ่านสู่การเป็นผู้นำนิคมฯ พลังงานสะอาด เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประกาศทิศทางใหม่ “ก้าวต่อไปที่รวดเร็วและดุดันของ กนอ.: I-EA-T Next Move: Fast & Furious ” มุ่งเน้นใช้พลังงานสะอาดและระบบไฟฟ้าที่มั่นคง เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Icon
27
0
Icon
25
07.2567
ประชุมหารือขับเคลื่อน “การวางผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” ให้รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต

กรมโยธาธิการและผังเมือง ขับเคลื่อน “การวางผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” ให้รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต

Icon
12
0
Icon
24
07.2567
กนอ. เปิดตัวนิคมฯ Circular พร้อมสร้างความร่วมมือนักลงทุนญี่ปุ่น สร้าง Supply chain สู่เป้าหมาย Zero waste

รัฐมนตรีพิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร อก. และ กนอ. เปิดตัวนิคมฯ Circular พร้อมสร้างความร่วมมือนักลงทุนญี่ปุ่น สร้าง Supply chain สู่เป้าหมาย Zero waste

Icon
30
0
Icon
24
07.2567
รัฐมนตรีพิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร อก. และ กนอ. เปิดตัวนิคมฯ Circular พร้อมสร้างความร่วมมือนักลงทุนญี่ปุ่น สร้าง Supply chain สู่เป้าหมาย Zero waste

รัฐมนตรีพิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร อก. และ กนอ. เปิดตัวนิคมฯ Circular พร้อมสร้างความร่วมมือนักลงทุนญี่ปุ่น สร้าง Supply chain สู่เป้าหมาย Zero waste

Icon
23
0
Border