คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
กนอ. ศึกษาเพิ่มแนวทางตั้งนิคมฯราชทัณฑ์ ร่วมดำเนินงานกับเอกชน “เพื่อผู้พ้นโทษ” หวังลดการทำผิดซ้ำ คืนคนดีสู่สังคม!

ยอดการเปิดอ่าน 56 ครั้ง

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ว่า หลังจาก กนอ.ผลักดันการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร ที่จังหวัดสมุทรสาครแล้ว ยังออกประกาศเชิญชวนเอกชนเพื่อเสนอพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป และนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ร่วมกับ กนอ. ในพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และในพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดระยองด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเปลี่ยนแปลงผังเมือง และอยู่ระหว่างการขอเปลี่ยนแปลงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment) อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ (พื้นที่เพิ่มเติม) ซึ่งเป็นผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรม โดยเพิ่มการศึกษาแนวทางการดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในลักษณะการร่วมดำเนินการกับภาคเอกชน และการขยายผลการศึกษาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเหนือ คือ จังหวัดลำพูน และภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคต่างๆ ของประเทศด้วย
สำหรับรูปแบบของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ แบ่งเป็น 7 รูปแบบ คือ 1.ใช้ที่ราชพัสดุในลักษณะร่วมดำเนินการกับ กนอ. 2.ประกาศเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุน โดยใช้ที่ดินของเอกชนมาพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน และเปิดพื้นที่ให้สถานประกอบการเช่าใช้ประกอบการเป็นรายได้ตอบแทนให้กับเอกชนผู้ลงทุน 3.ใช้พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเดิมที่มีอยู่ โดยเปิดให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ว่างที่ยังเหลืออยู่และยังไม่มีผู้ประกอบการมาจับจอง 4.จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่เรือนจำ โดยขอใช้ที่ดินราชพัสดุของเรือนจำซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ แต่ยังมีขนาดไม่เพียงพอที่จะจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งกระทรวงยุติธรรมจะเป็นผู้ขอใช้ที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ แล้วเชิญชวนเอกชนมาร่วมลงทุน 5.จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมการเกษตร โดยนำพื้นที่ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม แต่สามารถพัฒนาพื้นที่เหลือใช้ของเรือนจำต่าง ๆ ให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยเน้นที่การพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ที่ใช้พื้นที่น้อยแต่มีมูลค่าสูง 6.จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเชิงท่องเที่ยวและสุขภาพ โดยนำพื้นที่ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม แต่มีศักยภาพมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และ 7.จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ในพื้นที่เอกชน ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะของบ้านกึ่งวิถี หรือสถานที่พักพิงดูแลผู้ถูกคุมประพฤติในระหว่างพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษในพื้นที่เอกชนได้โดยไม่จำเป็นที่รัฐจะต้องลงทุนเพิ่ม
ในส่วนของหลักเกณฑ์และองค์ประกอบของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์นั้น จะใช้การลงทุนร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยพึ่งพางบประมาณภาครัฐให้น้อยที่สุด การคัดเลือกผู้ประกอบการธุรกิจจะเน้นนวัตกรรม แรงงานใช้ฝีมือ และรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ เพื่อช่วยสร้างงานสร้างอาชีพสุจริตที่มีรายได้เพียงพอให้กับผู้พ้นโทษเป็นทุนตั้งต้น มากกว่าการจูงใจผู้ประกอบการโดยกดค่าจ้างแรงงานให้ต่ำ หรือใช้แรงงานไร้ฝีมือในสถานประกอบการ ขณะเดียวกันยังมีการจัดองค์ประกอบพื้นที่เพื่อฝึกตั้งแต่เป็นผู้ต้องขังภายในแดนควบคุม โดยกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม จะเตรียมความพร้อมตั้งแต่การคัดกรองและฝึกอาชีพผู้ต้องขังให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน พยายามส่งตัวผู้ต้องขังที่มีความประพฤติดีและต้องการประกอบอาชีพสุจริตให้ออกมาทำงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ผ่านการพักการลงโทษกรณีพิเศษ โดยอาจใช้อุปกรณ์ควบคุมตัวอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Monitoring: EM)
“ผลการศึกษาการลงทุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ยังพบด้วยว่า หากเป็นการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ซึ่งมีฐานอุตสาหกรรมและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ นั้นมีความน่าสนใจ และหากสามารถเชิญชวนผู้ประกอบการมาลงทุนจนเต็มพื้นที่ จะมีรายได้จากการเช่าพื้นที่ประกอบการในระยะยาวเกินกว่าต้นทุนการดำเนินการของ กนอ.ด้วย ทั้งนี้ โครงการนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการดูแลผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษ จนสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างแข็งแรง มีอาชีพเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว ช่วยลดการกลับมาทำผิดซ้ำได้” นายวีริศ กล่าวปิดท้าย

ภาพที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Icon
23
03.2566
ประชุมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม

รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. พร้อมด้วยนางปนัดดา รุ่งเรืองศรี รผก.บร. และนางนิภา รุกขมธุร์ ผช.ผวก.ยศ.รก.รผก.ยศ. ร่วมประชุมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องในโอกาส นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าสักการะองค์พระนารายณ์ และร่วมประชุมกับผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม อก.1ชั้น 2 อาคาร สปอ.

Icon
10
0
Icon
23
03.2566
มอบเงินบริจาคเพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ

รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. เข้าเยี่ยมชมมูลนิธิ ณ กิตติคุณ และมอบเงินบริจาคเพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 24,000 บาท

Icon
7
0
Icon
21
03.2566
“วีริศ” เผย อาเซียนยังเป็น “Supply Chain” ที่แข็งแกร่งในสายตาญี่ปุ่น พร้อมเคลียร์จบทุกข้อกังวล ตอกย้ำความเชื่อมั่น ไทยทำเลทองของนักลงทุน!

“วีริศ” ปลื้ม ผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทย ตอกย้ำความเป็น “Supply Chain” ที่แข็งแกร่งในสายตานักลงทุนญี่ปุ่น เผยตัวเลขดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีแรกไปได้สวย โดยยังอยู่ในแดนบวก แจงพร้อมนำทุกข้อกังวลมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างยั่งยืน!

Icon
24
0
Icon
21
03.2566
สัมมนาการจัดทำแผนวิสาหกิจ กนอ. ปีงบประมาณ 2566 - 2570 (ทบทวนปีงบประมาณ 2567)

รศ.ดร. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ให้เกียรติเป็นประธาน ในกิจกรรมสัมมนาการจัดทำแผนวิสาหกิจ กนอ. ปีงบประมาณ 2566 - 2570 (ทบทวนปีงบประมาณ 2567) โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมสัมมนา และบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นวิทยากร

Icon
15
0
Border