คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
“วีริศ” เผย อาเซียนยังเป็น “Supply Chain” ที่แข็งแกร่งในสายตาญี่ปุ่น พร้อมเคลียร์จบทุกข้อกังวล ตอกย้ำความเชื่อมั่น ไทยทำเลทองของนักลงทุน!

ยอดการเปิดอ่าน 84 ครั้ง

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ร่วมประชุมกับ นายคุโรดะ จุน (Kuroda Jun) ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพฯ) ถึงผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCCB) ซึ่งพบว่า ภูมิภาคอาเซียนยังคงเป็นแหล่งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสำคัญทั้งเรื่องความพร้อมและการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานที่สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน โดยช่วงครึ่งปีแรก ปี 2566 ตัวเลขคาดการณ์ดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจ (Diffusion Index : DI) ยังเป็นไปในแดนบวกต่อเนื่องจากปี 2565 ภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีแนวโน้มว่าจะลงทุนเพิ่มด้านโรงงานและเครื่องจักร คิดเป็นร้อยละ 31 และบริษัทที่คาดว่าจะลงทุนคงที่ ร้อยละ 46 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 16 ที่คาดว่าอาจจะลงทุนลดลง ขณะเดียวกันยังมีการพูดถึงการคาดการณ์กิจกรรมการลงทุนในอนาคต หลังจากประเทศไทยได้มีการปรับปรุงระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยบริษัทส่วนใหญ่จะยังคงขนาดกิจการปัจจุบัน และขยายกิจการ รวมทั้งขยายกิจการโดยการย้ายฐานจากประเทศอื่นด้วย
“สิ่งที่ทางเจโทรนำมาเป็นหัวข้อหารือในครั้งนี้ ผมได้ชี้แจงไปหลายเรื่อง โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปูนั้น กนอ.ได้เดินหน้าโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมแล้ว ทั้งการสร้างกำแพงกันน้ำ ปรับปรุงรางระบายน้ำ เพิ่มพื้นที่บ่อหน่วงน้ำ และติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณน้ำฝนอัตโนมัติ คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2567 ส่วนปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดโลกนั้น กนอ.พยายามที่จะหาลู่ทางพัฒนาโครงสร้างพลังงานเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยการร่วมมือกับ PEA Encom ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในการส่งเสริมระบบบริหารจัดการพลังงานและโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ รูปแบบการลงทุนในด้าน Smart Energy และ Smart Grid เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจ และการบริการผู้ประกอบการให้ได้ใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดและราคาถูก ขณะที่ปัญหาราคาค่าขนส่งโลจิสติกส์ ค่าแรง และการขาดแคลนแรงงานนั้น กนอ.จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้ตรงจุด ทั้งนี้ เรื่องไหนที่ กนอ.สามารถดำเนินการเองได้ จะนำข้อคิดเห็นในการประชุมมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานของการลงทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างยั่งยืน”นายวีริศ กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งทั้ง กนอ. และเจโทรมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยการเปลี่ยนหรือปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักรให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน และการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ เช่น การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การส่งเสริมการกำจัดและลดปริมาณกากอุตสาหกรรมอย่างถูกวิธี และการรีไซเคิลขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
“การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เป็นหนึ่งในนโยบาย BCG ของรัฐบาล มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการลดคาร์บอนและมาตรการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัด ซึ่งการหารือในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่สนใจจะมาลงทุนในประเทศไทย”ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวทิ้งท้าย

ภาพที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Icon
04
07.2568
การติดตามแผนและผลการดำเนินการโครงการด้วยเครื่องมือ Project Based Management

“การติดตามแผนและผลการดำเนินการโครงการด้วยเครื่องมือ Project Based Management”

Icon
6
0
Icon
04
07.2568
อบรมหลักสูตร “การสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย สวัสดิภาพ อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับพนักงาน กนอ.”

สายงานพัฒนาที่ยั่งยืน โดย กปอ.ฝสอ. จัดอบรมหลักสูตร “การสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย สวัสดิภาพ อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับพนักงาน กนอ.” เวลา 9.00- 16.00 น. ณ ห้อง siam hall โรงแรม อีสติน แกรนด์ พญาไท

Icon
9
0
Icon
04
07.2568
เยี่ยมลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม (Customer Visit) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

คณะอนุกรรมการด้านผู้มีส่วนได้เสีย ลูกค้า ตลาด และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร กนอ. ปฏิบัติงานการเข้าเยี่ยมลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม (Customer Visit) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

Icon
8
0
Icon
03
07.2568
พิธีลงนามสัญญาจ้างผู้ว่าการ กนอ.

กนอ. จัดพิธีลงนามสัญญาจ้างผู้ว่าการ กนอ. ณ ห้องประชุม A21-1 กนอ.สนญ. (วิภาวดี)

Icon
34
3
Border