กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 15-18 พฤษภาคม 2566 กนอ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และบริษัทเอกชนรายใหญ่ของไทยที่มีความร่วมมือทางธุรกิจกับเกาหลีใต้ ได้แก่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมกิจกรรมชักจูงการลงทุน ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้กิจกรรมสัมมนาการลงทุนหัวข้อ “Thailand Investment Promotion Strategy: NEW Economy, NEW Opportunities” โดยมีการพบปะหารือกับบริษัทกลุ่มเป้าหมายกว่า 40 ราย เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการลงทุนกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ซึ่ง กนอ. ได้นำเสนอภาพรวมของการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ข้อมูลเกี่ยวกับ กนอ.สิทธิประโยชน์ต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับภาษี และไม่เกี่ยวกับภาษี พร้อมทั้งให้ความเชื่อมั่นกับนักลงทุนเกาหลีใต้ ในการเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของไทย
โดยในการประชุมรายย่อย (One on One Meeting) เมื่อวานนี้ (16 พ.ค.66) ซึ่งเป็นการประชุมร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นรายบริษัท โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Chip) มีการนำเสนอข้อมูลและศักยภาพนิคมอุตสาหกรรมของไทยที่พร้อมเป็นฐานการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุน ขณะเดียวกันยังเชิญชวนให้กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมทั้งให้ความมั่นใจว่า หากลงทุนในประเทศไทย ต้องลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
?“เราได้แจ้งให้นักลงทุนเกาหลีใต้รับทราบถึงศักยภาพและความพร้อมของนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 68 แห่ง ใน 16 จังหวัด ทั้งที่เป็นนิคมอุตสาหกรรมในกำกับของ กนอ. และนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานกับภาคเอกชน ที่พร้อมรองรับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งที่ผ่านมานักลงทุนหลายชาติต่างชื่นชมว่า การลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพครบถ้วนและสมบูรณ์ นอกจากเรื่องของความสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงการขออนุมัติอนุญาตให้คนเข้ามาทำงานในประเทศอีกด้วย” นายวีริศ กล่าว
สำหรับการโรดโชว์ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีในการเจรจาธุรกิจครั้งใหญ่ ระหว่าง กนอ.และบริษัทชั้นนำจากเกาหลีใต้ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีนวัตกรรมที่ทันสมัย และเป็นผู้นำเทคโนโลยีในหลายๆ อุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมหลัก เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการแพทย์ และอุตสาหกรรมอาหารและเสริมความงาม เป็นต้น ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กนอ.พยายามเจาะกลุ่มตลาดดังกล่าวด้วย เพื่อชักชวนให้เข้ามาลงทุนในไทยให้มากยิ่งขึ้น
“เกาหลีใต้เป็นคู่ค้า (Partners) ที่ กนอ.ให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า กนอ. และ บีโอไอ เน้นการทำงานเชิงรุก แต่ก็ติดตามความคืบหน้าไปด้วย รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง เป็นพันธมิตรระยะยาว ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง” ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวปิดท้าย
นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย รศ.ดร. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมพิธีลงนามถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2566
รศ.ดร. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. พร้อมด้วย นายประพันธ์ จินดาเลิศอุดมดี ที่ปรึกษาผู้ว่าการ กนอ. นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ ผู้ช่วยผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ 2) นายมานิต อินเมฆ ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นางสาวภัทรียา สังข์ดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และคณะ เดินทางตรวจเยี่ยมนิคมฯ แหลมฉบัง
นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ประธานกรรมการ กนอ. ให้เกียรติเป็นประธานในการสัมมนาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนวิสาหกิจ กนอ. ปีงบประมาณ 2566 - 2570 (ทบทวนปีงบประมาณ 2567) และแผนปฏิบัติการ กนอ. ปีงบประมาณ 2567
รศ.ดร. วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม Roadshow โครงการยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. ประจำปี 2566 (I-EA-T Sustainable Business : ISB)