กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
กนอ. ได้จัดตั้งสำนักบริการเบ็ดเสร็จครบวงจร (One Stop Service Center : OSS) ขึ้น เพื่อให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการในการทำธุรกิจกับกนอ. ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือเช่าที่ดิน การแนะนำพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงงาน การอนุมัติคำขออนุญาตและการออกใบรับรองที่จำเป็นต่างๆ เพื่อการจัดตั้งโรงงานในทุกขั้นตอนโดยง่าย หรือแม้แต่การพัฒนาจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับ กนอ.
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567 เวลา 9.30 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ Eco Innovation Forum 2024 ภายใต้แนวคิด “Now Thailand : Sustainable Futures ลงทุนในประเทศไทยเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” โดยมี นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวรายงาน และนายเกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานอนุกรรมการด้านความยั่งยืน กนอ. นางบุปผา กวินวศิน รองผู้การ (พัฒนาที่ยั่งยืน) นางนิภา รุกขมธุร์ รองผู้ว่าการ (ยุทธศาสตร์) นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ รองผู้ว่าการ (ประจำสำนักผู้ว่าการ) และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ ส.อ.ท. เข้าร่วมงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกียรติปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ : สะอาด สะดวก โปร่งใส” ประเทศไทยต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพื่อปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะขับเคลื่อนการดำเนินงาน 5 ด้าน เพื่อช่วยเหลือการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1) การจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกวิธี ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน 2) กำหนดมาตรการปฏิรูปอุตสาหกรรมและสร้างความร่วมมือกันหน่วยงานต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับภาคอุตสาหกรรม 3) นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการยกระดับ SMEs 4) จัดให้มีกองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรม โดยบูรณาการความร่วมมือ เพื่อบริหารจัดการกองทุนที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงกองทุนของ SMEs เพื่อส่งเสริมการทำธุรกิจ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และ 5) ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน โดยปรับปรุงกฎหมายและปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของภาครัฐ ให้สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ดำเนินการ 2 ด้าน คือ 1) ขอให้ดำเนินธุรกิจบนความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ 2) ขอให้ร่วมกันรักษาอุตสาหกรรม SMEs ของไทย สร้างความสามารถในการแข่งขัน ลดการเอาเปรียบและการกีดกันของกลุ่มธุรกิจที่มีการบิดเบือนกลไกตลาด
ทั้งนี้ การจัดงานสัมมนาวิชาการ Eco Innovation Forum 2024 เป็นความร่วมมือระหว่าง กนอ. และ ส.อ.ท. เพื่อนำเสนอผลสำเร็จการดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ประจำปี 2567 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกียรติมอบโล่เกียรติยศและประกาศเกียรติคุณให้แก่นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-World Class จำนวน 9 แห่ง ระดับ Eco-Excellence จำนวน 25 แห่ง Eco-Champion จำนวน 40 แห่ง โรงงานเครือข่ายลดก๊าซเรือนกระจกดีเด่น จำนวน 5 แห่งโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Factory) จำนวน 79 แห่ง และโรงงานที่สนับสนุนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จำนวน 123 แห่ง
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการเสนอผลสำเร็จการดำเนินงานการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ทิศทางของการยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ยั่งยืน (SDGs I.E.) โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งบูธแสดงสินค้าของวิสาหกิจชุมชน 7 แห่ง รอบนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งบูธแสดงสินค้าของวิสาหกิจชุมชน 7 แห่งรอบนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 796 คน
ช่วงบ่าย เป็นงานสัมมนาวิชาการ 4 ห้องแยกตามหัวข้อ ได้แก่
ห้องที่ 1 Eco Industry to Sustainable & ESG ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศด้วยกลยุทธความยั่งยืน
ห้องที่ 2 Eco Journey to Carbon Neutrality โอกาสและความท้าทายสำหรับประเทศไทย
ห้องที่ 3 การบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ตามหลัก Circular Economy
ห้องที่ 4 การนำเสนอผลงานบทความวิจัย งานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานทางวิศวกรรม นวัตกรรมและ
การจัดการอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567 และการเสวนาหัวข้อเรื่อง นวัตกรรมการศึกษาและการบูรณาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
ในห้องสัมมนาที่ 2 : Eco Journey to Carbon Neutrality โอกาสและความท้าทายสำหรับประเทศไทย ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานอนุกรรมการด้านความยั่งยืน กนอ. แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง SDGs. Transformation: Eco I.E.–SDGs I.E. to Carbon Neutrality และมอบใบประกาศนียบัตรโรงงานเครือข่ายลดก๊าซเรือนกระจกของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2567 จำนวน 22 แห่ง มีเจ้าหน้าที่นิคมฯ และผู้ประกอบการเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย ประมาณ 100 คน
ผู้บริหาร กนอ. ร่วมพิธีบวงสรวงเปิดหน้าดิน และร่วมกล่าวสุทรพจน์แสดงความยินดี เพื่อสร้างอาคารใหม่ ของ บริษัท คินวอง อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด
กนอ. จับมือ บจม. ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค ตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 7) ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสะอาดและรวมถึงอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI และ EEC สู่ระดับสากล
ผู้บริหาร กนอ. ร่วมหารือ รฟท. พัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อ 3 นิคมอุตสาหกรรม
ผู้บริหาร กนอ. ร่วมกิจกรรมตักบาตร กนอ. สนญ. (วิภาวดี) ประจำเดือน ตุลาคม 2567