คุณกำลังมองหาอะไร?
ขนาดตัวอักษร Icon Icon
Icon
ความตัดกันของสี Icon
Icon
Icon
ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 17 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 12 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 12 ณ นครเจนีวา

ยอดการเปิดอ่าน 23 ครั้ง

วันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2568 นางบุปผา กวินวศิน รผก.พย. และ? ดร.จริยา? สุขะปาน? ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม? เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 17 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 12 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์ม ว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 12 ระหว่างวันที่ 28 เมษายน-9 พฤษภาคม 2568 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมีนางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย นางสาวอุศนา พีรานนท์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวประกอบด้วยการประชุมผู้แทนระดับสูง ในหัวข้อ “Make Visible the invisible : Sound management of Chemical and waste” ซึ่งที่ประชุมผู้แทนระดับสูงได้มีมติร่วมกันในประเด็นดังต่อไปนี้
1) มลพิษ : การแก้ไขปัญหามลพิษและความเชื่อมโยงของปัญหามลพิษกับประเด็นสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
2) แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน : การส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3) แนวทางการดำเนินงาน : การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญา โดยการปรับปรุงการเข้าถึงความช่วยเหลือทางเทคนิค เทคโนโลยีสะอาด และเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมในการจัดหาแหล่งเงินทุน

การประชุมร่วม 3 อนุสัญญา ที่ประชุมพิจารณาประเด็นความร่วมมือและการประสานงานระหว่าง 3 อนุสัญญา ทรัพยากรและกลไกทางการเงิน แหล่งเงินทุน และแนวทางการบูรณาการในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อการจัดการสารเคมีและของเสียอย่างเหมาะสม แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุดและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับสาร POPs การวิเคราะห์และจัดทำทำเนียบข้อมูล และการจัดทำแผนจัดการระดับชาติ (National Implementation Plan) นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาความร่วมมือและการประสานงานกับอนุสัญญามินามาตะฯ ว่าด้วยสารปรอท และความร่วมมือและการประสานงานร่วมกับองค์กรอื่น

ภาพที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Icon
15
07.2568
อบรมหลักสูตร “Change Mindset for Management”

กนอ. โดยสายงานผู้ว่าการ จัดอบรมหลักสูตร “Change Mindset for Management” ณ ห้องพระวิษณุ ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

Icon
9
0
Icon
15
07.2568
อบรมหลักสูตร “Sustainable & Green Industrial Leadership (SGIL) รุ่นที่ 1”

อบรมหลักสูตร “Sustainable & Green Industrial Leadership (SGIL) รุ่นที่ 1”

Icon
6
0
Icon
15
07.2568
เยี่ยมชมกระบวนการผลิต ของบริษัท อินเวนเทค อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้บริหาร กนอ. เข้าพบผู้บริหารเพื่อรับฟังปัญหาและอุปสรรคการดำเนินกิจการและเยี่ยมชมกระบวนการผลิต

Icon
6
0
Icon
15
07.2568
งาน Thailand’s Low Carbon City and Carbon Market Development Project : Building Market Confidence through Credible Urban Climate Action

กนอ. ร่วมเสวนาในงาน Thailand’s Low Carbon City and Carbon Market Development Project : Building Market Confidence through Credible Urban Climate Action ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

Icon
2
0
Border